‘อิศเรศ’ แนะรัฐบาล 3 ข้อ เดินหน้าแจกเงินดิจิทัล 10,000 แตะเบครกูรูไม่สร้างความหวาดกลัวเกินจริง
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เสนอ 3 ข้อแนะรัฐบาลเดินหน้าโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาททบทวนกลุ่มเป้าหมายแบบ พุ่งเป้า พร้อมแตะเบรกกูรูนักวิขาการต้องไม่สร้างความหวาดกลัวจนเกินจริง
วันที่ 9 ต.ค.2566 อิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ออกมาเคลื่อนไหวแสดงความเห็นเกี่ยวกับโครงการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ของคณะรัฐมนตรีนายเศรษฐา ทวีสิน ที่ตอนนี้กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วง โดยเฉพาะกับนักวิชาการและกลุ่มที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเงินการคลังต่าง ๆ ถึงความเหมาะสม ตลอดจนการแก้ปัญหากระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการแจกเงินไฮเทคนี้จะตอบโทย์การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจภ่ายในประเทศไทยได้จริงหรือไม่
ซึ่งเรื่องนี้ นายอิศเรศ ในฐานะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมไทย ก็ได้เขียนร่ายยาวในแง่มุมหลากหลายประเด็นไว้ผ่านสื่อบัญชีโซเชียลของตัวเอง (Facebook @isares.rattanadilok) ดังนี้
ทางออกของการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการเพิ่มการบริโภค จากนโยบาย Digital Wallet 10,000 บาท ผมขออนุญาตแสดงความเห็นต่อเรื่องนี้ ดังนี้ครับ
1) ถือเป็นนโยบาย ที่ดีของรัฐบาล ที่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการบริโภคของประชาชน ที่กำลังลำบากอย่างยิ่งจากวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ขั้นต่ำ ,ปานกลาง,แรงงาน ,กลุ่มเปราะบาง ประเภทต่างๆ และ คนตกงาน
2) การเลือกใช้เงิน Digital คือการควบคุมประเภทของการใช้เงิน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรัฐบาล ( สินค้า หรือ บริการ ที่จำเป็นในการครองชีพ)และ ให้เงินหมุนเวียนกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่ในระบบ Block chain ตลอดเวลา 6 เดือน ของโครงการ
ที่สำคัญคือ ทำอย่างไร ให้เงินหมุนเวียน และ กระจายสู่ท้องถิ่นและ SMEs มากที่สุด และ ไม่กระจุกตัวในสินค้า และ ช่องทางการตลาดที่ผูกขาดของทุนใหญ่ มากเกินไป
3) เศรษฐกิจในประเทศของเราในวันนี้ ต้องยอมรับว่า ฝืดเคืองอย่างยิ่ง เราต้องการการกระตุ้นการบริโภคเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ
- 3.1 ฝั่ง Demand ; ดูจาก % หนี้ครัวเรือน ต่อ GDP ที่สูงถึง 91% (ยังไม่รวมหนี้นอกระบบ )ใครมองปัญหาไม่ออก อยากให้ท่านลองคุยกับ ลูกน้องในองค์กรของท่านดูก็ได้ครับ
- 3.2 ฝั่ง Supply ; ทั้งจากปัจจัยภายนอกประเทศ จากการส่งออกที่ชะลอตัว ,สินค้าราคาถูกนำเข้า ไร้มาตรฐานแทรกแซงตลาดในประเทศ ,ความผันผวนของราคาพลังงานโลก และ ล่าสุดการเร่งรีบขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย โดยอ้างเหตุผลสกัดเงินเฟ้อในอนาคต ?
4) วินัยการคลัง ,ผลกระทบเรื่องภาวะเงินเฟ้อ , ความคุ้มค่าของโครงการนี้ คือสิ่งที่เรา และ กูรู ทั้งปวง ควรต้องช่วยกันเสนอแนะทางออกที่ดี อย่างสร้างสรรค์เพื่อเป็นการเดินหน้าเศรษฐกิจประเทศไทย ไม่ใช่ อยู่ภายใต้การสร้างความหวาดกลัวจนเกินจริงไหมครับ ?
ที่ผ่านมา และ จากนี้ไปประชาชนส่วนใหญ่ ก็อยากให้กูรูทั้งหลายจะได้กรุณาให้ความเห็นต่อการใช้เงินของภาครัฐ ที่อาจมีความสุ่มเสี่ยง และ ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ อย่างเหมาะสมนะครับ
ท้ายนี้ ในความเห็นส่วนตัว ผมขออนุญาตเสนอแนะรัฐบาล เพื่อเดินหน้าโครง Digital wallet ดังนี้ ครับ
- ทบทวนกลุ่มเป้าหมาย แบบ “พุ่งเป้า “ควรเน้นเฉพาะคนที่ลำบาก เดือดร้อน และ เห็นความสำคัญของ การใช้เงิน 10,000 บาทนี้จริงๆทั้งนี้ เราจะได้มีงบประมาณไปใช้ในโครงการเร่งด่วน อื่นๆ เช่น ปัญหาภัยแล้ง ตามที่ภาครัฐ ก็ให้ความสำคัญ ลงพื้นที่ รับทราบปัญหาตลอดมา
- บริหารโครงการให้มีความโปร่งใสและรัดกุมที่สุดใช้เงินอย่างคุ้มค่า ในทุกบาททุกสตางค์ด้วยจำนวนเม็ดเงินจำนวนมากหลายแสนล้านบาท
- ติดตามผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่อง และ สื่อสาร นำเสนอให้สังคมรับทราบเพื่อเป็นการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการลดการโต้ตอบแบบนักการเมืองใดๆ
ผมปรารถนาที่จะให้ประเทศไทยได้ร่วมกันฝ่าฟันปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ครั้งนี้ให้ผ่านไปได้ด้วยดี ด้วยการใช้พลังบวก ลดการโต้ตอบทางการเมืองซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมประเทศไปมากกว่านี้นะครับ ขอบคุณมากครับ อิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต 9 ตุลาคม 2566.