ข่าว

ถกวุ่น ทำไมไม่ให้ “รถไฟฟ้าสายสีชมพูโค้งข้ามทางด่วน” ถามกลับแรง คนตั้งกระทู้ต้องการอะไร ?

ชาวพันทิปสับกันเดือด กระทู้ถาม ทำไมไม่ให้รถไฟฟ้าสายสีชมพูโค้งข้ามทางด่วน ท็อปเม้นต์สวนกลับแรงอยู่ต่างจังหวัดเหรอครับถึงไม่เคยเห็นหน้างานจริง

กำลังเปิดประเด็นวิพากษ์กันจำนวนไม่น้อย หลังจากสมาชิกเว็บไซต์พันทิปรายหนึ่งได้ตั้งกระทู้ถาามในหัวข้อ ” ยากเกินวิศวะ หรือ ? ทำไมไม่ให้รถไฟฟ้าสายสีชมพูมันโค้งข้ามทางด่วน แต่ให้ลอดใต้ทางด่วน ศรีรัช “ พร้อมกับมีการลงคลิปความยาว 02.23 นาที เพื่อเผยให้เห็นภาพเคลื่อนไหวของรถไฟที่แล่นรอดใต้ทางด่วน

ต่อมา กระทู้ดังกล่าวได้มีคนเข้ามาร่วมกันแสดงความคิดเห็นกว่า 50 ความเห็น โดยคำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้ซึ่งต่อมามีประเด็นดราม่าเบา ๆ หลังจากได้พิพม์อธิบาย ชาวเน็ตบางรายระบุสมาชิกพันทิปที่เข้ามาตอบแล้วเจ้าของกระทู้หยิบขั้นมาปักหมุด ดูจะใช้ถ้อยคำที่รุนแรงเินไปหรือไม่

สำหรับเนื้อหาทั้งหมดของความคิดเห็นที่ 7 ระบุ ดังนี้

จบวิศวกรนะ แต่ไม่ใช่โยธา เป็นเครื่องกล .. ตอบคำถามนี้ของคุณจริงๆ ไม่ได้หรอก ได้แต่ใช้ sense of engineering

คือ มันเป็นการตัดกันระหว่าง เส้นทางรถไฟฟ้า กับ ถนนให้รถยนต์วิ่ง ฉนั้น ต้องมีสายใดสายหนึ่ง ต้องมุด หรือข้าม อีกเส้นนึง

ทีนี้ ถ้าเอาถนนเป็นหลัก แล้วให้แนวเส้นทางรถไฟฟ้า มุดหรือข้าม ถนน .. แนวความชันขึ้นหรือชันลง มันจะโดนบีบให้มีได้น้อยมาก เพราะรถไฟมาต่อเนื่องยาวมาเป็นขบวน อย่างต่ำๆ ก็ 3 ตู้แล้วมั้ง เผลอๆ ในอนาคตต้องเป็น 4-5 ตู้ติดกัน ฉะนั้น แนวรางรถไฟฟ้า เค้าต้องสร้างเผื่อมาตั้งแต่แรก แล้วลองคิดดูว่า ถ้าต้องทำรางรถไฟฟ้าข้ามถนนพวกนั้น มันต้องค่อยๆ สูงขึ้น ไกลยาวกี่ร้อยเมตร ก่อนถึงจุดตัดกัน ?

ปล. แต่ผมว่านะ .. กรณีถนนวิภาวดีรังสิต ที่มีทางด่วน ” ดอนเมืองโทลเวย์ ” เป็นเส้นทางตรงยาวเหยียด ผมว่า เค้าทำเผื่อมาตั้งแต่แรกแล้วล่ะ เพราะว่ามันต้องผ่านจุดตัดถนนตั้งกี่แยก ?

  • สุทธิสาร >>> มีสะพานข้าม แยกด้านล่าง ฝั่งละ 3 เลน แต่ไหนแต่ไรมาอยู่แล้วนะ
  • ลาดพร้าว >>> มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสะพานที่ 5 แยกลาดพร้าวใหม่หมด ทั้งทางตรง ทั้งมุดไปพหลโยธิน+ลาดพร้าว แต่ทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์ ต้องข้ามหมดทุกอย่างที่อยู่ข้างล่าง
  • รัชวิภา >>> ก็มีสะพานข้ามมาจากฝั่งรัชดา-ลาดพร้าว ไปยังฝั่งรัชดา-วงศ์สว่าง
  • แยกเกษตร >>> ก็มีสะพานข้ามวิภาวดีด้านล่าง จากฝั่งม.เกษตร ไปยังฝั่ง งามวงศ์วาน-คลองประปา
  • ถนนแจ้งวัฒนะ (ผมจำรายละเอียดไม่ได้ แต่คล้ายๆ แยกเกษตรแหละ -> แต่ก็มากพอแล้วมั้ง)

ผมว่า คนสร้างถนนชั้นบนนี่ เค้าสร้างสูงยาวตรงมาตั้งแต่แรกแล้วครับ (คิดเผื่อมาแล้ว) เค้าไม่มาสร้างเตี้ยๆ แล้วให้มีแนวรถไฟฟ้ามาข้ามมันทุกจัดตัดกันหรอก

ปล. ถามจริงๆ นะ อยู่ต่างจังหวัดเหรอครับ ? ถึงไม่เคยเห็นหน้างานจริง ไม่เคยนั่งรถผ่านถนนวิภาวดีจริงๆ ถึงแค่มาดูแต่ภาพในเน็ต ?

รถไฟฟ้าสายสีชมพู ลอดใต้ทางด่วน

อย่างไรก็ตาม เสียงส่วนมาก จากสมาชิกที่เข้ามาช่วยกันตอบ ระบุ ตรงกันว่า เป็นเรื่องของความคุ้มค่าและประหยัดงบประมาณก่อสร้างได้มากกว่า ตัวอย่างความเห็นมี อาทิ “บ้านเราจะสร้างอะไรต้องดูประโยชน์ ควบคู่กับ ความคุ้มค่าทางงบประมาณ ถ้ารวยเงินถุงเงินถังแบบจีน คงจะทำอะไรยังไงก็ได้”

“เพราะค่าก่อสร้างให้รางรถไฟฟ้ายกข้ามทางด่วนมันจะแพงกว่าสร้างให้มุดลอดใต้ทางด่วนครับ ค่าเสาตอม่อ ค่าเหล็ก ค่าคอนกรีต ค่าทำโครงสร้าง สถานีตรงนั้นก็ต้องยกสูงด้วยค่าก่อสร้างก็เพิ่มอีก แล้วการจะยกระดับราง มันต้องยกมาตั้งแต่ระยะไกลเพื่อให้มันชันน้อยที่สุด ค่าก็สร้างก็ยิ่งแพง เนื้องานแบบนี้ถ้าทำลอดทางด่วนจะประหยัดรวมไปได้หลักร้อยล้านเลย”

รถไฟฟ้าสีชมพูลอดใต้สะพาน
ภาพ Youtube @KrungThepTongMakon

หลายเหตุผลเลยครับ

– สองข้างของทางด่วนมีสถานีอยู่ (ศรีรัช, เมืองทอง) ถ้ายกข้ามก็จะต้องให้สถานีนี้สูงขึ้นด้วย (อย่างสายสีเหลืองตรงศรีกรีฑา แต่ตรงนั้นลอดไม่ได้ ก็เลยต้องข้าม)

– ความกว้างของทางด่วน + ทางขึ้นทางด่วน กว่า 80 เมตร จะทำให้ช่วงคานยาวเกินไป (ตรงที่สายสีเหลืองข้ามมอเตอร์เวย์ยาว 60 เมตร) จะปักเสาตรงกลางแบบสายสีเหลืองข้ามด่วนฉลองรัชก็ไม่ได้ เพราะไม่ได้เว้นที่ไว้สำหรับเสารถไฟฟ้า (มีเว้นที่ไว้ก็จริง แต่เพื่อขยายทางด่วนจากฝั่งละ 2 เลนไปเป็น 3 เลน)

– โมโนเรลมันเลี้ยวรัศมีแคบได้ ก็ไม่จำเป็นต้องข้าม

– โมโนเรลล้อยางมันปีนทางชันได้ดีกว่ารถไฟล้อเหล็กก็จริง แต่ไม่ใช่เหตุผลที่จะทำให้รางมันสูงโดยไม่จำเป็น

คอมเมนต์รถไฟฟ้าสีชมพู

ตัวอย่าง 2-3 ความเห็นต่อมา ที่ได้ชี้แจงด้วยข้อมูล เหตุและผลตามหลักการก่อสร้าง.

รถไฟฟ้าสายสีชมพู
ภาพ Facebook @MRTPinkLine

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button