ข่าว

รณรงค์ยกเลิกลอยกระทง ชี้ต้นเหตุขยะล้นแม่น้ำ ทำร้ายพระแม่คงคา

สื่อโซเชียลประกาศรณรงค์ ยกเลิกประเพณีลอยกระทง ชี้ต้นเหตุสร้างขยะมลพิษทำลายแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อม นี่ไม่ใช่การขอขมาพระแม่คงคาที่ถูกต้อง เผยสถิติปีที่แล้ว สร้างขยะจากกระทงมากถึง 5.7 แสนใบ

ล่าสุดเฟสบุ๊คเพจ ขยะมรสุม ᴍᴏɴsᴏᴏɴɢᴀʀʙᴀɢᴇ ᴛʜᴀɪʟᴀɴᴅ โพสต์เชิญชวนชาวไทยให้ร่วมมือผลักดันยกเลิกกิจกรรม ประเพณีวันลอยกระทง ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เนื่องจากเป็นการสร้างขยะมลพิษในแหล่งน้ำต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น แม่น้ำ ทะเล ลำธาร หวย หนอง คลองบึง และแหล่งน้ำตามธรรมชาติอื่น ๆ

ทั้งยังเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมส่งผลต่อระบบนิเวศอีกด้วย เพราะนี่ไม่ใช่การขอขมาต่อพระแม่คงคาที่ถูกต้อง พร้อมสนับสนุนการลอยกระทงด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่สามารถย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ

รายงานสถิติขยะจากกระทงใน กทม. ย้อนหลัง 5 ปี

เปิดข้อมูลสถิติย้อนหลัง 5 ปี ขยะจากกระทง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565-2561 สำหรับยอดจัดเก็บกระทงในกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2565 พบขยะกระทงรวม 572,602 ใบ เพิ่มขึ้นจากป 2567 มากถึง 42 เปอรเซ็นต์ สัดส่วนของกระทงโฟมเพิ่มขึ้นจาก 3.5 เปอร์เซ็นต์ เป็น 4.3 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ตามรายงานสถิติโดยสำนักสิ่งแวดล้อม สำนักการระบายน้ำ และสำนักงานเขต ได้จัดเก็บกระทงที่ประชาชนนำมาลอยเนื่องในเทศกาลลอยกระทง ประจำปี 2564 พบว่ามีขยะกระทงจำนวนรวมทั้งหมด 403,235 ใบ

ในปี 2563 รวมจัดเก็บกระทงได้จำนวนทั้งสิ้น 492,537 ใบ กระทงส่วนใหญ่ จำนวน 474,806 ใบ ทำจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายง่าย คิดเป็น 96.4 เปอร์เซ็นต์ และกระทงที่ทำจากโฟม จำนวน 17,731 ใบ คิดเป็น 3.6 เปอร์เซ็นต์

ยกเลิกลอยกระทง 2566 สร้างขยะ

ส่วนปี 2562 ยอดจัดเก็บกระทงได้ จำนวน 502,024 ใบ โดยเป็นกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุที่ย่อยสลายง่าย 96.3 เปอร์เซ็นต์ กระทงโฟม 3.7 เปอร์เซ็นต์

ย้อนกลับไปในปี 2561 ยอดการจัดเก็บกระทงอยู่ที่ 841,327 ใบ เป็นกระทงวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ 94.7 เปอร์เซ็นต์ ใบ กระทงโฟม 5.3 เปอร์เซ็นต์

เรียกว่าแนวโน้มขอขยะจากกระทงในเทศกาลวันลอยกระทงมีแน้วโน้มที่จะเพิ่มปริมาณมากกว่าลดในแต่ละปี จึงเป็นอีกเหตุผลที่ทำให้สังคมเริ่มตระหนักถึงมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมและรณรงค์หันมาใช้วัสดุกระทงที่ทำจากธรรมชาติมากขึ้น

ยกเลิกลอยกระทง 2566

กระทงวัสดุธรรมชาติ ทางเลือกใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้และความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทางเลือกใหม่แต่ยั่งยืนในการร่วมประเพณีวันลอยกระทงอย่างเป็นมิตรนอกจากจะไม่ทิ้งขยะเรี่ยราดแล้วก็คือ การเลือกใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติสามารถย่อยสลายง่าย

ประโยชน์ของกระทงจากวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติไม่ตกค้างจนเป็นขยะสารพิษ และเป็นการลดการใช้วัสดุสังเคราะห์อื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการลดภาวะเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อน โดยแบ่งกระทงตามวัสดุจากธรรมชาติได้ดังนี้

1. กระทงใบตอง

2. กระทงขนมปัง

3. กระทงดอกบัว

4. กระทงน้ำแข็ง

5. กระทงกระดาษ

ดังนั้น เนื่องในเทศกาลวันลอยกระทง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีนี้ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ทีมงาน The Thaiger จึงขอเชิญชวนผู้อ่านทุกท่าน ร่วมแรงร่วมใจกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยการไม่ทิ้งขยะไม่เป็นที่ และเลือกใช้วัสดุธรรมชาติทำกระทง เพื่อให้การขอขมาต่อพระแม่คงคาเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นครับ.

อ้างอิง : 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button