คน 5 จำพวกไม่ควรใส่ “รองเท้าแตะ” เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต คนอ้วนก็ไม่รอด
รองเท้าแตะ รองเท้ายอดนิยมของคนไทยเนื่องจากใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี ไม่เหม็นอับเท้า เหมาะกับสภาพอากาศเขตร้อน แต่รู้หรือไม่ว่า การใส่รองเท้าแตะ ก็เสี่ยงเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนบางประเภท
1. ลื่นล้ม
อุบัติเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ “ลื่นล้ม” รองเท้าแตะใส่ไปนานๆ ดอกยางสึก พื้นยึดเกาะได้ไม่ดีจะทำให้ลื่นล้มได้ง่าย ยิ่งเฉพาะในที่ชุมชนฟุตปาธปูไม่ดี หรือเวลาเดินขึ้นลงบันได ถ้าบังเอิญเดินไปเจอพื้นเปียก ๆ ในช่วงหน้าฝนตกบ่อยๆ ก็อาจทำให้ไม่ใช่แค่ตัวเองบาดเจ็บ แต่ยังอาจทำให้คนรอบข้างโดนลูกหลงไปด้วย เพราะเวลาลื่นล้ม คนเราจะพยายามคว้าอะไรก็ได้ที่อยู่ใกล้ตัว ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงคนอื่นที่เดินอยู่ใกล้เรา
2. โดนเหยียบ, สะดุด
ทุกคนต้องเคยเจอบ่อยสุด โดนคนอื่นเหยียบเท้า เสี่ยงหน้าคะมำ หรือสะดุดสิ่งของที่อยู่บนพื้น ถนนหรือตรอกซอกซอยที่มีพื้นขรุขระ ถ้าเดินไม่ระวังก็อาจสะดุดล้มได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะถ้าทรงตัวไม่ดีอยู่แล้ว แถมในที่ที่มีคนเยอะ ๆ ก็อาจจะเผลอไปเหยียบเท้าคนอื่น หรือโดนคนอื่นมาเหยียบส้นรองเท้าแตะเอาได้เหมือนกัน
นอกจากนี้ การใส่รองเท้าแตะจะทำให้ข้อเท้าขยับได้เยอะ (เช่น ตอนเต้นหรือวิ่ง)ทำให้สะดุดล้มได้ง่ายขึ้นด้วย หนักสุดอาจข้อเท้าแตกได้เลย
3. ของมีคมบาด
ในที่ชุมชน อาจมีเศษแก้วแตก ตะปู หรือของมีคมอื่น ๆ ตกอยู่บนพื้น รองเท้าแตะไม่หนาพอจะป้องกันเท้าจากของมีคมเหล่านี้ได้เท่ารองเท้าผ้าใบหุ้มส้น
ใส่รองเท้าแตะ ไม่ใช่ว่าจะดีกับทุกคน 5 กลุ่มเสี่ยงควรระวังเป็นพิเศษ
จริงอยู่ที่รองเท้าแตะเป็นตัวเลือกยอดฮิตของใครหลายคน แต่การใส่รองเท้าแตะแบบหนีบหรือรองเท้าแตะแบบอื่น ๆ เป็นเวลานาน ในเวลาหรือสถานที่ที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดอันตรายได้ คนบางกลุ่มที่ไม่เหมาะกับการใส่รองเท้าแตะหรือสวมใส่รองเท้าแตะเป็นประจำ มีดังนี้
- คนที่มีน้ำหนักเกิน
ถ้าคุณอ้วน มีน้ำหนักตัวมาก เท้าของคุณก็จะต้องรับน้ำหนักมากขึ้นตามไปด้วย เมื่อใส่รองเท้าแตะ ก็จะมีโอกาสบาดเจ็บได้ง่ายขึ้น การเคลื่อนไหวของเท้าก็จะถูกจำกัดในระดับหนึ่งด้วย
- คนที่มีอาการบาดเจ็บที่ข้อเท้าหรือข้อต่อ
ถ้าข้อเท้าหรือข้อต่อของคุณกำลังบาดเจ็บหรืออยู่ในช่วงพักฟื้น การใส่รองเท้าแตะอาจทำให้ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ต้องทำงานหนักขึ้น เพราะไม่มีรองเท้าช่วยพยุงส่วนต่างๆ
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือมีอาการเท้าชา
ผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจมีความรู้สึกที่ปลายประสาทลดลง ทำให้เกิดบาดแผลได้ง่ายแต่ไม่รู้สึกเจ็บ ถ้าใส่รองเท้าแตะแล้วเกิดมีแผลบาด แผลอาจติดเชื้อได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการเท้าชาอย่างเห็นได้ชัด ไม่ควรใส่รองเท้าแตะ
- ผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บที่หูชั้นในหรือสมอง
ผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับบาดเจ็บทางสมองหรือเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อวัยวะที่ทำหน้าที่รักษาสมดุลของร่างกาย เช่น หูชั้นใน หรือสมอง ยังไม่คงที่ หากได้รับบาดเจ็บและเกิดเหตุการณ์ที่รองเท้าแตะไปเกี่ยวกับสิ่งของบนพื้น ก็อาจทำให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้สูญเสียการทรงตัว ได้รับบาดเจ็บซ้ำได้
- ผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุก็เป็นอีกกลุ่มที่ไม่เหมาะกับการใส่รองเท้าแตะ เพราะร่างกายตอบสนองช้าลง มีปัญหาการทรงตัว ทำให้สะดุดล้มได้ง่าย เมื่อล้มร่างกายได้รับบาดเจ็บได้ง่ายขึ้น เช่นกระดูกหัก เคลื่อน ดังนั้น ในการเลือกรองเท้าให้ผู้สูงอายุจึงต้องใส่ใจเป็นพิเศษ
ใส่รองเท้าแตะ จำไว้ เลือกให้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เปิดสาเหตุ ใส่รองเท้าแตะขึ้นเครื่องบิน ไม่มีกฎห้าม แต่ทำไมไม่ควร
- หนุ่มขโมยรองเท้าแตะ ใช้สำเร็จความใคร่ เคยมีประวัติขโมย 126 คู
- ถึงกับไหว้! ‘น.ต.ศิธา’ เจอพ่อค้ารองเท้าแตะ แต่โปรไฟล์จริงทำอึ้ง