ข่าว

หมอประชา เฉลยกลไก คลื่นพลังบุญอาจารย์-น้องหญิง หลังมีคนอ้างไปรักษาแล้วหาย

นายแพทย์มาเอง อธิบาย 2 กลไก อาจารย์น้องหญิงคลื่นพลังบุญรักษาคน มองแบบวิทยาศาสตร์ไม่ต่างจากใช้ ยาหลอก หรือสะกดจิต ส่วนดราม่าเกิดเพราะไปอ้างพลัง 5 พระพุทธเจ้า กระทบจิตใจคนพุทธ

วันที่ 26 พฤษภาคม 2567 นพ.ประชา กัญญาประสิทธิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมประสาท และเจ้าของเพจ “หมอประชาผ่าตัดสมอง” ได้ออกมาอธิบายถึงกรณีที่เป็นกระแสในสังคมเกี่ยวกับอาจารย์-น้องหญิง ที่อ้างว่าสามารถใช้คลื่นพลังบุญรักษาคนป่วยได้ทุกโรค โดยมีการสื่อสารกับพระพุทธเจ้า 5 พระองค์

นพ.ประชา ได้อธิบายถึงกลไกการรักษาที่อาจทำให้ผู้ป่วยบางรายรู้สึกว่าหายป่วยได้ ดังนี้

  • พาซิโบ เอฟเฟกซ์ (Placebo Effect)

กลไกนี้เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเชื่อว่าตนเองได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แม้ว่าในความเป็นจริงจะเป็นเพียงยาหลอก เช่น การให้เม็ดแป้งแก่ผู้ป่วยและบอกว่าเป็นยา ผู้ป่วยที่เชื่อว่าจะหายจะรู้สึกว่าหายได้ มีโอกาสเกิดขึ้น 20-30%

  • เพน พาราดาม (Pain Paradigm)

กลไกนี้ใช้การ “สะกดจิต” หรือการชี้นำทางจิตใจให้ผู้ป่วยเชื่อว่าตนเองหาย ตัวอย่างเช่น ในคลิปการรักษาน้องหญิงจะให้ผู้ป่วยพูดว่าตัวเองหาย ซึ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีและระดับความเจ็บปวดลดลง เพราะผู้ป่วยเชื่อในการรักษานั้น กลไกนี้มีผลต่อสารสื่อประสาทที่ช่วยลดความเจ็บปวด แต่สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อ ความเจ็บปวดจะไม่ลดลง

สำนักดินแดนธรรมสุขขาวะดี อาจารย์น้องหญิง
แฟ้มภาพ

นพ.ประชา ยังเตือนถึงข้อเสียของการรักษาแบบนี้ คือ ผู้ป่วยโรคร้ายแรงอาจล่าช้าในการได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทำให้โรคกำเริบหรือแพร่กระจายก่อนถึงมือแพทย์ เช่น ผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง หรือมะเร็งที่แพร่กระจายไปก่อนถึงมือหมอจริง ๆ

คุณหมอรายนี้ยังได้สรุปว่าการรักษาแบบนี้ขึ้นอยู่กับศรัทธาของผู้ที่ไปรักษา โดยกล่าวว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ซึ่งหมายถึงความเชื่อและความศรัทธาของผู้ป่วยมีผลสำคัญต่อการรับรู้ความเจ็บปวดและการฟื้นฟูของร่างกาย

ขอบคุณคลิป : Facebook @Drpracha.bird

อย่างไรก็ตาม การอ้างพลังจากพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ทำให้เกิดการต่อต้านจากคนที่นับถือพุทธ เพราะเป็นการแอบอ้างศาสนาในทางที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังมีข้อกังวลว่าผู้ป่วยที่มีโรคร้ายแรงอาจได้รับผลกระทบเชิงลบหากไม่ได้รับการรักษาทางการแพทย์ที่เหมาะสมทันเวลา.

อาจารย์น้องหญิงคลื่นพลังบุญพระพุทธเจ้า
แฟ้มภาพ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button