‘ปวิน’ แสดงความเห็นดราม่ายกเลิกแปรอักษร ชี้ศิษย์เก่ากลัวเสียอัตลักษณ์โรงเรียน
ปวิน ศิษย์เก่าคริสเตียนฯ แสดงความ ดราม่ายกเลิกแปรอักษร ฟุตบอลจตุรมิตร ชี้ศิษย์เก่ากลัวเสียอัตลักษณ์โรงเรียนอีลีทที่ตัวเองใช้หากิน
จากกรณีที่มีนักเรียนทั้งศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าในเครือจตุรมิตร ที่ได้ออกมาติดแฮชแท็ค #เลิกบังคับแปรอักษร เพื่อเรียกร้องให้มีการยกเลิกการแปรอักษรในงานฟุตบอลจตุรมิตรสามัคคีครั้งที่ 30 จนกลายเป็นการถกเถียงของทั้งสองฝ่าย ทั้งด้านที่สนับสนุนให้มีการยกเลิกและด้านที่ไม่อยากให้มีการยกเลิกนั้น
ล่าสุดนาย ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการประจำสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต และศิษย์เก่าโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กแสดงความเห็นถึงเรื่องนี้ว่า “สังคมมันกำลังขยับไปข้างหน้าจริงๆ กรณีที่เด็กจตุรมิตรไม่อยากขึ้นสแตนด์แปรอักษร เพราะเป็นวัฒนธรรมทาส ทำให้รุ่นพี่ร้องกรี๊ด ประกาศถีบรุ่นน้องออกจากโรงเรียนขนาดนั้น ประเด็นมันไม่ใช่แค่เรื่อง “ความขบถ” ของเด็กรุ่นใหม่ที่ไม่ทนต่อวัฒนธรรมเผด็จการแบบเก่า รวมถึงคำอธิบายของรุ่นพี่ที่โคตรล้าสมัย อาทิ นี่คือการทำเพื่อส่วนรวม นี่คือการสร้างวินัย ถ้าไม่อยากทำก็ลาออกไป 55555 เด็กมันไม่ฟังคำอธิบายแบบนี้แล้ว เพราะคำอธิบายเหล่านี้ก็มีความเผด็จการไม่น้อยไปกว่าการถูกบังคับให้แปรอักษร
…ที่บอกว่ามันมีอะไรมากกว่า “ความขบถ” ของเด็กก็คือ โรงเรียนจตุรมิตรทั้ง 4 (กรุงเทพคริสเตียน อัสสัมชัญ สวนกุหลาบ เทพศิรินทร์) มันคือ “โรงเรียนอีลีทของไทย” โรงเรียนเหล่านี้ มันช่วยสร้างไอเด็นติตี้ หรืออัตลักษณ์ให้กับนักเรียนในสังคมที่ไขว่คว้าอัตลักษณ์ให้ตัวเองตลอดเวลา อัตลักษณ์อีลีทนี้มีความสำคัญในสังคมที่ให้คุณค่าเรื่องเน็ตเวิร์ค เรื่องการสร้างคอนเน็คชั่น ถ้าใครมีอัตลักษณ์นี้ อยู่ในเน็ตเวิร์คนี้ คุณจะกลายเป็นคนที่มีตัวตน ตอนเป็นนักเรียนอยู่ เราอาจไม่รู้สึกมากนักถึงอัตลักษณ์เหล่านี้ จนเมื่อจบมาและกลายเป็นศิษย์เก่า จึงเพิ่งเข้าใจถ่องแท้ว่า ไอ้การจบจากโรงเรียนอีลีทเหล่านี้มันเป็นใบเบิกทางของชีวิต อาจจะมากบ้างน้อยบ้าง แต่เราปฏิเสธไม่ได้ว่า มันให้อภิสิทธิ์แก่คนที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันเหล่านี้จริงๆ (จะมีการสัมมนาในวันนี่ที่ SOAS เรื่องเครือข่ายเด็กสวนกุหลาบโดย Daniel Whitehouse)
….ฉะนั้น อีรุ่นพี่ ศิษย์เก่าที่จะเป็นจะตายเพราะเด็กไม่ขึ้นสแดนด์ ลึกๆ แล้วไม่ใช่เรื่องเด็กไม่ทำตามหน้าที่อะไรหรอก ลึกๆ กลัวว่า ไอ้อัตลักษณ์ของโรงเรียนอีลีทของตัวเองที่ใช้หากินมาเป็นปีๆ จะหมดไป เพราะเด็กรุ่นใหม่มันไม่ให้คุณค่าก็เท่านั้น”
สรุปดราม่า #เลิกบังคับแปรอักษร งานบอลจตุรมิตรครั้งที่ 30 ทำไมคนรุ่นใหม่ขอไม่ทน