อีเว้นท์ไลฟ์สไตล์

วันโกน กับความเชื่อเรื่องผี ทำไมคนมักโดนผีหลอกก่อนวันพระ

หลังๆ มานี้ถ้าใครได้เป็นแฟนคลับรายการเล่าเรื่องผีอันดับ 1 อย่าง The ghost radio คงจะได้ยินคำว่า “วันโกน” ผ่านหูมาบ้าง จากประสบการณ์คนเล่าหลายคนบอกว่า ตนเองเจอเหตุการณ์ลี้ลับสุดสยองขวัญตรงกับวันโกน แต่ไม่ได้ขยายความต่อว่าวันโกนคืออะไร เกี่ยวข้องกับเรื่องโลกหลังความตายอย่างไร

วันนี้ Thaiger ขอพามาอธิบายให้เข้าใจกระจ่ายแจ้ง เกี่ยวกับวันโกนกับความเชื่อเรื่องผีกัน

Advertisements

ว้นโกนคืออะไร เกี่ยวอะไรกับความเชื่อเรื่องผี

วันโกน คือ วันขึ้น 7 ค่ำ กับ 14 ค่ำ และแรม 7 ค่ำ กับแรม 14 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ แรม 13 ค่ำ หากตรง กับเดือนขาด) สรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือเป็นวันก่อนวันพระ 1 วัน นั่นเอง

ในความเชื่อไทยพุทธโบราณ เชื่อกันว่าวันโกนเป็นวันปล่อยผีหรือดวงวิญญาณเร่รอนที่หิวโหย ขึ้นมารับส่วนบุญกุศลจากผู้ที่ถือศีลไหว้พระในวันพระ

โบราณเล่าว่า วันก่อนวันพระเป็นวันที่ประตูนรกเปิด เพราะท้าวพญายมราช เจ้าแห่งนรก จะขึ้นมาเข้าเฝ้าฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมในวันพระ แล้วนายนิรยบาลทั้งหมดในนรกภูมิก็ติดตามมาด้วย วันโกนจึงเป็นโอกาสเดียวที่เหล่าสัตว์นรกจะออกมารับบุญจากญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกมนุษย์ได้ เมื่อพ้นวันพระท้าวยมราชกลับนรก นายนิรยบาลก็จะกวาดต้อนผี สัมเภวีสีทั้งหลายที่ขึ้นมากลับลงไป

แต่ในระหว่างที่ยังร่อนแร่ขอบุญอยู่บนโลก มนุษย์บางคนที่มีบุญมากพอหรือมีญาณสูงก็จะมีตาทิพย์เห็นดวงวิญญาณเหล่านี้ วิญญาณเอง เมื่อรู้ว่ามีคนเห็นก็จะพุ่งเข้าหาเพื่อหวังขอส่วนบุญ เป็นที่มาว่าทำไมบางคนโดนผีหลอกในวันนี้

ด้วยเหตุนี้ความเชื่อและประเพณีต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาในช่วงวันพระ จึงมีกุสโลบายซ่อนอยู่เบื้องหลัง หวังให้บุญเหล่านั้นส่งไปถึงญาติผู้ล่วงลับของเราในวันนี้ เช่น

Advertisements
  • กรวดน้ำหลังทำบุญ เชื่อว่าบุญจะส่งให้ผู้ล่วงลับมารับส่วนบุญกุศล
  • การปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อเป็นการทำบุญเผื่อแผ่ให้กับดวงวิญญาณผู้ล่วงลับ
  • ทำบุญถวายสังฆทานแบบอุทิศเจาะจงชื่อ เพื่อเป็นการส่งดวงวิญญาณผู้ล่วงลับไปสู่ภพภูมิที่ดี

นอกจากนี้ ยังมีความเชื่ออีกว่าวันโกนเป็นวันที่ดวงวิญญาณจะออกมาอาละวาดและทำร้ายผู้คนได้ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังในการออกนอกบ้านในเวลากลางคืน โดยเฉพาะสถานที่ที่รกร้างหรือมืดมิด

ประวัติความเป็นมาที่แท้จริงของวันโกน

จุดเริ่มต้นของวันโกนเกี่ยวเนื่องกับวันพระอย่างแยกไม่ออก สมัยก่อนช่วงที่พระพุทธศาสนาได้แก้วครบ 3 ประการแล้ว ยังไม่มีวันพระ พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมคธ ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลว่า นักบวชในศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนในศาสนา แต่พระพุทธศาสนานั้นยังไม่มี จึงอยากให้บัญญัติมีอย่างนั้นบ้าง

พระพุทธเจ้าทรงเห็นด้วย จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ประชุมสนทนาธรรมและแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชน แต่ยังไม่ได้เรียกว่าวันธรรมสวนะอย่างเป็นทางการ

กระทั่งพระพุทธศาสานาได้เผยแผ่ถึงประเทศไทย พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวมาเป็นวันธรรมสวนะ ปฏิบัติสืบเนื่องมาก คือ ทุกวันแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำ ขึ้น 8 ค่ำ 15 ค่ำ และวันก่อนวันพระ เรียกว่าวันโกน

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button