ข่าว

เทียบชัด ๆ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาล กับ ฉบับก้าวไกล ต่างกันอย่างไร

หลังจากที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกมาเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ร่างโดยกระทรวงยุติธรรม เพื่อรับรองเรื่องสมรสเท่าเทียม โดยกฎหมายดังกล่าวจะทำให้บุคคลเพศเดียวกันสามารถหมั้น สมรส รวมถึงมีสิทธิหน้าที่และสถานะทางครอบครัวเท่าเทียมคู่สมรสชายหญิง

ร่างกฎหมายดังกล่าวจะเสนอเข้าที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 21 ธันวาคม 2566 นี้ วันนี้จึงขอพาทุกคนมาเปิดร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมทั้ง 2 ฉบับ ระหว่าง ฉบับของรัฐบาล กับ ฉบับของพรรคก้าวไกล เพื่อเปรียบเทียบว่าในรายละเอียดนั้นมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

Advertisements

เปรียบเทียบสาระสำคัญ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาล และ ฉบับก้าวไกล

เปรียบเทียบสาระสำคัญ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาล กับ ฉบับก้าวไกล

สำหรับการเปรียบเทียบสาระสำคัญภายใน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ระหว่างฉบับรัฐบาล กับ ฉบับพรรคก้าวไกลนั้น แน่นอนว่าหลักการพื้นฐานของทั้งสองฉบับที่มีเหมือนกันคือ การสมรสที่มีความเท่าเทียม โดยการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เปลี่ยนจากการสมรสของ ชาย-หญิง เป็นการสมรสระหว่าง 2 บุคคล สำหรับรายละเอียด พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมทั้ง 2 ฉบับ มีดังนี้

ผู้รักษาการตามร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาล

  • นายกรัฐมนตรี

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับก้าวไกล

  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

อายุขั้นต่ำในการหมั้นและการสมรส

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาล

Advertisements
  • อายุ 17 ปีบริบูรณ์ (ตาม ป. แพ่งและพาณิชย์ฉบับปัจจุบัน)

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับก้าวไกล

  • อายุ 18 ปีบริบูรณ์

เพศสำหรับการสมรส

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาล

  • บุคคลทั้งสองฝ่าย บุคคลทั้งสองคน (ทุกเพศ)

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับก้าวไกล

  • บุคคลทั้งสองฝ่าย บุคคลทั้งสองคน (ทุกเพศ)

สถานะหลังจดทะเบียนสมรส

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาล

  • คู่สมรส

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับก้าวไกล

  • คู่สมรส

เหตุหย่า (ตาม ป.แพ่งฯ มาตราา 1516 (6))

การคงไว้ซึ่งคำที่ระบุเพศ

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาล

  • มี ตัวอย่าง ป. แพ่งฯ มาตรา 1504 วรรค 2 กำหนดให้การสมรส ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายอายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ มีผลสมบูรณ์ เมื่อฝ่ายหญิงตั้งครรภ์ (ใช้บังคับเฉพาะกรณีสมรสระหว่างชาย-หญิงเท่านั้น)

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับก้าวไกล

  • ไม่มี ตัวอย่าง ป. แพ่งฯ มาตรา 1504 วรรค 2 ใช้คำว่า “บุคคลนั้นตั้งครรภ์” และไม่มีการกำหนดให้กรณีดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะการสมรสระหว่างชาย-หญิง

เหตุหย่า ตาม ป.แพ่งฯ มาตราา 1516 (6)

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาล

  • เปลี่ยนเป็นคำที่ไม่ระบุเพศ คือต้อง “ทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นคู่สมรสอย่างร้ายแรง” จึงจะฟ้องหย่าได้

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับก้าวไกล

  • ตัดคำว่า “อย่างร้ายแรง” ออก

การปรับปรุงบทบัญญัติ เกี่ยวกับ บิดา มารดา บุตร

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาล

  • มีการแก้ไข ป. แพ่งและพาณิชย์ ในมาตรา 1536, 1537, 1538, 1539, 1541, 1542, 1543, 1544 และ 1545 ซึ่งเกี่ยวข้องกับหมวดบิดา มารดา และบุตร

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับก้าวไกล

  • ไม่มีการแก้ไข ป. แพ่งและพาณิชย์ ในมาตราดังกล่าว ทำให้ยังมีคำที่ระบุเพศอยู่ในกฎหมาย เช่น สามี

การบัญญัติให้สิทธิแก่คู่สมรส

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาล

  • ไม่มีการเพิ่ม ป. แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/42

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับก้าวไกล

  • มีการเพิ่มบทบัญญัติให้สิทธิแก่คู่สมรส

ระยะเวลาบังคับใช้หลังประกาศราชกิจจานุเบกษา

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับรัฐบาล

  • 120 วัน

พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ฉบับก้าวไกล

  • 120 วัน

ระยะเวลาบังคับใช้หลังประกาศราชกิจจานุเบกษา

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Best Writer

นักเขียนบทความประจำ Thaiger จบการศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มีความเชียวชาญด้านวงการเพลงไทย ภาพยนตร์ อนิเมะ ชื่นชมติดตามข่าวสารสังคม กีฬา เทคโนโลยี แตกประเด็น สรุปเรื่องราวมาร้อยเรียงผ่านข้อความสู่สายตาผู้อ่าน ช่องทางติดต่อ best.t@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button