ประโยชน์ของ “เบียร์” ที่สายดื่มอาจไม่เคยรู้ กินเบียร์แต่น้อย มีคุณมากกว่าโทษ
ไขความจริงที่หลายคนไม่เคยรู้ “การดื่มเบียร์” ในปริมาณที่เหมาะสม มีประโยชน์มากกว่าให้โทษ อุดมไปด้วยสารอาหาร ช่วยลดความเสี่ยงโรคร้าย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รักษาอาการป่วย
เมื่อพูดถึง “เบียร์” ผู้อ่านร้อยทั้งร้อยก็คงจะนึกถึงโทษและโรคร้ายที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์แล้ว แน่นว่าหากกินในปริมาณที่มากเกินไป ปัญหาสุขภาพต่าง ๆ คงจะตามมาเป็นพรวนแน่นอน แต่สายดื่มรู้หรือไม่ว่า “การดื่มเบียร์” ก็มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย ถ้าดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ
“การดื่มเบียร์” มีประโยชน์ รู้ยัง?
จากการวิจัยของมหาวิทยาลัย Emory (อ้างถึงในบทความของ SkillLane) กล่าวว่า “เบียร์นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย ดีต่อหัวใจ” โดยพวกเขาได้ทำการวิจัยกับผู้หญิงและผู้ชายสูงอายุ 2,200 คน ที่ดื่มเบียร์วันละ 1.5 แก้วต่อวัน พบว่า บุคคลกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคหัวใจล้มเหลวลดลงถึง 50%
นอกจากนั้นในปี พ.ศ. 2555 นักวิจัยชาวอิตาลีได้ทำการศึกษากลุ่มคนที่ดื่มเบียร์เป็นประจำ โดยผลสรุปออกมาว่าคนที่ดื่มเบียร์ในปริมาณพอเหมาะ กล่าวคือ ไม่เกิน 1 ลิตรต่อวัน มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าคนไม่ดื่มถึง 42% เหตุเพราะในเบียร์มีสารที่ชื่อว่า โพลิฟีนอล (Polyphenols) ที่มีสรรพคุณช่วยลดระดับความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี ช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (High-Density Lipoprotein: HDL) และช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
8 คุณประโยชน์ของการดื่มเบียร์
เปิด 8 คุณประโยชน์ของการดื่มเบียร์ที่สายดื่มควรรู้ ผู้อ่านท่านใดที่ชื่นชอบการดื่มเบียร์ รักการรังสรรค์ แต่กังวลถึงปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่จะตามมาจนหลาย ๆ ครั้งก็หมดสนุกไปกับงานปาร์ตี้ตรงหน้า วันนี้ Thaiger จึงมาพร้อมกับเกร็ดความรู้น่าสนใจของเบียร์ ที่จะช่วยเปลี่ยนความคิดลบ ๆ เกี่ยวกับการดื่มเบียร์ให้หมดสิ้นไป
“การดื่มเบียร์” จะมีผลดีต่อสุขภาพหากดื่มในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้รับสารที่เป็นประโยชน์ ทางศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า หากบริโภคเบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ 5% โดยปริมาตร สำหรับผู้หญิงควรดื่มไม่เกิน 12 ออนซ์ต่อวัน และผู้ชายควรดื่มไม่เกิน 24 ออนซ์ต่อวัน
1. ป้องกันโรคโลหิตจาง
ภาวะโลหิตจางหรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าภาวะซีด เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง (anemia) ก็คือ การขาดโฟลิค ซึ่งเบียร์อุดมไปด้วยกรดโฟลิค และวิตามินบี 12 การดื่มเบียร์จึงสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจางได้
2. คงความอ่อนวัย
เบียร์อุดมไปด้วยวิตามินอีมากมาย ซึ่งวิตามินอีจัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพของผิวพรรณ วิตามินอีจึงสามารถช่วยชะลอกระบวนการเสื่อมเนื่องจากวัย
3. ลดความเสี่ยงของนิ่วในไต
จากงานวิจัยของประเทศฟินแลนด์ พบว่า การดื่มเบียร์เป็นประจำในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดนิ่วในไตได้มากกว่าปกติ เพราะการดื่มเบียร์จะทำให้ร่างกายเกิดการขับปัสสาวะได้มากกว่าการดื่มน้ำธรรมดา ยิ่งปัสสาวะได้ดีมากเท่าไหร่ก็จะช่วยลดการสะสมแคลเซียมบริเวณไต และขับสารพิษ รวมถึงบรรดาของเสียได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมสูง แต่มีโซเดียมในปริมาณน้อย
4. ต้านมะเร็ง
ในประเทศโปรตุเกส มีการศึกษาว่า การหมักเนื้อสเต็กด้วยเบียร์นั้น จะช่วยลดสารก่อมะเร็งในเนื้อนั้นได้สูงถึง 70% เพราะน้ำตาลในเบียร์จะมีส่วนช่วยในการยับยั้งการทำงานของสารก่อมะเร็ง และทำให้ระบบการขับของเสียออกจากร่างกายทำงานได้
นอกจากนั้น เบียร์ยังอุดมไปด้วยฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถต่อสู้กับอนุมูลอิสระที่เป็นอันตราย และส่งผลเสียต่อเซลล์ในร่างกายได้ สารฟลาโวนอยด์หลักที่พบในเบียร์ก็คือ Xanthohumol ซึ่งเป็นสารประกอบชนิดหนึ่งที่พบในฮอปส์ ส่วนผสมหลักของเบียร์ สารดังกล่าวจะช่วยยับยั้งเอนไซม์ที่ทำให้เกิดมะเร็งได้
5. ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
ด้วยเหตุที่เบียร์อุดมไปด้วยวิตามินบี 6 ที่มีสรรพคุณในการป้องกันการสร้างสารโฮโมซีสทีน (Homocysteine) ซึ่งก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ทั้งยังมีผลต่อการเจือจางเลือด และมีสรรพคุณในการต้านการเกิดลิ่มเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้หลอดเลือดหัวใจตีบตัน
การบริโภคเบียร์อย่างพอเหมาะสามารถลดความเสี่ยงของอาการอักเสบ ที่เป็นสาเหตุภาวะหลอดเลือดแข็ง (atherosclerosis) ได้อีกด้วย นอกจากนี้ เบียร์ยังอาจช่วยกระตุ้นการสร้างคอเลสเตอรอลชนิดดีได้ร้อยละ 10 – 20 ซึ่งช่วยให้ผู้ดื่มห่างไกลจากโรคหัวใจและหลอดเลือด
6. เสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
จากการศึกษาพบว่า การบริโภคเบียร์อย่างพอเหมาะจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ยับยั้งการเกิดภาวะกระดูกหัก และกระดูกพรุน (osteoporosis) นอกจากนี้เบียร์ยังมีสารซิลิคอน (silicon) ที่สามารถลดความเสี่ยงกระดูกพรุน ลดอาการบวมอักเสบของข้อได้อีกด้วย
7. บรรเทาอาการนอนไม่หลับ
หนึ่งในสารบางอย่างจากดอกฮอปส์ (HOBS) ที่เป็นองค์ประะกอบหลักของเบียร์ จะทำหน้าที่เหมือนกับยานอนหลับจากธรรมชาติ ช่วยให้ผู้ดื่มรู้สึกผ่อนคลาย แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการเบียร์ในช่วง 4 – 6 ชั่วโมงก่อนนอน แม้ว่าเครื่องดื่มดังกล่าวจะทำให้รู้สึกง่วงงงุนได้ง่ายในระยะต้น จากนั้นหลังแอลกอฮอล์เริ่มหมดฤทธิ์ในเวลา 2 – 3 ชั่วโมงต่อมา ผู้ดื่มอาจนอนหลับไม่สนิท ตื่นได้ง่าย
8. คุณค่าทางอาหารสูง
เบียร์เกือบทุกประเภทนั้น มีใยอาหารสูง อีกทั้งยังอุดมไปด้วยสารอาหารรอื่น ๆ มากมาย ได้แก่
- กรดโฟลิก (Folic Acid) หรือเรียกกันอีกอย่างว่า ‘โฟเลต’ วิตามินที่มีส่วนช่วยในการสร้างตัวอ่อน ทั้งการสังเคราะห์ ซ่อมแซมพันธุกรรม ควบคุมการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นในการแบ่งเซลล์ รวมถึงสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูกของลูกในครรภ์
- วิตามินซี สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่ และลดการเกิดริ้วรอยแห่งวัย เสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย
- วิตามิน B6 จำเป็นต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง เสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็งแรง ช่วยชะลอวัย และมีหน้าที่สำคัญเรื่องการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย ช่วยปรับสภาพผิวหนังให้เป็นปกติ
- วิตามินบี 12 หรือโคบาลามิน (Cobalamin) มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง รวมถึงมีส่วนช่วยให้การทำงานของระบบประสาทเป็นไปได้อย่างปกติ
เกร็ดประวัติ “เบียร์” เครื่องดื่มแห่งการสังสรรค์
เบียร์ เป็นเครื่องดื่มโบราณ ที่มีต้นกำเนิดมาจากชาวบาบิโลเนียแห่งอารยธรรมลุ่มน้ำยูเฟรตีส เมื่อราว ๆ 6,000 – 8,000 ปีก่อน อีกทั้งเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในดินแดนอียิปต์โบราณ และแดนเมโสโปเตเมีย
ในยุคแรก ๆ ‘เบียร์’ เกิดขึ้นจากการหมักข้าวบาร์เลย์ จนกระทั่งเมื่อประมาณ 3,000 ปีที่แล้ว หรือประมาณ 1,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช มนุษย์ได้พัฒนาเบียร์แบบเดิม ๆ ให้กลายเป็นเครื่องดื่มรสเลิศ โดยการใส่ ‘ฮอปส์ (HOBS)’ เข้าไปในเบียร์ เพื่อปรุงรสชาติ และแต่งกลิ่น ไม่เพียงเท่านั้น ยังช่วยให้สามารถเก็บรักษาเบียร์ไว้ได้นานขึ้นด้วย
ในยุคแรกๆ ยังไม่มีการใส่ ฮอปส์ เข้าไปจึงไม่ได้มีกลิ่นรสดังในปัจจุบัน สมัยแรกๆ เป็นการหมักขึ้นจากข้าวบาร์เลย์เป็นวัตถุดิบหลัก จนมาเมื่อประมาณ 3,000 ปี ที่แล้ว (ประมาณ 1,000 ปี ก่อน ค.ศ.) จึงมีการคิดค้นเพิ่ม ฮอปส์ เข้าไปในเบียร์เพื่อเพิ่มรสปรุงกลิ่น และยังช่วยให้สามารถเก็บรักษาเบียร์ไว้ได้นานขึ้นด้วย
อย่างไรก็ดี แม้การดื่มเบียร์จะมีประโยชน์อยู่ไม่น้อย แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับปริมาณของเบียร์ที่ดื่มเข้าไปด้วย ซึ่งผู้หญิงควรดื่มไม่เกิน 12 ออนซ์ต่อวัน และผู้ชายควรดื่มไม่เกิน 24 ออนซ์ต่อวัน หากดื่มมากเกินกว่านั้นปริมาณแอลกอฮอลล์ที่อยู่ในเบียร์ก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ นานวันเข้าก็จะกลายเป็นภัยร้ายต่อร่างกายอย่างที่สายดื่มทุกท่านไม่ทันได้ตั้งตัว
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง