ข่าว

เด็กรุ่นใหม่งง หมอนไม้โบราณคืออะไร ด้านคนรุ่นเก่าแทบกรี๊ด เห็นแล้วคิดถึงมาก

ปริศนาแบ่งแยกเจน! เด็กเจนZ แห่สงสัย หมอนไม้โบราณคืออะไรกันแน่ มีไว้ใช้ทำอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า ท่ามกลางคนเจนเก่าแห่ดีใจ คิดถึงทวดที่บ้านเลย

กลายเป็นไวรัลไปทั่วโลกออนไลน์แล้ว หลังจากเพจ ที่นี่แปดริ้ว ออกมาโพสต์ภาพหมอนไม้โบราณ ของสำคัญในสมัยโบราณที่ทุกบ้านต้องมีติดไว้ พร้อมเขียนแคปชั่นชวนสงสัยว่า “สิ่งที่เด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จัก มีติดไว้ทุกบ้าน” ทำเอาคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่รีบมามุงคอมเมนต์กันทันที

Advertisements

งานนี้ทำเอาช่องคอมเมนต์แบ่งกันเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน ด้านคนรุ่นเก่าต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันว่าเห็นแล้วคิดถึงปู่ย่าที่บ้าน ตอนเด็ก ๆ เคยเอามาหนุนเล่นเป็นประจำ เป็นไอเท็มที่ต้องมีทุกบ้านจริง ๆ แต่ทางด้านของเด็กรุ่นใหม่ก็ไม่น้อยหน้า เข้ามาสงสัยกันเพียบว่าหมอนไม้โบราณคืออะไร ทำไมไม่เคยเห็น เกิดมาก็มีหมอนนุ่ม ๆ ให้นอนแล้ว อาทิ

“เห็นแล้วคิดถึงทวด”, “เคยเอาของปู่มานอนครับ”, “เกิดไม่ทันจริง ๆ หมอนรุ่นนี้”, “หมอนนอนหลับสบาย”, “รุ่นผมทันได้ใช้อยู่”, “ที่บ้านมีแต่ไม่รู้ว่าเขาเอาไว้ทำอะไร”, “คิดว่าเป็นเก้าอี้พับมาโดยตลอด”, “ไม่ทันครับ แต่ถ้าเดา คงเป็นที่ดักหนู”, “มันคืออะไรครับ ผมน่าจะเกิดไม่ทัน” เป็นต้น

หากเด็กรุ่นใหม่ยังไม่เข้าใจว่าหมอนไม้คืออะไร ง่าย ๆ เลยหมอนไม้โบราณเป็นหมอนที่ใช้ในการหนุนนอนของคนแก่ที่ไปถือศีลภาวนาในวันพระ เนื่องจากความเชื่อทางศาสนาที่บอกไว้ว่าการรักษาศีลที่วัดควรละกิเลสและความสะดวกสบายต่าง ๆ แม้แต่หมอนที่ใช้หนุนนอนก็ไม่ควรเป็นหมอนที่สบาย ไม่อย่างนั้นจะเข้าไม่ถึงรสพระธรรมอย่างแท้จริง

หมอนไม้ทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ชิงชัน จุดเด่นคือมีการเจาะเดือยขัดไม้กัน แผ่นไม้จะแยกออกได้เป็นสองแผ่น ยึดติดกันด้วยเดือยที่เจาะ เวลาใช้ให้ตั้งแผ่นไม้ขัดกันเป็นกากบาท เวลาเก็บก็พับให้เรียบเหมือนเป็นไม้แผ่นเดียวได้

อ้างอิงจาก : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร

Advertisements
หมอนไม้โบราณ คืออะไร
ภาพจาก Facebook Page : ที่นี่แปดริ้ว

Wilasinee

นักเขียนที่ Thaiger เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ จบการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงรู้ลึกรู้จริงทั้งเรื่องวิชาการและเทรนด์กระแสโซเชียลที่สำคัญ มีประสบการณ์เขียนบทความออนไลน์กว่า 2 ปี งานอดิเรกชอบติดตามข่าวเศรษฐกิจ การลงทุน ติดต่อได้ที่ wilasinee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button