สาธารณสุขเตือน คนไทยเที่ยวญี่ปุ่น ระวัง! หัดเยอรมันระบาดหนัก
ผู้สื่อข่าวรายว่า สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกเอกสารแจ้งเตือนประชาชนที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น โดยพบว่า หลายพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่น มีโรคหัดเยอรมันระบาด โดยพบว่า สถานการณ์ระบาดข้อมูลวันที่ 19 ก.ย. มีผู้ป่วยรายใหม่ที่เมือง โตเกียว 32 ราย ชิบะ 27 ราย คานากาวา 19 ราย ไซตะมะ และ ไอจิ เมืองละ 11 ราย
โดยพบว่า 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา ถึง 24 ต.ค. มีรายงานผู้ป่วยหัดเยอรมัน 914 ราย แต่ตั้งแต่ต้นปี 1 ม.ค. พบผู้ป่วยแล้ว 1,289 ราย ในภูมิภาค คันโต โดยได้แจ้งเตือนให้ประชาชนที่จะเดินทางไปพื้นที่ดังกล่าว ตรวจสอบว่า ตนเองได้รับวัคซีนครบหรือไม่
หากไม่มั่นใจว่าเคยได้รับวัคซีนครบหรือไม่ แนะนำพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและรับวัคซีนเพิ่มเติม โดยหญิงตั้งครรภ์ไม่สามารถรับวัคซีนได้เนื่องจากวัคซีนเป็นอันตรายกับเด็กในท้อง และหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรฉีดวัคซีนและคุมกำเนิดหลังฉีดวัคซีนครบอย่างน้อย 1 เดือนจึงจะตั้งครรภ์ได้
โรคหัดเยอรมัน เป็นการติดเชื้อเกิดจากไวรัดหัสเยอรมัน โรคนี้มักไม่ร้ายแรงโดยผู้ป่วยครึ่งหนึ่งไม่รู้สึกตัวว่าป่วย ผื่นอาจเริ่มมีราวสองสัปดาห์หลังสัมผัสเชื้อและอยู่นานสามวัน ปกติเริ่มบนหน้าแล้วแพร่ไปร่างกายที่เหลือ ผื่นของโรคหัดเยอรมันสีไม่สดเท่าผื่นของโรคหัดและบ้างคัน พบปุ่มน้ำเหลืองบวมได้ทั่วไปและอาจอยู่นานหลายสัปดาห์ นอกจากนี้ อาจมีไข้ เจ็บคอและความล้า ในผู้ใหญ่ อาการปวดข้อพบได้บ่อย อาการแทรกซ้อนอาจรวมปัญหาเลือดออก อัณฑะบวม และการอักเสบของเส้นประสาท การติดเชื้อระหว่างช่วงต้นของการตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เด็กเกิดมามีอาการโรคหัดแต่กำเนิด (CRS) หรือแท้ง โรคนี้จะแสดงอาการ เช่น ต้อกระจก หู เช่น หูหนวก หัวใจและสมอง พบปัญหาน้อยหลังสัปดาห์ที่ 20 ของการตั้งครรภ์
โรคหัดเยอรมันปกติแพร่ผ่านอากาศโดยทางการไอของผู้ที่ติดเชื้อ บุคคลแพร่เชื้อได้ระหว่างหนึ่งสัปดาห์ก่อนและหลังผื่นปรากฏ แต่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนโรคหัดเยอรมันเพียงขนาดยาเดี่ยว มีประสิทธิผลกว่า 95% มักให้ร่วมกับวัคซีนโรคหัดและวัคซีนคางทูม เรียก วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม (MMR)
ข้อมูลเพิ่มเติม : Khaosod.co.th