สรุปปม ใช้ไอโอ “Cxllme” เขียนคอมเมนต์-เชียร์ซอฟต์พาวเวอร์ สังคมได้อะไร ?
ปมใช้ IO เขียนคอมเมนต์เชียร์ซอฟต์พาวเวอร์ จับพิรุธชื่อบัญชี cxllme แพทเทิร์นวนซ้ำ คิดถึงแฟนจังเมื่อไหร่จะมี555 วันและเวลาเดียวกัน พลเมืองโซเชียลตั้งคำถามหรือนี่จะเป็นซอฟเพาเวอร์ที่แท้จริง
กลายเป็นประเด็นขึ้นทันที ภายหลังจากที่เมื่อวานนี้ (29 พ.ย.66) เฟซบุ๊กกแฟนเพจ โคตรมีมเลย Crypto Meme ออกมาลงโพสต์ข่าวของมติชนออนไลน์ ซึ่งรายงานความเคลื่อนไหวของอุ๊งอิ๊ง แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่ไปร่วมงานลอยกระทงกับเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมกับคำโปรยหัวที่ว่า “ไปดูซอฟเพาเวอร์ ตลาดคลองแม่ข่า” โดยทางเพจโคตรมีมเลยได้ลงรูปซึ่งเป็นภาพบันทึกหน้าจอ ซึ่งจะเห็นบัญชีแอคเคาต์จำนวนมากเขียนแสดงความเห็นข้อความชื่นชม แต่ที่ผิดสังเกต คือ ชื่อแอคเคาต์จะมีคำว่า “cxllme” รวมถึงแพทเทิร์นในการคอมเมนต์รูปแบบจะคล้าย ๆ กัน อาทิ โพสต์ “คิดถึงแฟนจังเมื่อไหร่จะมี555. (มีจุดด้วย) ในวันและเวลาเดียวกัน
ต่อมายังมีการแฉรูปแบบปฏิบัติการไอโอ ด้วยการจับพิรุธในการตั้งชื่อแต่ละบัญชี ดังนี้
Cxllme : ตามด้วย ชื่อปลอม + ชื่อเล่น
Cxllme : ตามด้วยชื่อจริง ซ้ำชื่อจริง
รูปเช็คด้วย google แล้ว ส่วนนึง ดูดจากเฟสคนอื่น
หลังกลายเป็นกระแสเฟซบุ๊กเพจที่เล่นประเด็นนี้ สืบเนื่องจากโพสต์ต้นทางดังกล่าวก็มีตามมาด้วยเพจ Drama-addict ซึ่งนำประโยคยอดฮิต ณ ตอนนี้อย่าง “คิดถึงแฟนจังเมื่อไหร่จะมี 555.” ไปห้อยไว้เป็นแคปชชั่นในโพสต์จับโป๊ะ คอมเมนต์เชียร์ซอฟเพสเวอร์ที่ลังมีประเด็น
นอกจากนี้ เพจจ่ายังตั้งข้อสังเกตอีกว่า เครือข่ายปฏิบัติการด้านข่าวสารเจ้าล่าสุดนี้ น่าจะใช้การตั้งโปรแกรมตอบกลับแบบอัตโนมัติ หรือ แชตบอท (Chatbot) เอาไว้ด้วย
“สามรถ* ดูทรง น่าจะเป็น IO แบบใช้โปรแกรมเอา คือปล่อยบอทมาโพสรัวๆ พอสคริปท์ผิด แม่งก็ผิดทั้งขโยง พิมพ์ผิดตามกันหมด ไม่ใช่แบบเอาไอโดตัวเป็นๆ มานั่งเฝ้าหน้าจอเป็นกองทัพ (เจอหลาย accout ในหลุ่ม IO นี้เชื่อมโยงไปที่บริการปั่นไลค์เพจ ปั่นคอมเม้นท์ด้วย)” ข้อความจากโพสต์ล่าสุดของเพจ Drama-addict เกี่ยวกับเรื่องใช้ไอโอเขียนเชียร์ซอฟเพาเวอร์
เช่นเดียวกับ บัญีเอ็กซ์ของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการที่ลี้ภัยในฝรั่งเศส ก็เขียนแสดงความเห็นกับกรณีไอโอ (IO) หนนี้ว่า “เดี๋ยวนี้ ข่าวตามที่ต่าง ๆ กลายเป็นแหล่งรวมการเขียนซ้ำ ๆ (เปลี่ยนชื่อนิดหน่อย) เพื่อเชียร์ฝ่ายตน”
เดี๋ยวนี้ ข่าวตามที่ต่างๆกลายเป็นแหล่งรวมการเขียนซ้ำๆ (เปลี่ยนชื่อนิดหน่อย) เพื่อเชียร์ฝ่ายตน pic.twitter.com/B1wMdqA640
— สมศักดิ์ เจียม (@somsakjeam) November 29, 2023
เปิดความหมายที่แท้จริง เครือข่ายปฏิบัติการด้านข่าวสาร หรือ information operation (IO)
อ้างอิงข้อมูลจากสถาบันพระปกเกล้า “ไอโอ (ปฏิบัติการข่าวสาร)”
ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของสภาผู้แทนราษฎรใน วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ ได้อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยยกประเด็นที่หน่วยงานรัฐได้ใช้สื่อออนไลน์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลโจมตีฝ่ายตรงกันข้ามทางการเมืองอย่างเป็นระบบ เป็นปฏิบัติการที่เรียกว่า “ไอโอ” ซึ่งเป็นคำเรียกโดยย่อของ “Information Operation” หรือ “ปฏิบัติการข่าวสาร”
การอภิปรายนี้ ทำให้ปฏิบัติการไอโอเป็นที่รับรู้ในวงกว้างต่อสาธารณชนโดยทั่วไป และกลายเป็นประเด็นที่ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทั้งพรรคการเมืองและประชาชนโดยทั่วไปนำมาใช้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล
“ปฏิบัติการไอโอ” ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญหรือบทบาทของพื้นที่โซเชียลมีเดียหรือสื่อออนไลน์ในฐานะพื้นที่เผยแพร่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและแสดงความคิดเห็นทางการเมือง อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงจุดยืนของหน่วยงานรัฐโดยเฉพาะหน่วยงานด้านความมั่นคง ซึ่งได้กำหนดให้ความแตกแยกทางการเมืองภายในเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลต่อภัยความมั่นคงของชาติ และมีแนวคิดว่ารัฐจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทเพื่อจัดการกับปัญหานี้
ขณะที่ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ให้นิยามไว้ว่า ปฏิบัติการสารสนเทศ (ไอโอ) : information operations (IO)
ปฏิบัติการสารสนเทศ (ไอโอ) เป็นศัพท์บัญญัติของคำว่า information operations (IO) หมายถึง วิธีการทางข้อมูลข่าวสารที่อาศัยเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ การใช้จิตวิทยามวลชน มีการนำเสนอภาพและข้อมูลชวนเชื่อ เพื่อสร้างอิทธิพลต่อการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมาย อาจนำไปสู่ยุทธการข้อมูลข่าวสารหรือไอดับเบิลยู (Information Warfare-IW) ได้เดิมใช้ในปฏิบัติการทางทหาร
ปฏิบัติการสารสนเทศเกิดจากการมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยสามารถจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล ส่งต่ออย่างเป็นระบบผ่านสถาปัตยกรรมสารสนเทศ (Information Architecture) ออกแบบโครงสร้าง ลำดับความสำคัญของข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบ แล้วแต่ผู้จัดการสารสนเทศจะออกแบบกลยุทธ์เชิงรุกหรือกลวิธีให้ผู้รับสารเป้าหมายเชื่อ ชอบ และใช้ปฏิบัติการตามหรือยกเลิก
ข้อมูลข่าวสารจำนวนมหาศาลกับข้อมูลข่าวสารจำเพาะ นักปฏิบัติการสารสนเทศต้องเลือกให้ถูกต้องเหมาะสม ปฏิบัติได้ การสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลสำหรับบริษัทโฆษณาจำเป็นต้องเชื่อเชิญผู้ใดเข้ามาบ้าง ต้องใช้สื่อสังคม บล็อกเกอร์ หรืออื่น ๆ เพื่อทำการส่งเนื้อหาที่ใช้เพื่อเรียกลูกค้าเป้าหมายตามบุคลิกลักษณะที่กำหนด การให้งดให้ข้อมูลการ กำหนดเวลาให้การข้อมูล อุปกรณ์ทางการสื่อสารที่ควรจะมีหรือจำเป็นต้องมีเพื่อให้บรรลุซึ่งปฏิบัติการสารสนเทศ (ที่มา : หนังสือพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา).