อดีตคณบดีฯ เผยเอง โผจัดอันดับมหาวิทยาลัยไทย เห็นติดที่ 1 อย่าเพิ่งมั่นใจ
ศาสตราจารย์หนุ่ม เผย อันดับโลกมหาลัยไทยติดอันดับ 1 อย่าเพิ่งชะล่าใจ ควรดูด้วยติดอันดับจากเกณฑ์อะไร
เป็นอีกหนึ่งชุดข้อมูลที่เมื่อได้ลองตรวจเช็กรายละเอีรยด ตลอดจนข้อมูลเชิงลึกแล้วจึงร้องอ๋อ หลังจากที่วันนี้ (7 พ.ค.67) ศ.ดร.อภิรัฐ ศิริธราธิวัตร อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) โพสต์เฟซบุ๊ก เปิดเผยเกี่ยวกับประเด็นการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยชั้นำของไทย ที่ก่อนหน้านี้หลาย ๆ คนคุ้นชินกับการจัดอันดับที่สถานบันการศึกษาในบ้านเราติดอยุ่แถวหน้าของผลประกาศรางวัลดีเด่นด้านต่าง ๆ นั้น แท้จริงอาจไม่ได้เป็นอย่างที่ทุก ๆ คนเข้าใจ
ศ.ดร.อภิรัฐ ชี้ว่า “การจัดอันดับมหาวิทยาลัยยอดเยี่ยม” กับ “การนำเสนอข้อมูลของมหาวิทยาลัย” นั้น มีความซับซ้อนอยู่ไม่น้อย โดยคนในวงการศึกษารวมถึงผู้ปกครองและประชาชนผู้ใฝ่รู้ อาจจะได้รับทราบการกระจายข่าวหรือตีปี๊ปว่า มหาวิทยาลัยของไทยหลายสถาบันได้รับการจัดอันดับ 1 ของประเทศ หรือ อันดับ 1 ของภูมิภาค ซึ่งหลายคนล้วนแซ่ซ้องว่า ยอดเยี่ยม ๆ
แต่ทางศราสตราจารย์หนุ่ม ให้ข้อมูลหักล้าง โดยฝากข้อมูลที่เป็นชุดความรู้ในมุมของนักวิชาการและวิจัย ใน 2 ประเด็น ดังนี้
1. หน่วยงานการจัดอันดับ : เริ่มแรกนั้นสถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกนั้นมีเพียง THE และ QS โดยจะเน้น
ผลงานวิจัยที่ได้รับความเชื่อถือ เพื่อแสดงถึงศักยภาพของอาจารย์
การจัดการเรียนการสอนที่มีจำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์ รวมถึงอาคารสถานที่ที่เหมาะสม
นักวิชาการและอดีตคณะบดีฯ ยังบอกว่า เกือบทุกมหาวิทยาลัยของไทยมีอันดับการจัดอันดับที่ลดลงทุกปี เช่น มหาวิทยาลัย…ที่เคยอยู่อันดับ 500 ของโลก และปัจจุบันอยู่ในอันดับ 1200+ ดังนั้น จึงเกิดสถาบันจำนวนมากที่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกเหมือนกัน แต่ใช้เกณฑ์แปลกๆ เช่น เกณฑ์การปรับปรุงเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย หรือเกณฑ์การมีข้อมูลทางออนไลน์ ซึ่งไม่ได้เป็นสาระสำคัญของงานหลักของสถาบันอุดมศึกษามากเท่าไหร่
หลายสถาบันการศึกษาของไทย จึงนิยมตีปี๊ปว่า มหาวิทยาลัยของฉันได้อันดับต้นๆ ของโลก แต่ไม่ยอมบอกว่าใช้เกณฑ์อะไรในการประเมิน
2. ด้านที่ใช้ประเมิน: เมื่อ QS เห็นว่า มหาวิทยาลัยมีหลายภารกิจแตกต่างกัน เช่น
-มหาวิทยาลัยเน้นวิจัย (Research University) เช่น จฬ มม มช มข มธ เป็นต้น
-มหาวิทยาลัยเน้นการประยุกต์ใช้งานทางเทคโนโลยี (Technological University) เช่น สจล มจพ ราชมงคล เป็นต้น
-มหาวิทยาลัยเน้นบริการชุมชน (Community College/University) เช่น ราชภัฎ เป็นต้น
ท้ายสุดในโพสต์ของ ศ.ดร.อภิรัฐ จึงสรุปว่าในมหาวิทยาลัยทั้งหมดนั้น มหาวิทยาลัยวิจัยส่วนมากจะมีเงินถุงเงินถังมากกว่า แต่เมื่อปรากฏว่า การแข่งขันการจัดอันดัมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยของตนเองนั้น ไหลรูดก็เลยเอาตัวเองเข้าไปแข่งด้านอื่นๆ ที่ได้เปรียบกว่ามหาวิทยาลัยด้านอื่น ทำให้ได้รับการจัดอันดับสูง ๆ เช่น เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นวิจัย แต่ได้รางวัลมหาวิทยาลัยรับใช้สังคมดีเด่น
“ขอบอกว่า อาจารย์เขาก็ งงๆ เหมือนกันครับว่า ทีแรกบอกตรูให้สอนและวิจัย ..แล้วสรุปว่า จะให้ทำยังงัยต่อ ขออภัยที่เอาความจริงมาพูดเล่นครับ” ศ.ดร.อภิรัฐ ระบุ.
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ส่อง 10 อันดับ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ที่เด็กอยากเข้าเรียนมากสุดปี 2023
- เปิด 10 อันดับ มหาวิทยาลัยยอดนิยมของไทย 2023 ม.รัฐ ราชภัฏ และเอกชน
- เศร้า นิสิตแพทย์ปี 3 มหาวิทยาลัยดัง พลัดตกตึก 10 ชั้น คาดเครียด