เปิดข้อกฎหมาย ถูกแอบติดเครื่องดักฟัง เอาผิดทางแพ่งและอาญาได้หรือไม่
กางกฎหมายแพ่งและอาญา ติดเครื่องดักฟัง ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเข้าข่ายความผิดมาตราไหน รู้ไว้จะได้ไม่ถูกคนอื่นแอบดักเอาข้อมูล
อ้างอิงตามข้อมูลจากรัฐธรรนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ตามมาตรา 32 ระบุไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว การกระทำอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง
หรือการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ดังนั้น การติดเครื่องดักฟัง ถือเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
นอกจากนี้ หากพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จะพบว่าการติดเครื่องดักฟังนั้นเข้าข่ายลักษณะกฎหมายละเมิด ผู้ใดจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก้ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
สรุปได้ว่า การติดเครื่องดักฟังเพื่อละเมิดสิทธิส่วนบุคคล มีความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา ผู้ที่ได้รับความเสียหายสามารถฟ้องร้องกล่าวโทษต่อผู้กระทำผิดได้ เพราะฉะนั้นหากท่านใดพบว่าตนเองถูกแอบติดตั้งเครื่องดักฟังเพื่อละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ก็ขอให้แจ้งความดำเนินคดีโดยเร็ว
อ้างอิงข้อมูลจาก : กรมสรรพสามิต, รัฐธรรมนูญฉบับ 2560, สำนักงานทนายคลายทุกข์ และ สำนักงานกฎหมายสภาผู้แทนราษฎร
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง