‘พายุ เนื่องจำนงค์’ เผย เจ้าของร้านไม่มีสิทธิไล่ ‘หมอพรทิพย์’ ด้วยเหตุผลทางการเมือง

‘พายุ เจตจำนงค์’ เผยมุมมองทางกฎหมาย เจ้าของร้านไม่มีสิทธิไล่ ‘หมอพรทิพย์’ ด้วยเหตุผลทางการเมืองส่วนตัว ไม่มีสิทธิถ่ายคลิปประจาน
จากกรณี ชายไทยคนหนึ่งได้ไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ขณะเดินทางไปที่ร้านอาหารในประเทศไอซ์แลนด์ หลังจากทราบว่าจะมีนักการเมือง พร้อมคณะสส. เดินทางมารับประทานอาหารที่เขาเป็นเจ้าของ ชายคนดังกล่าว ได้ขับไล่คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ ออกจากร้าน เพราะเขาไม่ต้อนรับ และไม่พอใจกับเหตุการณ์ที่ประเทศไทย
ล่าสุด พายุ เนื่องจำนงค์ อดีตผู้สมัคร สส.ชลบุรี ได้ออกมาทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์ @ เพื่อห้ความเห็นถึงมุมมองส่วนตัว กรณีของหมอพรทิพย์ ถูกขับไล่ออกจากร้านอาหารของคนไทยในประเทศไอซ์แลนด์ โดยระบุว่า
“มุมมองส่วนตัว: กรณีของ #หมอพรทิพย์ ที่ถูกขับไล่ออกจากร้านของคนไทยร้านนึงที่ต่างประเทศนั้น ผมมองว่า..
1. เจ้าของร้าน ‘มีสิทธิ์’ ที่จะปฎิเสธการให้บริการ “ถ้ามีเหตุ” ให้ต้องปฎิเสธ เช่น สร้างความวุ่นวาย / เมา หรือไม่ทำตามระเบียบชองร้านที่ระบุไว้ก่อน (ต้องใส่เสื้อ ใส่รองเท้า ในร้าน) ซึ่งในกรณีจากในคลิปนั้นไม่ใช่ประเด็น
2. เจ้าของร้าน ‘ไม่มีสิทธิ์’ ที่จะไล่ด้วยเหตุดังต่อไปนี้ เช่น สัญชาติ, สีผิว, ศาสนา, เพศสภาพ และในบางที่นั้นครอบคลุมไปถึง ‘การข้องเกี่ยวทางการเมือง’ (political affiliation) ของตัวลูกค้า เช่นในกรณีนี้ที่เจ้าของร้านอ้างการเมืองเป็นเหตุที่ขับไล่หมอ
3. เจ้าของร้าน ‘ไม่มีสิทธิ์’ ที่จะถ่ายสบประมาท และถ่ายประจานหมอและนำมาเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางหมอเช่นในคลิป (รวมถึงลูกค้าต่างชาติที่ไม่รู้เรื่องด้วยที่ติดมาในคลิป) มันเป็นการล่วงเกินสิทธิ์ส่วนบุคคลของตัวหมอ ซึ่งในคลิปนั้นไม่ได้ทำอะไรผิด แต่คลิปกลับเป็นหลักฐานประกอบการละเมิดโดยตัวเจ้าของร้านแทน
4. ขอเรียนว่าบริบทกฎหมายที่พูดถึงนั้นมาจากกฎหมาย anti-discrimination laws และ privacy laws ที่สหรัฐอเมริกาที่พอดีผมคุ้นเคย ซึ่งหลายๆมาตราอาจจะไม่มีการคุ้มครองสิทธิ์ถึงในกฎหมายของประเทศที่เป็นเหตุ แต่เชื่อว่าประเทศที่เป็นสมาชิกอยู่ใน EU ส่วนใหญ่แล้วมีกฎหมายที่ปกป้องสิทธิ์ที่ใช้พื้นฐานของจริยธรรมทำนองเดียวกันอยู่ดี
ทั้งนี้ทั้งนั้นการกระทำดังกล่าว หากต่อให้ไม่ได้เป็นการทำผิดกฎหมาย หรือผิดและไม่มีใคร (หรือทางหมอเอง) ไปยื่นร้องเรียนต่อหน่วยงานรัฐในประเทศดังกล่าวที่รับผิดชอบ ก็เชื่อว่าการกระทำนี้ไม่ได้ส่งผลดีต่อทางร้าน ในสายตาของเหล่าคนที่จะใช้และเคยใช้บริการ เพราะมันส่อถึงสันดานของตัวเจ้าของร้านที่เลือกที่จะทำธุรกิจด้านบริการ แต่ไม่สามารถแยกแยะและมีวุฒิภาวะพอที่จะควบคุม “อารมณ์ร่วม” ทางการเมืองส่วนตัวได้.. แล้วมาลงที่ทางหมอแทน
สิ่งที่ทางหมอพรทิพย์ “ทำ” ในเมืองไทยนั้นจะถูกหรือจะผิด หรือการเห็นต่างกับคุณในวันนี้มันไม่ใช้ประเด็น แต่ ณ วันที่หมออยู่ที่ร้านของคุณหมอไม่ได้ทำอะไรผิด.. มีแต่ทางเจ้าของร้านที่ทำผิดจากพฤติกรรมที่ผมได้อ้างอิงถึงดังกล่าว
มุมมองส่วนตัว: กรณีของ #หมอพรทิพย์ ที่ถูกขับไล่ออกจากร้านของคนไทยร้านนึงที่ต่างประเทศนั้น ผมมองว่า..
1. เจ้าของร้าน ‘มีสิทธิ์’ ที่จะปฎิเสธการให้บริการ “ถ้ามีเหตุ” ให้ต้องปฎิเสธ เช่น สร้างความวุ่นวาย / เมา หรือไม่ทำตามระเบียบชองร้านที่ระบุไว้ก่อน (ต้องใส่เสื้อ ใส่รองเท้า ในร้าน)… pic.twitter.com/6mg5rvIfXd
— พายุ เนื่องจำนงค์ | Payu Nerngchamnong (@payunerng) September 30, 2023