ข่าว

เครื่องบิน นาซา เริ่มขึ้นบินแล้ว ร่วมมือ สทอภ. เช็กมลพิษทางอากาศในไทย หวังผลภายใน 1 ปี

นาซา ร่วมกับ GISTDA และหน่วยงานจากเกาหลีใต้ ทำการศึกษาคุณภาพอากาศไทย หวังแก้ปัญหามลพิษ PM 2.5 เริ่มบินสำรวจน่านฟ้าไทยแล้ว

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซ่า (NASA) ร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) หรือ สทอภ. และชื่อมโยงข้อมูลกับดาวเทียม GEMS ของเกาหลีใต้ ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย เปิดตัวโครงการ Airborne and Satellite Investigation of Asian Air Quality (ASIA-AQ) มุ่งศึกษาคุณภาพอากาศในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย หวังผลภายใน 1 ปี โดยทำการบินระหว่างวันที่ 16-25 มีนาคม 2567 รวมระยะเวลาการสำรวจ 10 วัน

สำหรับโครงการความร่วมมือระหว่างนาซ่าและ สทอภ. นี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะ PM 2.5 ที่รุนแรงในประเทศไทย

ดร. ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ สทอภ. อธิบายว่าโครงการนี้ริเริ่มขึ้นเพื่อทำงานร่วมกับนานาชาติ ท่ีมีเป้าหมายเดียวกัน ท่ีจะศึกษาและหาแนวทางแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ อีกทั้งโครงการนี้มีความสำคัญที่จะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ ที่จะช่วยติดตามคุณภาพอากาศ พยากรณ์อากาศ และระดับมลพิษได้อย่างแม่นยำ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คนไทยสามารถวางแผนกิจกรรมและดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

ในส่วนของ ดร. Barry Lefer นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการจากองค์การนาซา อธิบายว่า โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างหลายประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ไทย และมาเลเซีย ซึ่งเป็น 5 เมืองหลักในเอเชียที่เผชิญปัญหามลพิษทางอากาศมากที่สุด สาเหตุหลักมาจากการขยายตัวของเมืองและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม

นาซา ตรวจสอบฝุ่น ประเทศไทย
ภาพจาก : U.S. Embassy Bangkok

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รู้สึกภูมิใจที่หน่วยงานภายใต้กำกับของ อว. ได้ร่วมมือกับองค์การนาซา ในโครงการศึกษาคุณภาพอากาศ ที่จะช่วยแก้ปัญหามลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ใช้เครื่องบิน 2 ลำ ที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน ดังนี้ 1) DC-8: บินเหนือเป็นแนวตั้ง จากสนามบินอู่ตะเภาถึงเชียงใหม่ แล้ววนกลับมาลงที่อู่ตะเภา เก็บข้อมูลมลพิษทางอากาศในระดับต่าง ๆ ใช้เวลาบิน 8 ชั่วโมงต่อเที่ยวบิน เก็บข้อมูลสารพิษและฝุ่นละอองเพื่อวิเคราะห์ 2) G-III: บินในแนวนอน เก็บข้อมูลคุณภาพอากาศในพื้นที่กว้าง ระยะทาง 60 กิโลเมตรต่อเที่ยวบิน

โดยจะทำการเก็บข้อมูลทางอากาศในระดับเหนือน้ำทะเลไม่เกิน 28,000 ฟุต เชื่อมโยงข้อมูลกับดาวเทียม GEMS ของเกาหลีใต้ ที่บันทึกข้อมูลคุณภาพอากาศในเอเชีย ท่ีรวมถึงประเทศไทย ในช่วงเวลากลางวัน 8 ชั่วโมงต่อวัน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : ท่าอากาศยานแพร่ Phrae Airport, U.S. Embassy Bangkok

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button