หมอเตือน “กินหมูกระทะ ปิ้งย่าง” ไม่ควรเกินเดือนละ 1 ครั้ง เสี่ยงมะเร็งลำไส้
สายปิ้งย่าง คอหมูกระทะเลิฟเวอร์ สะดุ้งแรง หลังแพทย์เตือนควรรับประทานให้น้อย ไม่ควรเกินเดือนละครั้ง เหตุกินมากเกินเสี่ยงมะเร็งลำไส้ มีถุงอุจจาระที่หน้าท้อง
เป็นอีกหนึ่งคำเตือนจากแพทย์ผู้ตวจรักษาโรคให้คนป่วยโดยตรง ที่ต้องการส่งสารผ่านโซเชียลให้เป็นหระบอกเสียงไปยังบรรดามิตรรักสายปิ้งย่าง ไล่ตั้งแต่ หมูกระทะไปยันบาบีคิวเกาหลีทั้งหลายแหล่ โดยเมื่อวันที่ 10 พ.ย.2566 ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเพจ สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์
เนื้อหาเป็นการแจ้งเตือนไปยังผู้ที่ชื่นชอบหมูกระทะและอาหารปิ้งย่าง ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมาก ให้ระมัดระวังในการกิน เนื่องจากอาจเกิดโรคร้ายตามมา โดยเฉพาะกับ “โรคมะเร็งลำไส้ เพราะจากข้อมูลคุณหมอได้แนะนำว่า อาหารในกลุ่มด่าวนั้นไม่ควรจะรับประทานเกินเดือนละ 1 ครั้ง
ข้อแนะนำหลัก ๆ มีอยู่ด้วยกัน 2 ข้อ ดังนี้
- กินให้น้อย ไม่เกินเดือนละครั้ง
- ทานผักปลอดสารร่วมด้วยเสมอ
มถึงบรรทัดนี้ ถ้ายีนส์ของใครทีกล้าแกร่งพอก็อาจจะโชคดีไม่มีโรคภัยถามหา แต่ความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ละเลยหรือใช้ไลฟ์ไสตล์ทาทายมัจจุราช ก็อาจจะเสี่ยงถึงขั้นเป็นมะเร็งลำไส้ ซึ่งขั้นตอนการรักษาสำหรับเคสที่ทรุดหนักมีกระทั่งต้องผ่าตัดใส้ “ช่องทวารเทียม” ซึ่งจะต้องมีการใส่ถุงใส่อุจจาระหน้าท้อง (Ostomy bag) หรือถุงทวารเทียม อาจเป็นแบบถาวรหรือแบบชั่วคราวไว้ด้วย
ภาพตัวอย่างการผ่าตัด “ถุงใส่อุจจาระหน้าท้อง”
ภาพด้านบนเป็นตัวอย่างที่ทาง หมอสุรัตน์ ได้นำมาลงเผยแพร่ไว้ใต้ช่องคอมเมนต์โพสต์ล่าสุดของตัวเอง ที่ออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของโรคทะเร็งลำไส้ของผู้ป่วยบางรายที่ต้องผ่าตัดลำไส้ใน่สวนที่เป็นเนื้อร้ายออก พร้อมกับผ่าตัดใส่ช่องทวารเทียม
โดยหลังจากเผยแพร่ข้อมฝูลไม่นาน ก็มีชาวเน็ตจำนวนมากเข้ามาแสดงความคิดเห็น บ้างเป็นประสบการณ์จากคนใกล้ชิด ขณะที่บางส่วนก็ให้ข้อมูลที่ตัวเองป่วยเป็นโรคและต้องทำการักษา ซึ่งจากข้อมูลในส่วนน้ยืนยันตรงกันว่า หากเกิดโรคขึ้นมาจริง ๆ การใช้ชวิตประจำวันจะลำบากและไม่สะดวกอย่างมาก่อชีวิตความเป็นอยู่
ทั้งนี้ อ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบันมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในประเทศไทยพบมากเป็นอันดับสามในเพศชาย และอันดับสองในเพศหญิง (จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ) สิ่งที่น่ากังวล คือ “อัตราการเกิดโรค” มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทุก ๆ วันมีคนไข้เสียชีวิตจากโรคร้ายนี้เฉลี่ยวันละ 15 คน (ปีละ 5,476 คน) และมีผู้ป่วยรายใหม่วันละ 44 คน (ปีละ 15,939 คน).