สรยุทธ สำรวจความเห็น สงกรานต์ปีนี้คึกคัก-เงินสะพัด เป็นผลงานรัฐบาลหรือไม่ ?
เปิดผลสำรวจ สรยุทธ ถามปีนี้สงกรานต์ 2567 บรรยกาศหลายพื้นที่สุดคึกคัก พร้อมรายงานตัวเลขเม็ดเงินไหลเข้าประเทศหลายพันล้าน นับเป็นผลงานรัฐบาลหรือว่า เป็นปกติของงานประเพณีชื่อดังประจำปีของไทยอยู่แล้ว
กำลังเป็นประเด็นผลสำรวจที่เล่นเอาหลายคนให้ความสนใจไม่น้อย สืบเนื่องจากบรรยากาศช่วงเทศกลาสงกรานต์ ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 11 – 15 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ซึ่ง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (ททท.) ได้ชวนทุกคนมาเฉลิมฉลองปีใหม่ไทยสุดตระการตาที่ปีนี้เฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ในโอกาสยูเนสโกขึ้นทะเบียนให้ “สงกรานต์ในประเทศไทย” เป็นตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ
กับงาน “Maha Songkran World Water Festival 2024” เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ 2567 สนุกไปกับหลากหลายกิจกรรมที่ยกทัพกันมามอบความชุ่มฉ่ำ บริเวณถนนราชดำเนินกลางและพื้นที่ท้องสนามหลวง กรุงเทพฯ อาทิ ขบวนพาเหรดมากกว่า 20 ขบวน คอนเสิร์ต และ EDM แบบไทยไทย ตื่นตาตื่นใจกับระบำน้ำพุบกที่สูงที่สุดในประเทศไทย และการแสดงโดรนแปรอักษรกว่า 1,200 ลำ
นอกจากนี้ยังมีไฮไลท์งานวันสงกรานต์ในพื้นที่ 5 ภูมิภาค ทั่วประเทศไทย สนับสนุนการจัดงานสงกรานต์ในพื้นที่ 16 จังหวัด ทั้งในกลุ่มจังหวัดที่มีอัตลักษณ์การจัดเทศกาลสงกรานต์ที่โดดเด่น รวมถึงการจัดงานในกลุ่มจังหวัดนำร่อง และกลุ่มจังหวัดที่มีศักยภาพและมีการจัดงานประเพณีสงกรานต์ที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งก็พบว่าในส่วนของสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ๆ ต่างเนืองแน่นไปด้วยพ่อแม่พี่น้องและนักท่อเงเที่ยวจากเกือบทั่วทุกสารทิศที่พร้อมใจกนมาร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
ขอบคุณคลิป : เพจ Maha Songkran World Water Festival 2024
ด้วยเหตุนี้ ล่าสุดในรายการกรรมกรข่าว คุยนอกจอ สด วันนี้ (18 เม.ย.67) นอกจากจะเก็บตกภาพสีสันตลอดจนบรรยากกาศควันหลงที่บางพื้นที่ยังมีการจัดกิจจรกรรมสงกรานต์วันไหล ต่อเนื่องจากกำหนดการเล่นน้ำ 3 วัน บนปฏิทิน กันสนุกสนานแล้ว ทางสรยุทธ สุทัศนะจินดา ในฐานะผู้ประกาศข่าว จึงได้ขออนุญาตสำรวจความคิดเห็นของประชาชนว่า
“สงกรานต์ปีนี้ คึกคักมาก-เงินสะพัดกว่าหลายปีที่ผ่านมามาก ถือเป็นผลงานรัฐบาลได้หรือไม่ ?”
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบหลังจากทำการสำรวจผ่านไปได้ประมาณ 1 ชม. ปรากฏ ความเห็นกว่า 94% มองว่า “ไม่ใช่ผลงานของรัฐบาล” โดยนอกจากคนข่าวชื่อดังแล้ว ก็ยังมี อธึกกิต แสวงสุข หรือ “ใบตองแห้ง” คอลัมนิสต์อาวุโส โพสต์ถามความคิดเห็นในทำนองเดียวกัน
โดยระบุ “สงกรานต์เป็นความสำเร็จของรัฐบาลหรือไม่ ถ้าวัดจากการจัดงานอีเวนท์ เหมือนจะใช่ คนแน่นทุกพื้นที่
แต่ร้อนอิ๊บอ๋ายอย่างนี้ ใครก็ออกไปเล่นน้ำอยู่แล้ว ถ้าวัดจากซอฟต์พาวเวอร์ จัดงานทั้งเดือน คนหัวร่องอหาย”
“แต่ปัจจัยจริงๆ คือการเปลี่ยนรัฐบาล จากยุคประยุทธ์ “รัฐเป็นบิดา” สงกรานต์คือเทศกาลห้ามตาย ห้ามนั่งหลังรถกระบะ เข้มงวดกวดขัน ไอ้นั่นก็ผิด ไอ้นี่ก็ผิด เป้าหมายคือนับหัวคนตายให้น้อยที่สุด”
“พอเปลี่ยนเป็นรัฐบาลพ่อค้า เป้าหมายคือนับหัวนักท่องเที่ยว ไม่ว่าต่างชาติหรือไทยเที่ยวไทย
มันก็เลยพลิกบรรยากาศ คนสนุกได้เต็มที่ นั่นแหละน่าจะเป็นข้อสำคัญ”.
ด้าน ชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผย ภาพรวมการจัดสงกรานต์ประจำปี 67 ในพื้นที่ กทม. ทั้ง 118 จุด เป็นไปด้วยความเรียบร้อย การเล่นน้ำสงกรานต์คึกคัก โดยเฉพาะจุดยอดนิยม ได้แก่
- บริเวณถนนข้าวสาร มีนักท่องเที่ยวเฉลี่ยวันละ 200,000 คน รวม 3 วัน ทั้งถนนข้าวสารและจุดใกล้เคียงบริเวณสนามหลวง คาดว่ามีนักท่องเที่ยวกว่า 700,000 คน
- บริเวณสยามและถนนสีลม มีการเล่นน้ำสงกรานต์คึกคักมาก คาดจำนวนนักท่องเที่ยวมากถึง 1 ล้านคน
ขณะที่ อ้างอิงข้อมูลจาก ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb) ระบุ เม็ดเงินจากทั้งกลุ่มคนไทย และต่างชาติ พบเม็ดเงินที่สะพัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ เฉพาะวันที่ 12-16 เมษายน คาดว่าจะแตะ 41,500 ล้านบาท ซึ่งสูงขึ้น เมื่อเทียบกับในช่วงปี 2566 ที่เม็ดเงินสะพัดช่วงสงกรานต์ราว 26,800 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 55% ด้วยสาเหตุหลักซึ่งประกอบด้วย เม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และช่วงวันหยุดสามารถกระตุ้นการท่องเที่ยวได้ดีกว่าปีก่อนที่เทศกาลมีวันหยุดเพียง 4 วัน.
ฟังมุม โฆษกรัฐบาล เผยผลสำเร็จ มหาสงกรานต์ รัฐจัดเก็บรายได้เพิ่ม ถึง 742 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในส่วนของรัฐบาลได้รายาานภาพรวมซึ่งเป้นการเผยถึงผลสำเร็จในการจัดงานมหาสงกรานต์กลางกรุงฯ ที่ผ่านมา โดย นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงภาพรวมการจัดงาน Maha Songkran World Water Festival 2024 เย็นทั่วหล้ามหาสงกรานต์ 2567 ที่ถนนราชดำเนินกลางและพื้นที่ท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร ระหว่าง 11 – 15 เมษายน 2567
พบว่า รัฐบาลสามารถมีรายได้จากการเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 742 ล้านบาท เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ เดินทางมาท่องเที่ยวงาน เป็นจำนวนมาก จนทำให้มีกระแสเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 2,886.82 ล้านบาท พร้อมพบว่า มีการสร้างรายได้ต่อชุมชน (พ่อค้าแม่ค้ารายย่อย) รอบนอกบริเวณงานกว่า 500 ร้าน มีการจ้างงานและเพิ่มรายได้กับอาชีพรับจ้าง กว่า 2,000 คน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง