สุขภาพและการแพทย์

โรคหัด อันตรายแค่ไหน ตอนนี้กลับมาระบาดหนัก เช็กอาการและวิธีป้องกัน

เตรียมป้องกัน เปิดอาการโรคหัด หลังเริ่มแพร่ระบาดในประเทศญี่ปุ่น พร้อมลักษณะอาการป่วย และวิธีป้องกันตนเองจากโรคร้าย

สืบเนื่องจากวันที่ 17 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา เพจเฟซบุ๊ก สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา タイ王国大阪総領事館 ได้ออกแถลงการณ์ การแพร่ระบาดของโรคหัด (Measles) ในภูมิภาคคันไซ จึงขอความร่วมมือประชาชนชาวไทยในโอซากา สวมหน้ากากอนามัยขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะหรืออยู๋ในที่ชุมชน หมั่นล้างมือและสังเกตอาการอยู่เสมอ หากผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที เพื่อขอคำแนะนำในการรับวัคซีนและเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

Advertisements

ด้านองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ได้จับตาดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคหัดอย่างใกล้ชิด ทั้งยังชี้ว่า มีความเสี่ยงสูงมากที่อาจเกิดการระบาดของโรคหัดภายในสิ้นปีนี้ ดังนั้นแล้ว เราควรรู้เท่าทันโรคดังกล่าว เพื่อการป้องกันอย่างถูกต้อง ปลอดภัย ห่างไกลจากโรคหัด

อาการของโรคหัด

โรคหัด คืออะไร

โรคหัด (Measles) คือ โรคที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดจากเชื้อไวรัสหัด (Measles Virus) ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นเด็กที่อายุ 9 เดือน – 7 ปี ถึงกระนั้นผู้ใหญ่ก็สามารถติดเชื้อและป่วยเป็นโรคหัดได้

อาการของโรคหัด

อาการของโรคหัด มักปรากฎภายใน 14 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส ซึ่งจะปรากฎ 2 อาการ ได้แก่มีไข้ตัวร้อน และ มีผื่นขึ้นตามร่างกาย โดยระยะแรกจะมีอาการคล้ายไข้หวัด มีไข้สูง หลังจากเริ่มมีอาการไข้ 3-5 วัน ก็จะมีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย ตั้งแต่หน้าผากลงมากระจายมาถึงเท้าภายใน 3 วัน และสุดท้ายอาการผื่นจะหายไปเอง

นอกจากนั้นอาจมีอาการอื่น ๆ ตามมา อาทิ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดงเยิ้ม มีตุ่มคอพลิคหรือตุ่มแดงที่มีสีขาวเล็ก ๆ อยู่ในกระพุ้งแก้ม ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีภาวะแทรกซ้อน อาทิ หูอักเสบ ปอดอักเสบ และสมองอักเสบ ซึ่งอาจนำมาสู่การเสียชีวิตได้ในภายหลัง

Advertisements

การติดต่อโรคหัด

โรคหัดนั้น สามารถแพร่เชื้อและติดต่อกะได้ผ่านทางอากาศ หรือสัมผัสน้ำมูกหรือน้ำลายจากผู้ป่วยโดยตรง และสามารถติดต่อได้จากคนสู่คน โดยช่วง 4 วันก่อนและหลังเกิดผื่น คือ ระยะเวลาของการแพร่เชื้อหัด

การป้องกันโรคหัด

เด็ก

  • รับวัคซีนป้องกันโรคหัดให้ครบตามกำหนด รวมทั้งวัคซีนป้องกันคางทูม และหัดเยอรมัน โดยจะรับวัคซีนครั้งแรกในช่วงอายุ 9 – 12 เดือ และรับวัคซีนอีกครั้งเมื่ออายุ 4-6 ปี

ผู้ใหญ่

  • สำหรับผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นที่ไม่เคยมีประวัติการรับวัคซีนป้องกันโรคหัด ให้รับวัคซีน 2 เข็ม โดยแต่ละเข็มเว้นระยะรอบให้ห่างอย่างน้อย 28 วัน

ทั้งนี้ ควรหมั่นดูแลสุขภาพให้ดี ออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หากมีอาการที่ตรงกับที่บอกไปข้างต้น ให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที เพื่อขอรับคำปรึกษาและเข้ารับการอย่างรักษาทันท่วงที เพื่อป้องกันไม่ให้ไปแพร่เชื่อต่อผู้อื่น

วิธีป้องกันโรคหัด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Best Writer

นักเขียนบทความประจำ Thaiger จบการศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มีความเชียวชาญด้านวงการเพลงไทย ภาพยนตร์ อนิเมะ ชื่นชมติดตามข่าวสารสังคม กีฬา เทคโนโลยี แตกประเด็น สรุปเรื่องราวมาร้อยเรียงผ่านข้อความสู่สายตาผู้อ่าน ช่องทางติดต่อ best.t@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button