การเงินเศรษฐกิจ

เงินเดือนพนักงาน อบต. ปรับอัตราใหม่ 2566 แต่ละตำแหน่งได้กี่บาท

องค์กรบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชนหรือคนในชุมชนมากที่สุด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่ระดับตำบลในทุก ๆ เรื่อง รวมถึงการดูและพัฒนาชุมชนในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ก็เป็นอีกหนึ่งหน้าที่ที่เจ้าหน้าที่หรือพนักงาน อบต. ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้

อย่างไรก็ดี เงินเดือนพนักงาน อบต. ได้มีการปรับเปลี่ยนใหม่ตั้งวันที่ 19 เมษายน 2566 โดยทางเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยเงินค่าตอบแทนพนักงานและเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น 7 ตำแหน่ง ดังนี้

1. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

สำหรับตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะได้ทั้งค่าตอบแทนรายเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินค่าตอบแทนพิเศษ โดยอัตราเงินรวมทั้งหมดขึ้นอยู่กับรายได้ที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับ ดังนี้

รายได้องค์การบริหารส่วนตำบลเกิน 300 ล้านบาท

  • เงินค่าตอบแทนรายเดือน 55,530 บาท
  • เงินประจำตำแหน่งต่อเดือน 10,000 บาท
  • เงินค่าตอบแทนพิเศษต่อเดือน 10,000 บาท
  • เงินเดือนรวม 75,530 บาท

รายได้องค์การบริหารส่วนตำบลไม่เกิน 10 ล้านบาท

  • เงินค่าตอบแทนรายเดือน 19,800 บาท
  • เงินประจำตำแหน่งต่อเดือน 3,000 บาท
  • เงินค่าตอบแทนพิเศษต่อเดือน 3,000 บาท
  • เงินเดือนรวม 25,800 บาท

2. รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

ตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะได้เงินค่าตอบแทนในแต่ละเดือนเหมือนกับตำแหน่งนายกฯ กล่าวคือจะได้เงินรายเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินค่าตอบตอบแทนพิเศษ โดยขึ้นอยู่กับอัตราเงินที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับเช่นกัน

รายได้องค์การบริหารส่วนตำบลเกิน 300 ล้านบาท

  • เงินค่าตอบแทนรายเดือน 30,540 บาท
  • เงินประจำตำแหน่งต่อเดือน 7,500 บาท
  • เงินค่าตอบแทนพิเศษต่อเดือน 7,500 บาท
  • เงินเดือนรวม 45,540 บาท

รายได้องค์การบริหารส่วนตำบลไม่เกิน 10 ล้านบาท

  • เงินค่าตอบแทนรายเดือน 10,880 บาท
  • เงินประจำตำแหน่งต่อเดือน 2,300 บาท
  • เงินค่าตอบแทนพิเศษต่อเดือน 2,300 บาท
  • เงินเดือนรวม 15,480 บาท

เงินเดือนพนักงาน อบต

3. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

ตั้งแต่ตำแหน่งระดับประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นต้นไป จะได้รับเพียงค่าตอบแทนรายเดือน โดยอ้างอิงจากรายได้ที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับ ดังนี้

รายได้องค์การบริหารส่วนตำบลเกิน 300 ล้านบาท

  • เงินค่าตอบแทนรายเดือน 30,540 บาท

รายได้องค์การบริหารส่วนตำบลไม่เกิน 10 ล้านบาท

  • เงินค่าตอบแทนรายเดือน 10,880 บาท

4. รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

ตำแหน่งรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลก็เช่นกัน จะได้รับเพียงเงินค่าตอบแทนรายเดือนตั้งแต่ 8,900-24,990 ขึ้นอยู่กับเงินที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้รับมา

รายได้องค์การบริหารส่วนตำบลเกิน 300 ล้านบาท

  • เงินค่าตอบแทนรายเดือน 24,990 บาท

รายได้องค์การบริหารส่วนตำบลไม่เกิน 10 ล้านบาท

  • เงินค่าตอบแทนรายเดือน 8,900 บาท
เงินเดือนพนักงาน อบต.
ภาพจาก : องค์การบริหารส่วนตำบลบางเสาธง

5. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

สำหรับตำแหน่งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จะได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือนตามอัตรารายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับมา เริ่มตั้งแต่ 7,080-19,440 บาท

รายได้องค์การบริหารส่วนตำบลเกิน 300 ล้านบาท

  • เงินค่าตอบแทนรายเดือน 19,440 บาท

รายได้องค์การบริหารส่วนตำบลไม่เกิน 10 ล้านบาท

  • เงินค่าตอบแทนรายเดือน 7,080 บาท

6. เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นตำแหน่งที่ได้รับเงินค่าตอบแทนรายเดือนในอัตราเดียวกับสมาชิกสภาฯ คือตั้งแต่ 7,080-19,440 บาท

รายได้องค์การบริหารส่วนตำบลเกิน 300 ล้านบาท

  • เงินค่าตอบแทนรายเดือน 19,440 บาท

รายได้องค์การบริหารส่วนตำบลไม่เกิน 10 ล้านบาท

  • เงินค่าตอบแทนรายเดือน 7,080 บาท

7. เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

ตำแหน่งสุดท้ายคือตำแหน่งเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งจะได้รับเงินเดือนตอบแทนเทียบเท่ากับตำแหน่งสมาชิกสภาฯ และเลขานุการนายกฯ เริ่มตั้งแต่ 7,080-19,440 บาท

รายได้องค์การบริหารส่วนตำบลเกิน 300 ล้านบาท

  • เงินค่าตอบแทนรายเดือน 19,440 บาท

รายได้องค์การบริหารส่วนตำบลไม่เกิน 10 ล้านบาท

  • เงินค่าตอบแทนรายเดือน 7,080 บาท

เงินเดือนพนักงาน อบต

คุณสมบัติพนักงาน อบต.

การจะเข้ามาทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จะต้องมาจากการสมัครลงเลือกตั้งตำแหน่งนายกฯ และตำแหน่งสมาชิกสภาฯ โดยสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดคุณสมบัติไว้ ดังนี้

คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง

1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด

2. ผู้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง สำหรับผู้มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบลต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี นับถึงวันเลือกตั้ง

3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตองค์กรบริหารส่วนตำบลที่สมัครรับเลือกตั้งในวันสมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง

4. สำหรับผู้ที่จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา

5. ห้ามมีลักษณะต้องห้ามตามที่ กกต. กำหนด 26 ข้อ

เงินเดือน อบต
ภาพจาก : องค์การบริหารส่วนตำบลบางเสาธง

ทั้งนี้ การรับสมัครเลือกตั้งโดยรู้ว่าตนเองขาดคุณสมบัติ หรือมีคุณสมบัติต้องห้ามในการรับสมัคร มีโทษมาตรา 120 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดลงสมัครรับเลือกตั้งโดยรู้อยู่แล้วว่าตนเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกตั้ง ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี ปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้งของผู้นั้น 20 ปี

Mothana

นักเขียนข่าวที่ Thaiger การศึกษาทางด้านภาษา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงรับหน้าที่เขียนบทความไลฟ์สไตล์บันเทิง เศรษฐกิจ อยากเป็นสื่อกลางคอยขุดคุ้ยประเด็นตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงใหญ่โตมาเขียนให้ทุกคนได้อ่าน เพราะมีความเชื่อว่าสื่อที่ดีย่อมเป็นหนทางนำผู้อ่านไปสู่งานเขียนที่ดีได้ ติดต่อได้ทาง tangmo@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button