รวบรวมรายชื่อ คนดังในวงการบันเทิง ศิษย์เก่าจากรั้วน้ำเงินขาว “อุเทนถวาย” โรงเรียนช่างก่อสร้างแห่งแรกในไทย แต่ละคนฝีมือไม่ธรรมดาทั้งนั้น
เป็นประเด็นใหญ่ที่หลายคนต่างก็ติดตามกันอยู่ สำหรับกรณีของการนัดรวมพลศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน ของ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย” ตั้งแต่ช่วงเช้าวานนี้ 27 ก.พ. 67 บริเวณหน้าสถาบัน เพื่อเดินขบวนชูป้ายผ้าแสดงเจตจำนง ‘คัดค้านการย้ายเขตพื้นที่อุเทนถวาย’ หลังเป็นข้อพิพาทกับจุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัยมายาวนาน
วันนี้เดอะไทเกอร์จะขอพลิกสถานการณ์ที่กำลังตึงเครียดอยู่ในขณะนี้ มารวบรวมรายชื่อศิษย์เก่า อุเทนถวาย ซึ่งเป็นเหล่าคนในแวดวงบันเทิง ซึ่งก็มีทั้งศิลปิน, นักเขียน, นักร้อง, นักแสดง, นักแต่งเพลง มากหน้าหลายตา แต่จะเป็นใครบ้างนั้น เราไปติดตามพร้อมๆ กันเลย ดังนี้
รวมรายชื่อคนดัง ศิษย์เก่า อุเทนถวาย
เลิศ ประสมทรัพย์ : ศิลปิน นักดนตรีและนักแต่งเพลง
เล็ก อ่ำเที่ยงตรง : ศิลปิน นักดนตรีและนักแต่งเพลง
คำรณ สัมบุญณานนท์ : ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี นักแสดงและนักแต่งเพลง
สุรพล สมบัติเจริญ : ศิลปิน นักร้อง นักแต่งเพลง
ถาวร สุวรรณ : นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์
ทนง วรัญญู : ศิลปิน
สมบัติ จันเกษม : ศิลปิน
ครูเปรื่อง ชื่นประโยชน์ : ศิลปิน นักดนตรี นักแต่งเพลง
มีศักดิ์ นาครัตน์ : ศิลปิน นักร้อง นักแต่งเพลง นักแสดง ผู้กำกับ
สมบัติ เมทะนี : ศิลปิน นักแสดง
เฉลิม สุจริต สถาปนิก : อาจารย์มหาวิทยาลัย หัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมและคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชุมพร เทพพิทักษ์ : นักแสดง
ไสยาสน์ เสมาเงิน : ศิลปินงานไม้
ปริญญา สุขชิต : ศิลปินนักเชียร์กีฬาชื่อดัง ‘เป็ดซูเปอร์แมน’ (ศิษย์เก่าอุเทนถวาย รุ่น 36)
เกริกกำพล ประถมปัทมะ (อ๊อด คาราบาว) : ศิลปิน นักร้องวงคาราบาว (ศิษย์เก่าอุเทนถวาย รุ่น 38)
ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว): ศิลปิน, นักร้อง, นักดนตรี, นักแต่งเพลง วงคาราบาว (ศิษย์เก่าอุเทนถวาย รุ่น 40)
ปรีชา ชนะภัย (เล็ก คาราบาว) : ศิลปิน, นักร้อง, นักดนตรีวงคาราบาว นักแสดง (ศิษย์เก่าอุเทนถวาย รุ่น 40)
ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ : ศิลปิน นักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง นักแสดง (ศิษย์เก่าอุเทนถวาย รุ่น 43)
ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ : ศิลปิน นักร้อง (ศิษย์เก่าอุเทนถวาย รุ่น 57)
ประวัติ อุเทนถวาย
วิทยาเขตอุเทนถวาย ก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2477 โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนเพาะช่าง แผนกช่างก่อสร้าง โรงเรียนเพาะช่างก่อสร้างอุเทนถวาย หรือ “โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จึงได้โอนมาเป็นวิทยาเขตในสังกัดวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งในปี พ.ศ. 2533 เป็น “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวาย” และใช้ชื่อนี้จนถึงปัจจุบัน ถือว่าอุเทนถวายเป็นอีกวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก โดยมีหลักสูตรที่เปิดสอน คือ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์
พิ้นที่ของอุเทนถวายทำการเช่าที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี 2478 มีการขอเจรจาคืนในปี 2518 มีแผนพัฒนา ศูนย์นวัตกรรมงานสร้างสรรค์เพื่อชุมชนยั่งยืนในปี 2545 กรมธนารักษ์ได้มีการจัดหาพื้นที่ใหม่ให้อุเทนถวายจำนวน 35 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่กรมการบินพลเรือนและเป็นที่ราชพัสดุ บริเวณ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
โดยสาเหตุที่ต้องการพื้นที่คืน นั่นเพราะ จุฬาฯ มีโครงการที่นำความรู้เพื่อสนองตอบการแก้ปัญหาของสังคมอย่างยั่งยืน จึงจำเป็นต้องใช้สถานที่ เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนของชาติ และเตรียมความพร้อมของประเทศในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอันใกล้ตามนโยบายของรัฐบาล
ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการส่งหนังสือ เพื่อให้อุเทนถวายส่งมอบพื้นที่คืนให้ ทั้งหมด 3 ครั้งด้วยกัน ทั้งยังมีก่ารยืนหนังสือถึง รมต.ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้มีการพิจารณางบประมาณในสนับสนุนการจัดตั้งพื้นที่แห่งใหม่ให้อุเทนถวายด้วย
- เริ่มตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2550 สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กยพ.) โดยในระหว่างการพิจารณาดังกล่าวนั้นนายกสโมสรนักศึกษาอุเทนถวาย ได้มีการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา 2 ครั้ง
- ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 กยพ. ได้มีมติชี้ขาดโดยให้ อุเทนถวาย ขนย้ายทรัพย์สินและคืนพื้นที่ให้กับ จุฬาฯ พร้อมทั้งต้องชำระค่าเสียหายปีละล้านบาทเศษ จนกว่าจะส่งมอบพื้นที่เสร็จ โดยมติที่ประชุมมีข้อสังเกตว่า ในการย้ายนั้น ขอให้กระทรวงศึกษา ประสานงานกับกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอใช้ที่ราชพัสดุและงบประมาณสนับสนุนเพื่อการนี้ต่อไป
- และในปี พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีรับทราบมติดังกล่าว และอัยการสูงสุดแจ้งผลชี้ขาดของ กยพ. ต่อจุฬาฯ และอุเทนถวาย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับผลการทูลเกล้าถวายฎีกา สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือยืนยันผลชี้ขาดตามมติของ กยพ. ถึงอุเทนถวาย ฉบับลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554
- กระทั่ง วันที่ 14 ธ.ค. 65 ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งให้วิทยาลัยอุเทนถวาย ย้ายออกจากพื้นที่ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีคำสั่งให้ต้องดำเนินการภายใน 60 วันหลังจากมีคำสั่งย้าย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ประวัติ ‘อุเทนถวาย’ โรงเรียนช่างก่อสร้าง แห่งแรกในประเทศไทย
- ‘แอ๊ด คาราบาว’ โพสต์เชียร์ ‘อุเทนถวาย’ อัด ‘จุฬา’ ใช้เล่ห์ยึดที่ชาวอุเทน
- ‘เศรษฐา’ ตอบปม ย้ายอุเทนถวาย ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ยันรับฟังความเห็น
อ้างอิงจาก : th.wikipedia, carabaoofficial, Mos-Fanclub