ไลฟ์สไตล์

ตำนานประวัติ “วันลอยกระทง” พุทธ-พราหมณ์-จีน รวมความเชื่อเรื่องแม่น้ำ

ประเพณีลอยกระทงปี 2566 ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน คนไทยต่างยกให้เทศกาลนี้เป็นวันลอยทุกข์โศก ด้วยความเชื่อที่ว่ากระทงจะช่วยปัดเป่าสิ่งโชคร้ายได้ นอกจากจะเป็นวันทำบุญ เฉลิมฉลอง และลอยโคมประทีปแล้ว ความเชื่อของพราหมณ์ จีน และชาวพุทธในยุคสมัยก่อนได้เล่าถึงประวัติวันลอยกระทงไว้แตกต่างกัน อยากรู้ว่ามีตำนานอะไรบ้าง พาทุกคนไปสำรวจประวัติศาสตร์วันลอยกระทงพร้อมกันได้เลย

ตำนานลอยกระทงชาวพุทธบูชาพญานาค

ความเชื่อวันลอยกระทงตามพุทธชาดกกล่าวถึงวันที่พระพุทธตรัสรู้ ขณะประทับที่ใต้ต้นโพธิ์ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา มีลูกศิษย์ชื่อนางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาสด้วยถาดสีทอง เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสวยหมดจึงนำถาดไปลอยในแม่น้ำ โดยกล่าวว่าวันใดหากตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขอให้ถาดลอยทวนน้ำไปจนถึงสะดือทะเล

Advertisements

กระทั่งจมไปโดนหางพญานาคผู้รักษาแม่น้ำ จึงว่ายขึ้นมาขอประทับรอยพระบาทบนฝั่งแม่น้ำเนรัญชราให้ตนได้ขึ้นมาสักการะบูชา จากนั้นเหล่าเทวดาและมนุษย์ต่างพากันมาสักการะพระพุทธเจ้าและฟังเทศนาธรรมว่าการลอยกระทงหมายถึงเป็นการลอยสิ่งไม่ดีออกไปจากชีวิต

ความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคถูกพูดถึงอีกครั้งในยุคสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ขณะนั้นชาวพม่าต้องการสร้างเจดีย์จำนวน 84,000 องค์แต่ด้วยมีมารคอยขัดขวางทำให้พระองค์ต้องไปขอร้องต่อพระเจ้าอุปคุตหรือพระอรหันต์ศักดิสิทธิ์ให้ช่วย พญานาคจึงรับคำสั่งจากพระอรหันต์มาอีกทอด เพื่อขจัดพระมารจนสิ้นซาก จึงถือวันเพ็ญเดือน 12 เป็นฤกษ์ดีในการบูชาพญานาค

ตำนานวันลอยกระทงตามความเชื่อศาสนาพุทธ

ขอขมาพระแม่คงคาและเทพในศาสนาพราหมณ์

จากตำนานความเชื่อศาสนาพราหมณ์ เชื่อว่าวันลอยกระทงคือการบูชาพระแม่คงคา พระแม่คงคาถือเป็นเทพีแห่งสายน้ำ ชาวฮินดูเชื่อว่าพระแม่คงคาเป็นผู้ประทานพรและความสุขให้กับมนุษย์ ทำให้มีกินมีน้ำใช้ รวมถึงบูชาเทพเจ้า 3 พระองค์ ได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ด้วยการลอยประทีปต่อด้วยการลอยกระทง โดยชาวฮินดูจะลอยกระทงที่ประดิษฐ์จากใบตองหรือวัสดุธรรมชาติลงสู่แม่น้ำเพื่อเป็นการบูชาพระแม่คงคาและขอขมาพระแม่คงคาและเหล่าเทพยดา

รำลึกบรรพบุรุษผ่าน “กระทง” ของจีนและล้านนา

ประวัติวันลอยกระทงของคนจีน เชื่อว่าการลอยกระทงเป็นการลอยโคมลอยเพื่อส่งดวงวิญญาณของบรรพบุรุษกลับสู่สรวงสวรรค์ ในอดีตคนจีนทางตอนเหนือเคยประสบเหตุการณ์น้ำท่วม คร่าชีวิตผู้คนมากถึงแสนราย ญาติที่หาศพไม่เจอจึงใช่วิธีนำข้าวปลาอาหารใส่กระทงลอยน้ำเป็นของเซ่นไหว้ไปให้ เชื่อว่าดวงวิญญาณจะยังคงอยู่และสามารถรับรู้ถึงสิ่งที่คนเป็นกระทำ ดังนั้นจึงมีการลอยโคมลอย ในภาษาจีนเรียกกว่า “ปั่งจุ๊ยเต็ง” เพื่อส่งดวงวิญญาณและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ

Advertisements

ย้อนกลับไปช่วงล้านนา ครั้งนั้นอาณาจักรหริภุญชัยต้องเผชิญกับอหิวาตกโรค โรคร้ายที่พรากชีวิตของชาวบ้านไปจำนวนมาก ชาวเมืองต้องจากบ้านจากเมืองไปอาศัยอยู่ที่เมืองสะเทิมและหงสาวดี บรรดาญาติจึงใช้ธูปเทียนลอยไปตามลำธารเพื่ออุทิศส่วนบุญและระลึกถึงผู้ตาย เรียกว่าการล่องสะเปาแทนคำว่าลอยกระทงตามภาษาเหนือล้านนา

ตำนานวันลอยกระทงตามความเชื่อชาวจีน

อย่างไรก็ตามประวัติลอยกระทงอันยาวนานถูกส่งต่อและสืบทอดกันมาจนอาจผิดเพี้ยนจากเดิมไปไม่น้อย ไม่ว่าจะใช้การลอยกระทงเพื่อขอขมา ขอบคุณ หรือปัดเป่าสิ่งไม่ดี แต่หลักสำคัญในการลอยกระทงของทั้ง 3 ความเชื่อคือการให้แม่น้ำเป็นสะพานเชื่อมผู้คนและผู้ล่วงลับให้ระลึกถึงกันเสมอ

Peangaor

นักเขียนประจำ Thaiger จบการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มศว เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาชี้แจงแตกประเด็นในรูปแบบย่อยง่ายเหมือนเพื่อนเล่าให้ฟัง รวมถึงเรื่อง Pop culture ซีรีส์ อาหาร และเทรนด์แฟชั่นที่กำลังอินเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ preme@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button