ข่าว

“ปลาจุกเครื่อง” ดราม่าเมนูประจำถิ่น แต่คนท้องที่ไม่รู้จัก คนกระบี่แย้งหลอกลวงนักท่องเที่ยว

ปลาจุกเครื่อง ดราม่าเมนูประจำถิ่นได้รับคัดเลือกเป็น 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำกระบี่ แต่คนในท้องที่กลับไม่รู้จัก ทั้ง 8 อำเภอ ส่วนใหญ่ไม่ ผู้เชี่ยวชาญระบุเองเป็นสำรับกับข้าวในงานเลี้ยงประเพณีหรืองานบุญ เช่น งานแต่งงาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ และมีวางขายในท้องตลาดทั่วไป

เรียกได้ว่าบ้านเรานั้นไม่ว่าจะหยิบจับอะไรขึ้นมาก็เป็นอันนำมาประกอบอาหารขึ้นชื่อไ้หมดจริง ๆ เช่นเดียวกับไฟดราม่าในกวงการประชาชนเสพสื่อบ้านเรา ที่ไม่ว่าผลิตเนื้อหาหรือนำเสนออะไรใหม่ ๆ ออกมา ก็มีอันต้องเผชิญกับกระแสดรา่มาไปเสียทุกครั้ง

เฉกเช่นเดียวกับกรณีล่าสุดของเมนูอาหารประจำถืิ่นของจ. กระบี่ หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวทะเลงามของไทยซึ่งมาอุบัติปมวิพากวิจารณ์กันสนั่น ชนิดเสียงวิจารณ์ดูจะดังกว่าชื่อรายการอาหารที่กำลังได้รับการยกย่องให้เป็นอาหารที่คนในท้องที่นิยมเสียอีก

สำหรับข้อขัดแย้งที่หลายคนระบุตรงกัน คือ เมนูปลาจุกเครื่องที่ว่านี้ ไม่ใช่อาหารประจำถิ่นแต่อย่างใด

ปลาจุกเครื่อง วิธีทำ

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศให้เมนูดราม่าล่าสุดนี้ เป็นหนึ่งในเมนูเชิดชูอาหารถิ่นของจังหวัดกระบี่ จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ตามโครงการกิจกรรม “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste”

โดย คุณสุนีย์ ภูมิภมร อายุ 66 ปี แม่เจ้าของร้านอาหารหอมเคย ระบุถึงที่มาของเมนูซึ่งเพิ่งได้รับคัดเลือกของทางร้านนั้นมีตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ เนื่องจากแต่เดิม ต.แหลมสัก เป็นชุมชนคนจีน ที่อพยพมาจากจังหวัดดภูเก็ตมาตั้งรกรากถิ่นฐาน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง นอกจากขายสดแล้วยังนิยมนำปลามาขูดเนื้อเอาไปปรุงอาหาร อาศัยภูมิปัญญาที่ติดตัวผสมผสานกับวัฒนธรรมการกินที่มีอยู่ ออกมาเป็นเมนูท้องถิ่น “ปลาจุกเครื่อง” นิยมทำกันแพร่หลายในชุมชน

ส่วนวิธีทำ เริ่มจากนำปลาทูมาตัดหัว ควักไส้ หักก้างออก แล้วขูดเนื้อ เก็บแต่หนังเอาไว้ให้ติดตัวปลา แล้วจึงนำเนื้อที่ขูดได้มาตำ ผสมเครื่องปรุง แล้วยัดกลับเข้าไปในตัวปลา นำไปทอดให้เหลืองกรอบ สามารถทานได้ทั้งตัว

 

ขอบคุณคลิป : @Thairath Online.

ปลาจุกเครื่อง

จบที่มาที่ไป ถึงคราวฟังมุมผู้เชี่ยวชาญ แย้งกรณีเอกลักษณ์อาหาร

ทั้งนี้ หลังจากเมนูปลาจุกเครื่อง ถูกประกาศเป็นรายการอาหารประจำจังหวัดของกระบี่ไม่นาน ผู้คนในจังหวัดท่องเที่ยวชื่อดังติดกับฝั่งทะเลอันดามันก็อออกมาโต้แย้งการได้รับคัดเลือกดังกล่าวอย่างหนาหู ตลอดสร้างความแปลกใจแก่ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารพื้นถิ่น และประชาชนชาวกระบี่บางส่วนเป็นอย่างมาก เนื่องจากการตรวจสอบเมนูอาหารตามร้านต่างทั่วทั้ง 8 อำเภอของจังหวัดกระบี่ พบว่าส่วนใหญ่ไม่มีเมนูปลาจุกเครื่อง

ข่าวดราม่าวันนี้

ด้าน นายอติพจน์ ศรีสุคนธ์ ผู้มีความรู้ด้านอาหารพื้นถิ่น ได้ออกมาเคลื่อนไหวถึงเรื่องนี้ด้วยการโพสต์ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กพร้อมกับเสริมความเห็นในฐานะผุ้คลุกคลีกับอาหารพื้นถิ่นของที่กระบี่ไว้ในแพลตฟอร์มดังกล่าวด้วย โดยรายละเอียดทั้งหมดมีดังนี้

“ปลายัด หรือจุกเครื่อง สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีมาเป็นร้อยปีแล้ว เป็นอาหารที่นิยมรับประทานเป็นสำรับกับข้าวในงานเลี้ยงประเพณีและงานบุญต่างๆ เช่น งานแต่งงาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น มีวางขายในท้องตลาดทั่วไป โดยเฉพาะในช่วงเดือนถือศีลอด เมนูปลาจุกเครื่องที่ตำบลแหลมสักกระบี่ เป็นอาหารลูกผสมจีนและมุสลิมเข้าด้วยกัน เรื่องราวอาหารแบบนี้ปราชญ์ท้องถิ่นรู้ คนเฒ่าคนแก่รู้ คำว่ารสชาติที่กำลังหายไป อย่านั่งคิดในห้องแอร์ โปรดถามผู้รู้”.

ปลาจุกเครื่อง ดราม่าเมนูประจำถิ่น

จบปัญหา สวธ. เคลียร์ดราม่า 1 จังหวัด 1 เมนู ไม่ใช่อาหารประจำถิ่นแต่เป็นการค้นหา “รสชาติที่หายไป”

สุดท้ายเมื่อเกิดกระวิจารณ์อย่างหนักหน่วง จึงส่งผลให้ นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ต้องออกมาชี้แจงแถลงไขกรณีนี้ด้วยตัวเอง ซึ่งทาง สวธ. ก็ย้ำว่าเป็นการหยิบยกเมนูที่คนท้องถิ่นหรือคนในพื้นที่นั้น ๆ ไม่รู้จักขึ้นมา วัตถุประสงค์หลัก คือ ต้องการทำให้คนรุ่นใหม่ได้พบกับ “รสชาติที่หายไป” หมายความว่า เมนูประจำถิ่นของแต่ละจังหวัดอาจไม่ได้มีชื่อเสียงในปัจจุบัน แต่เป็นการขุดคุ้ยเมนูที่เคยมีอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ในอดีต ให้กลับมาเป็นเมนูเชิดชูถิ่นได้ในปัจจุบันนั่นเอง.

1 จังหวัด 1 เมนู
ภาพ @ประชาสัมพันธ์จังหวัดกระบี่

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button