ข่าว

หยุดก่อนสาย หมอเตือน สะบัดคอแก้เมื่อย เสี่ยงอัมพฤกษ์

น.พ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ออกมาโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เตือนพฤติกรรมของคนที่ชอบแก้เมื่อยปวดคอด้วยกัน สะบัดคอ บิดคอว่าถ้าทำผิดหลักวิธี เป็นสาเหตุให้ป่วยเป็นอัมพฤษ์ได้ ดังนี้

บิด เอียง สะบัดหมุน ดัดคอ…แล้วก็เสี่ยงอัมพฤกษ์

เรื่องใกล้ตัวที่เป็นท่าบริหารประจำหรือที่ทำ เวลาเมื่อย หรือเป็นกระบวนการในการนวดคลายเมื่อย ดัดเส้น รวมทั้ง เป็นกรรมวิธีในการบำบัดทางกายภาพและจัดกระดูก ซึ่งถ้าไม่ระวังจะ เพิ่มความเสี่ยงอันตรายต่อการที่ผนังเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง โดยเฉพาะคู่หลังเกิดการฉีกขาดและทำให้เกิดเนื้อสมองตายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

Advertisements

สมองของเรามีเส้นเลือดไปเลี้ยง 2 คู่ คู่หน้าสามารถคลำได้ตุบๆที่คอด้านหน้าซึ่งไปเลี้ยงสมองหน้าผากขมับ 2 ข้าง รวมทั้งสมองส่วนลึกลงไปทางด้านใน เส้นเลือดคู่หลังร้อยผ่านกระดูกก้านคอ และเลื้อยผ่านเข้าไปหล่อเลี้ยงสมองท้ายทอยซึ่งเป็นจอรับภาพ สมองน้อยด้านหลัง คุมการทรงตัว ก้านสมองซึ่งควบคุมประสาทสมองรวมการเคลื่อนไหวลูกตา คุมการรับรู้สึกตัว การเคลื่อนไหวแขนขา การสะบัดคอแรงๆ การหมุนคอบิด บริหารประจำอาจทำให้เกิดผลร้าย

สะบัดคอ อันตรายต่อเส้นเลือดไปเลี้ยงสมอง

อันตรายที่เกิดขึ้นจะแปรตามความรวดเร็ว รุนแรงของการบิดสะบัดเคลื่อนไหวคอและแม้หมุน สะบัดไม่รวดเร็ว แต่การทำซ้ำกันบ่อยๆเป็นระยะเวลานานก็เกิดเรื่องได้ ไม่เฉพาะแต่เส้นประสาทที่คอ ยังเกิดกับเส้นเลือด โดยเฉพาะผู้ที่เกิดมาขาดทุนคือมีเส้นเลือดคู่หลังเพียงเส้นเดียว และในคนที่มีเส้นเลือดตีบอยู่แล้วจากมีโรคประจำตัว คือ อ้วน ความดันสูง ไขมันเพียบ หรือมีกระดูกงอกที่คอที่พร้อมที่จะกดเบียดเส้นเลือดอยู่แล้วหรือคนที่มีโรคของผนังเส้นเลือดผิดปกติแต่กำเนิด (ซึ่งพบได้น้อยมาก)

ข้อควรระวัง และกลไกในการเกิดอัมพฤกษ์จากการเคลื่อนของคอ อันเป็นผลจากการจับ ดัด เอียง สะบัด มีรายงานเป็นทางการจากสมาคมโรคหัวใจและโรคอัมพฤกษ์จากเส้นเลือดผิดปกติของสหรัฐฯ ซึ่งรายงานข้อสรุปได้รับการสนับสนุนและรองรับโดยสมาคมศัลยแพทย์และคองเกรสทางระบบประสาทของสหรัฐฯ ตีพิมพ์ในวารสาร Stroke ฉบับเดือนตุลาคม 2014

ทั้งนี้ การนวดกดจุดก็น่าจะต้องระวังเช่นกัน เนื่องจากเส้นเลือดคู่หลังจะวิ่งเข้าสมองโดยผ่านรู 2 ข้างที่ฐานกะโหลกศีรษะ ซึ่งจากการนวด อาจจะมีวิธี “ปิด–เปิดประตู”

การเปิดปิดประตูคือการกดจุดที่รู 2 ข้างซึ่งจะตัดการไหลเวียนของเลือดเข้าสมองท้ายทอยซึ่งเป็นจอรับภาพในสมอง ทำให้ตามืดไปชั่วขณะ และเมื่อปล่อยการกดจุด เลือดจะไหลมาดังเดิมทำให้ตาสว่าง ซึ่งในคนที่เส้นเลือดผิดปกติอยู่แล้ว ตาอาจมืดไปเลยได้ กลายเป็นบอดทั้ง 2 ข้าง

Advertisements

วิธีแก้เมื่อยคอ

สำหรับคนเมื่อยคอ วิธีแก้เมื่อย รวมทั้งยังสามารถทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเองได้คือคอตรง หน้าตรง ดันศีรษะสู้กับฝ่ามือตนเอง 4 ทิศ ซ้ายขวา หน้าหลังเท่ากับ 1 รอบ ดันแรง ดันนานๆ ทำวันละ 10-20 รอบ ตอนไหนก็ได้ ยังช่วยเรื่องกระดูกกดทับเส้นประสาท ปรับโครงสร้างกระดูก เส้นเอ็นให้เข้าที่ ทำให้กล้ามเนื้อคอแข็งแรง ไม่ต้องไปดึงคอที่โรงพยาบาลเสียเวลารถติด ข้อสำคัญไม่ต้องกินยาแก้ปวด ซึ่งเป็นการแก้ปลายเหตุ กระเพาะทะลุ ไตพัง และยาแก้ปวดยังทำให้เส้นเลือดหัวใจตันได้
สรุปตามข้อมูลหลักฐานความเป็นจริงทางการแพทย์ดังที่ปรากฏในวารสารข้างต้น ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด ตามAmerican heart association/ stroke

โรคอัมพฤกษ์คืออะไร

โรคอัมพฤกษ์ คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงบางส่วน ทำให้เซลล์สมองสูญเสียการทำงาน ส่งผลให้มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ชา พูดไม่ชัด หรือมีปัญหาด้านการมองเห็น อาการของโรคอัมพฤกษ์อาจรุนแรงแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดที่สมองขาดไป ระยะเวลาที่ขาดเลือด และตำแหน่งของสมองที่ขาดเลือด

สาเหตุของโรคอัมพฤกษ์เกิดจากหลอดเลือดสมองอุดตันหรือแตก ปัจจัยการเกิดที่พบบ่อย ได้แก่

  • โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือตัน
  • โรคหลอดเลือดสมองแตก
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคอ้วน
  • การสูบบุหรี่
  • การใช้ยาบางชนิด

อาการของโรคอัมพฤกษ์ โดยทั่วไปมักมีอาการดังต่อไปนี้

  • อ่อนแรงของกล้ามเนื้อ มักเป็นข้างเดียว
  • ชา มักเป็นข้างเดียว
  • พูดไม่ชัด
  • มีปัญหาด้านการมองเห็น
  • เวียนศีรษะ
  • หมดสติ

การรักษาโรคอัมพฤกษ์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและสาเหตุของโรค โดยทั่วไปมักรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด ในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องผ่าตัด

การป้องกันโรคอัมพฤกษ์สามารถทำได้โดยการควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น

  • ควบคุมโรคความดันโลหิตสูง
  • ควบคุมโรคเบาหวาน
  • ควบคุมระดับไขมันในเลือด
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • เลิกสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ข้อควรระวัง หากมีอาการของโรคอัมพฤกษ์ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพราะหากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โอกาสที่จะฟื้นตัวได้ดีขึ้นจะมีสูง

โรคอัมพฤกษ์รักษาให้หายได้ไหม

โรคอัมพฤกษ์นั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดกลับมาเป็นปกติได้ 100% แต่สามารถรักษาให้ฟื้นตัวได้ดีขึ้น โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและสาเหตุของโรค โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์จะมีอาการดีขึ้นในระยะเวลา 6 เดือนแรกหลังเกิดอาการ จากนั้นอาการจะค่อย ๆ คงที่ โดยผู้ป่วยอาจยังคงมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ชา พูดไม่ชัด หรือมีปัญหาด้านการมองเห็นอยู่บ้าง แต่จะสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น

การรักษาโรคอัมพฤกษ์ โดยทั่วไปมักรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัด ในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจจำเป็นต้องผ่าตัด ยาที่ใช้รักษาโรคอัมพฤกษ์ ได้แก่

  • ยาละลายลิ่มเลือด ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการอัมพฤกษ์เฉียบพลันจากหลอดเลือดสมองอุดตัน
  • ยาลดการแข็งตัวของเลือด ใช้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการอุดตันของหลอดเลือด
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ ใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
  • ยารักษาโรคร่วม เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง ยารักษาเบาหวาน ยารักษาไขมันในเลือดสูง

กายภาพบำบัดเป็นวิธีการรักษาที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ กายภาพบำบัดจะช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น กายภาพบำบัดสามารถทำได้ตั้งแต่ระยะแรกหลังเกิดอาการอัมพฤกษ์ และควรทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้ดีขึ้น

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button