จบปัญหา สายสื่อสารห้อย แจ้งใคร ? MEA เปิดเบอร์ร้องเรียน-พบไม่ปลอดภัยมีความผิดตามกฎหมาย
ลักลอบพาดสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้า ติดตั้งไม่ปลอดภัย ตั้งแต่ สายโทรศัพท์ สายอินเทอร์เน็ต เจอดีแน่ การไฟฟ้านครหลวง MEA เปิดเบอรืร้องเรียนพาดสายเคเบิลหรือทำไม่ดีสุ่มเสี่ยงอันตรายผู้คนมีความผิดตามกฎหมาย
ไม่ปลอดภัย และมีความผิดตามกฎหมาย รู้หรือไม่ ติดตั้งพาดสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้ามีข้อกำหนด และอันตรายไม่ปลอดภัยหากไม่ถูกวิธีอาจโดนไฟฟ้าแรงสูงดูดเสียชีวิตได้ เนื้อหาข้างต้นเป็นการออกมาอัปเดตข้อมูลล่าสุดจาก การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. (Metropolitan Electricity Authority: MEA หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล จำหน่ายพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ
โดยล่าสุดได้มีการออกมาเคลื่อนไหวไปถึงบริษัทเอกชนตลอดจนผู้ิดตั้งสยสื่อสารโทรคมนาคมต่าง ๆ อาทิ สายโทรศัพท์-สายอินเทอร์เน็ต หากติดตั้งไม่ปลอดภัย สุ่มเสี่ยงทำให้เกิดอันตรายกับประชาชนในบริเวณใกล้เคียง หนนี้เจอบทลงโทษหนักแน่ แถมหน่ยงานรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานยังเปิดช่องทาง ร้องเรียนหากเกิกรณีพบเห็นการพาดสายสื่อสารแบบชุ่ย หรือ ดูท่าแล้วไม่มีความปลอดภัย 99.99% งานนี้ ยกหูโทรเบอร์นี้ได้เลย พบเห็นปัญหาสายสื่อสารรกรุงรัง สายสื่อสารหลุดห้อยไม่ปลอดภัย แจ้งได้ที่ สายด่วน กสทช. โทร. 1200 หรือ LINE@ : @nbtc1200 หรือคลิกที่นี่
ขั้นตอนข้อกำหนดขออนุญาตติดตั้งสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าที่ถูกต้อง
- ได้รับอนุญาตจากสำนักงาน กสทช.
- ทำหนังสือขออนุญาตกับ MEA ก่อนจะเข้าดำเนินการติดตั้งสายสื่อสารล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน
- ติดตั้งสายสื่อสารตามมาตรฐานที่ MEA กำหนด บันทึกข้อมูลเจ้าของสายและแผนผังเส้นทางในแผนที่ภูมิศาสตร์สารสนเทศ (GIS) ของ MEA
- ร่วมกันสอดส่องดูแล และรักษาสิทธิ์ ไม่ให้มีผู้ลักลอบพาดสายสื่อสาร แก้ไขปัญหาสายสื่อสารรกรุงรังเช่นเดิม
หมายเหตุ : ตามระเบียบการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยหลักเกณฑ์การติดตั้งสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2563
- ส่วนลดค่าไฟ 4 เดือน พ.ค.-ส.ค. ช่วยบรรเทา ปปช.
- รัสเซลล์ โครว์ โพสต์ยินดี หลัง รบ. เร่งนำ สายไฟลงใต้ดิน
- เช็กก่อน กฟภ. ใช้ไฟฟรี 3 เดือน ลงทะเบียนผ่านลิงก์.