ปธ.สมาคมวิชาชีพฯ วอนอย่าหลงเชื่อเพจปั่นกระแส หลัง “สมาคมแท็กซี่ไทย” แนะคนขับอย่าพูดอีสาน
ดราม่าสนั่น สมาคมแท็กซี่ไทย ขอความร่วมมือคนขับแท็กซี่พูดภาษาไทย อย่าพูดอีสาน ยกระดับสร้างภาพลักษณ์ ด้าน สมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ สวนทันควันไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง พร้อมให้ข้อมูล สมาคมแท็กซี่ไทยที่กำลังเป็นข่าวนี้ไม่ได้จดทะเบียน ไม่มีองค์ภาคี ทำงานแค่คน ๆ เดียว ท่วากำลังทำองค์กรทั้งหมดเสียหาย
วันที่ 4 กันยายน 2566 เฟซบุ๊กสมาคมแท็กซี่ไทย ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีประเด็นดราม่า ออกมาแนะนำ การใช้บริการจนถูกสับเละตรรกะวิบัติไปแล้วหนหนึ่ง มาล่าสุดครั้งนี้ก้มีประเด็นอกีครั้ง เมื่อได้แนะนำคนขับ ขอความร่วมอเพื่อเป็นการยกระดับการให้บริการ ด้วยการระบุ ขออย่าใช้ภาษาอีสาน ในการสื่อสารกับผู้โดยสาร โดยขอให้ใช้ภาษาไทยเพื่อเป็นการยกระดับสร้างภาพลักษณ์
เนื้อหาที่เขียนไว้ในโพสต์แคปชัั่นประชาัสมพันธ์ของสมาคมฯ ระบุ “ประกาศ ขอความร่วมมือคนขับใช้ ‘ภาษาไทย’ ในการสื่อสารกับผู้โดยสาร เน้นย้ำไม่ให้ใช้ภาษาอีสานเด็ดขาด เพื่อเป็นการยกระดับและสร้างภาพลักษณ์คนขับ ในการให้บริการอย่างมืออาชีพ”
หลังโพสต์ดังกล่าวเผนแพร่ไม่นานก็เจอเสียงวิจารณืขรมตามามาทันที
อาทิ “อิสานแล้วยังไง”, ห้ะ??? ไม่เข้าใจอะ , อิสานแล้วมันยังไงครับ , มารยาทและทัศนคติที่ดีสำคัญกว่าสำเนียงการพูดนะครับ
“คนใต้ คนเหนือ คนภาคกลางที่สำเนียงเหน่อ ด้วยรึป่าวครับ ต้องห้ามกินปลาร้าส้มตำด้วยรึป่าวครับ”
ขอหมอลำได้บ่ ภาษาอีสาน คือภาษาไทยท้องถิ่นนะครับ
ตัวอย่างความเห็น 5-6 ตัวอย่าง ที่ส่วนใหญ่ต่างก็พากันถล่มวิจารณ์ใต้ช่องคอมเมนต์กันจำนวนมาก ส่วนใหญ่ต่างพากันแปลกใจกับ โพสต์ขอึความร่วมมือนี้ โดยบางคนก็มองว่า จะเป็นการจงใจปั่นคอนเทนต์เรียกกระแสวิจารณืหรือไม่ ตอนนี้็ยังไม่มีใครชี้ชัดได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่า โพสต์ดังกล่าวนั้นได้สร้างความเอะใจหนักหน่วงในแนวทางปฏิบัติของทางเพจและทีมแอดมินไม่น้อย
โดยล่าสุด อ้างอิงข้อมูลจาก นายวรพล แกมขุนทด ประธานที่ปรึกษาสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ ซึ่งเป็นเป็นสมาคมที่ถูกต้องอย่างเป็นทางการของคนขับแท็กซี่ในไทย ซึ่งได้ให้ข้อมูลกับ นิวมีเดีย พีพีทีวี ถึงรายละเอียดทั้งหมดที่ทงาเพจโซเชียลต้นทางระบุนั้นไม่ถูกต้อง
นายวรพล กล่าวว่า ประเด็นนี้ไม่ควรสื่อออกไปในรูปแบบที่กำลังมีดราม่ากันอยู่ เนื่องจากทำให้สังคมเข้าใจผิดในเรื่องของแท็กซี่
ต่อมา ประธานที่ปรึกษาสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ เผยว่าในส่วนของสมาคมแท็กซี่ไทย ตนเองไม่รู้เจตนาว่า ต้องการทำลายแท็กซี่หรือต้องการทำลายผู้โดยสาร แต่มองว่า สมาคมนี้ไม่ได้จดทะเบียน ไม่มีองค์ภาคีทำงาน ทำงานแค่เพียงคน ๆ เดียว และทำให้องค์กรรวมทั้งหมดเสียหาย
โดยในฐานะที่เป็นสมาคมที่ถูกต้องตามกฏหมาย นายวรพล ระบุชัดเจนว่า พวกเขาไม่พอใจนักกับข้อความทั้งหมดที่เป็นข่าวออกไป.