ตรวจสอบ วิธีคำนวณประกันสังคม เงินบำนาญชราภาพ ผู้ประกันตน มาตรา 33 ปลดเกษียณ อายุ 55 ปี ได้เงินบำนาญรวมทุกเดือนกี่บาท
บางคนไม่รู้ว่าไม่ใช่แค่ข้าราชการที่มีเงินบำนาญ เอกชน มนุษย์เงินเดือนก็มี เงินบำนาญ ชราภาพ จากประกันสังคมเช่นเดียวกัน เป็นหนึ่งในสวัสดิการที่ภาครัฐจัดให้เพื่อดูแลผู้สูงอายุในวัยเกษียณ โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 จะมีสิทธิได้รับเงินบำนาญนี้เมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และออกจากงาน หรือสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
ม.33 และ ม.39 ได้เงินบำนาญเดือนละเท่าไหร่? จำนวนเงินบำนาญที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่คุณจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม โดยแบ่งเป็น 2 กรณีหลัก:
บำนาญชราภาพ (จ่ายรายเดือนตลอดชีวิต)
- จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน และมีอายุครบ 55 ปี อได้รับเงินบำนาญ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย
- จ่ายเงินสมทบมากกว่า 180 เดือน และมีอายุครบ 55 ปี ได้รับเงินบำนาญเพิ่มขึ้นอีก 1.5% ทุกๆ 12 เดือนที่จ่ายเกิน 180 เดือน
ตัวอย่างเงินบำนาญชราภาพที่ผู้ประกันตนที่ได้รับ ตามจำนวนปีที่จ่าย
- ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ 3,000-4,125 บาท
- ส่งเงินสมทบ 21-25 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ 4,350-5,250 บาท
- ส่งเงินสมทบ 26-30 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ 5,475-6,375 บาท
- ส่งเงินสมทบ 31-35 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับ 6,600-7,500 บาท
บำเหน็จชราภาพ (จ่ายเป็นเงินก้อน)
- จ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ได้รับเงินเท่ากับเงินสมทบที่จ่ายไป
- จ่ายเงินสมทบ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 180 เดือน ได้รับเงินเท่ากับเงินสมทบที่จ่ายไป ทั้งของตนเองและนายจ้าง พร้อมผลตอบแทน
วิธีคำนวณเงินชราภาพ ลาออกมาตรา 33 แล้วสมัคร มาตรา 39
ตัวอย่างการจ่ายมาตรา 33 ครบ 180 เดือน แต่ลาออก แล้วมาต่อมาตรา 39 อีก 60 เดือน
- 4,800 x 20% = 960 บาท
- (60 เดือน / 12) x 1.5% x 4,800 บาท = 360 บาท
- รวม 960 + 360 = 1,320 บาท
ตัวอย่างจ่ายเงินประกันสังคมจนเกษียณ
สมมติว่าคุณจ่ายเงินสมทบครบ 240 เดือน (20 ปี) และค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายของคุณคือ 20,000 บาท คุณจะได้รับเงินบำนาญชราภาพดังนี้
เงินบำนาญพื้นฐาน: 20% ของ 20,000 บาท = 4,000 บาท
เงินบำนาญเพิ่มพิเศษ: (240 เดือน – 180 เดือน) / 12 เดือน * 1.5% = 7.5%
เงินบำนาญรวม: 4,000 บาท + (7.5% ของ 4,000 บาท) = 4,300 บาท/เดือน
ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ 39 ตรวจสอบสิทธิและเงินชราภาพ สอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลประกันสังคม หมายเลขโทรศัพท์ 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ หรือที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ
วิธีคำนวณ “เงินบำนาญชราภาพ” รวมทุกเดือนเท่าไหร่ พร้อมตัวอย่าง
ยกตัวอย่างกรณี นาย ก ทำงานได้รับเงินค่าจ้างขั้นต่ำ เดือนละ 25,000 บาท มาตลอด นาย ก ส่งเงินสมทบประกันสังคมมาแล้ว 20 ปี และมีมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ มีวิธีคิดเงินบำนาญชราภาพทั้งปี โดยเริ่มจาก
1. สำหรับวิธีการคำนวณจากตัวอย่างของ นาย ก เริ่มแรก ผู้ประกันตนส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี จะได้อัตราเงินบำนาญ 20 เปอร์เซนต์
2. ต่อไปจะเป็นการคิดจำนวนเงิน ในปีที่ 16 – ปีที่ 20 (รวม 5 ปี) จะได้รับอัตราเงินบำนาญ เพิ่มอีกปีละ 1.5 เปอร์เซ็นต์ รวมอัตราเงินบำนาญ 20 ปี จะได้ 20% + 7.5% = 27.5%
3. จึงสรุปได้ว่า นาย ก ซึ่งเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 จะได้รับเงินบำนาญรายเดือน = 27.5% ของ 25,000 บาท เป็นจำนวนเงิน 6,875 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต รวมเป็น 82,500 ต่อปี
4. กรณีผู้ประกันตนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 5 ปี นับแต่เดือนที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพ ผู้เป็นทายาท จะได้รับสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพตามจำนวนเดือนที่เหลือ (หลังจากผู้รับบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายจนครบ 60 เดือน)
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เงินสมทบประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 มีนาคม 2567 จ่ายทั้งหมดกี่บาท
- ลามไป เว็บข่าว-ประกันสังคม มิจฉาชีพแฝงลิงก์ปลอมจนสื่อจริงต้องเผยวิธีแก้
- สำนักงานประกันสังคม รับสมัครงาน 3 อัตรา เงินเดือนเริ่มต้น 9,400 บาท