“ห้ามคนไทยพกปืน” หลังเหตุครูถูกลูกหลงเสียชีวิต ดีเดย์กฎหมายใหม่ ก.ย.67
เริ่มบังคับใช้จริงปีหน้า กันยายน 2567 กระทรวงมหาดไทยเอาจริง หลังเกิดความสูญเสียกรณีพกปืนกันเกลื่อน เตรียมออกกฎเฮี้ยบ ห้ามพกปืน ฝ่าฝืนเจอโทษหนัก ถอดบทเรียนครูโดนลูกหลงจนเกิดเหตุสลดไม่นานนี้
เกิดความชัดเจนขึ้นมากทีเดียว กับการออกฏหมายควบคุมการใช้อาวธปืนในประเทศไทย โดยหลังจากกรณีสลดที่เป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลกที่เด็กอายุ 14 ปี ก่อเหตุใช้อาวุธปืนแบลงค์กัน กราดยิงใส่ประชาชนที่ไมรู้อิโหน่อิเหน่จนเสียชีวิต ก่อนจะตามมาด้วยข่าวสุดสลดของครูเจี๊ยบ ครูสอนคอมพิวเอตร์โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ ที่ต้องมาจบชีวิตลงหน้าตู้กดเงิน ธนาคารทหารไทยธนชาต สาขาคลองเตย กรุงเทพฯ
ล่าสุด อนุทิน ชาญวีรกุล ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็ได้ออกมาเปิดเผยถึงแนวทางการวบคุมอาวุธปืนในประเทศ ซึ่งกระทรวงมหาดไทย จะทำหน้าที่ออกกฏเกณฑ์มาบังคับใช้ใหม่เพื่อป้องกันความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต โดยจุดประสงค์การเตรียมออกมาตราการควบคุมนั้น จุดประสงค์หลัก คือต้องการลดการใช้อาวุธร้ายแรงในการทำร้ายกันระหว่างประชาชน
โดยงานนี้จะมี อธิบดีกรมการปกครอง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คอยทำหน้าที่กวดขันผู้ที่พกพาอาวุธปืนไปตามสถานีที่ต่าง ๆ รวมถึงในช่วงนี้ที่จะไม่สามารถต่อใบอนุญาตอาวุธปืนให้กับใครได้เป็นอันขาด พร้อมย้ำว่า ภายในเดือนกันยายน 67 คนไทยจะพกปืนไม่ได้ ผิดกฏหมาย ต้องเก็บอย่างมิดชิด ไม่สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมใด ๆ ได้ หากพกแสดงว่าจงใจที่จะทำผิดกฏหมายจะมีโทษรุนแรง
เปิดข้อกฎหมายพกพาอาวุธปืนปัจจุบัน 2566
อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์หอสมุดรัฐสภา สำหรับหลักเกณฑ์การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนตามพระราชบัญญัติ“พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490” โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2490 มาจนถึงปัจจุบันและได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมมาแล้ว 9 ครั้ง โดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตามพระราชบัญญัติ
โดยมีรายละเอียดโดยสรุป คือ
- บุคคลที่ประสงค์จะมีและใช้อาวุธปืนนั้น จะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามที่กฎหมายกำหนด
- การออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนนั้นให้ออกได้ 3 กรณี คือ สำหรับใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน สำหรับใช้ในการกีฬา และสำหรับใช้ในการยิงสัตว์
- ใบอนุญาตหนึ่งใบใช้สำหรับอาวุธปืนหนึ่งกระบอกเท่านั้น
- อาวุธปืนที่ได้ออกใบอนุญาตจะต้องให้นายทะเบียนทำเครื่องหมายประจำอาวุธปืนนั้นด้วย
- บุคคลที่จะออกใบอนุญาตให้ได้ ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติครบตามที่กฎหมายกำหนด
- เจ้าพนักงานที่มีอำนาจออกใบอนุญาตให้แก่บุคคลที่ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน คือ อธิบดีกรมการปกครอง สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครและทั่วราชอาณาจักร และผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับออกใบอนุญาตเฉพาะรายในเขตจังหวัดของตนเท่านั้น
- ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน มีกำหนดอายุตลอดเวลาที่ผู้รับใบอนุญาตเป็นเจ้าของอาวุธปืนนั้น
- การที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้นั้นจะต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงที่กำหนดประเภท ชนิด และขนาดของอาวุธปืน
- หลังจากได้รับใบอนุญาตแล้ว บุคคลที่นายทะเบียนท้องที่อนุญาตยังต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้วย
- กรณีที่มีการตรวจพบภายหลังว่า ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับใบอนุญาตให้นายทะเบียนเพิกถอนใบอนุญาต โดยผู้ได้รับอนุญาตต้องส่งมอบอาวุธปืนและใบอนุญาต เพื่อนายทะเบียนดำเนินการโอนหรือขายทอดตลาด ทั้งนี้ หากบุคคลใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้าซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนโดยมิได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 1–10 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000–20,000 บาท
- ประกาศ 7 มาตรการระยะสั้น ควบคุมมาตรการพกปืน
- ผู้จัดการสนามปืนยัน กฎระเบียบห้ามเยาวชนใช้บริการเพียงลำพัง
- ยิงกันในโรงพยาบาลญี่ปุ่น หมอและคนไข้ถูกยิงเจ็บ 2 ราย