การเงินเศรษฐกิจ

เงินอุดหนุนบุตร เดือนกันยายน 2566 เข้าวันไหน เช็กกำหนดการที่นี่

เปิดปฏิทิน อัปเดตวันเงินเข้าบัญชีในส่วนของ “เงินอุดหนุนบุตร” จำนวน 600 บาท ประจำเดือนกันยายน 2566 เงินอุดหนุนสำหรับเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดประจำปี พ.ศ. 2566

ครอบครัวที่ได้รับสิทธิโครงการ ‘เงินอุดหนุนบุตร’ จากรัฐบาลในรอบเดือนกันยายน 2566 นี้ ทางธนาคารจะโอนเงินสงเคราะห์เข้าบัญชีให้แก่ผู้ที่ได้รับสิทธิโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดใน วันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566 จำนวนเงิน 600 บาท

Advertisements

ทั้งนี้ ผู้ปกครองสามารถตรวจสอบสถานะสิทธิ หรือช่องทางการรับเงินอุดหนุนบุตร 600 บาทได้ดังผ่านระบบอนไลน์ดังต่อไปนี้

‘เงินอุดหนุนบุตร’ เป็นหนึ่งในโครงการของรัฐบาลที่มีจุดประสงค์มอบเงินอุดหนุนให้กับประชาชน เพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด หรือที่เรียกว่า ‘Child Support Grant’ นับเป็นโครงการสำคัญระดับชาติ ในการมอบสวัสดิการเงินอุดหนุนให้แก่ที่เติบโตมาในครอบครัวที่มีสถานะทางการเงินที่ยากจน รวมถึงครอบครัวที่เสี่ยงต่อความยากจน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เด็กแรกเกิดในประเทศไทยสามารถเข้าถึงคุณภาพชีวิตที่ดีและได้รับการดูแลที่มีคุณภาพ

‘เงินอุดหนุนบุตร’ กันยายน 2566

สำหรับผู้อ่านท่านใดที่อยากทราบรายละเอียดของโครงการเงินอุดหนุนบุตรเพิ่มเติม ไม่ว่าจะในเรื่องของเงื่อนไขการได้รับสิทธิ การลงทะเบียนรับสิทธิเงินอุดหนุน รวมถึงเอกสารประกอบการลงทะเบียน สามารถเช็กได้ที่นี่ เพราะทาง The Thaiger ได้รวบรวมทุกคำตอบของข้อสงสัยมาไว้ที่นี่แล้ว

ผู้ได้รับสิทธิ์ ‘เงินอุดหนุนบุตร’ 2566

  • ผู้ได้รับสิทธิ์เงินอุดหนุน 2565 (ผู้รับสิทธิ์รายเดิม)
  • ผู้ผ่านการพิจารณาได้รับสิทธิ์ (ผู้รับสิทธิ์รายใหม่) ซึ่งต้องมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ในระบบฐานข้อมูลของโครงการเงินอุดหนุนบุตร ภายในวันที่ 25 มีนาคม 2564

เกณฑ์การรับ “เงินอุดหนุนบุตร สิงหาคม 2566”

สวัสดิการ ‘เงินอุดหนุนบุตร’ ได้มีการจัดเกณฑ์การรับเงินอุดหนุนไว้ดังนี้ สำหรับพ่อ แม่ หรือผู้ปกครองของเด็กแรกเกิดที่อยู่ในระบบประกันสังคม จะสามารถขอเงินสงเคราะห์บุตรจากรัฐบาลเป็นจำนวนเงิน 800 บาท

Advertisements

และสำหรับบุตรธิดาที่อายุไม่เกิน 6 ปี หากอยู่ในครอบครัวที่ได้รับการพิจารณาว่า ยากจน กล่าวคือ มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท ต่อคน ต่อปี ก็สามารถขอรับเงินอุดหนุนบุตร สำหรับเด็กเล็กเพิ่มได้อีก เป็นจำนวน 600 บาทต่อเดือน

‘เงินอุดหนุนบุตร’ กันยายน 2566

คุณสมบัติผู้ลงทะเบียน ‘เงินอุดหนุนบุตร’ 2566

เด็กแรกเกิดที่ได้สิทธิ์

  • เด็กที่มีสัญชาติไทย หรือพ่อแม่มีสัญชาติไทย หรือพ่อหรือแม่มีสัญชาติไทย
  • เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี
  • เด็กจำเป็นต้องอาศัยอยู่กับผู้ปกครอง ซึ่งเป็นครัวเรือนที่อยู่ในเกณฑ์ผู้มีรายได้น้อย (สมาชิกในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน ต่อปี หรือตกเดือนละ 8,333 บาท)
  • เด็กไม่ได้อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน

ผู้ปกครองที่มีสิทธิ์ลงทะเบียน

  • ผู้ปกครองมีสัญชาติไทย
  • เป็นบุคคลที่รับเด็กแรกเกิดไว้ในความอุปการะ
  • เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย
  • ผู้ปกครองอยู่ในยู่ในเกณฑ์ผู้มีรายได้น้อย (สมาชิกในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน ต่อปี หรือตกเดือนละ 8,333 บาท)

เอกสารประกอบการลงทะเบียน ‘เงินอุดหนุนบุตร’

  1. แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ดร.01)
  2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02)
  3. ใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ของสมาชิกทุกคนในครัวเรือนที่มีรายได้ประจำ
  4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง
  5. สูติบัตรเด็กแรกเกิด
  6. สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก
  7. สมุดบัญชีเงินฝากของผู้ปกครอง (ธนาคารกรุงไทย ออมสิน หรือ ธ.ก.ส.)
  8. สำเนาเอกสารหรือบัตรข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรแสดงสถานะหรือตำแหน่ง หรือเอกสารอื่นใดที่แสดงตนของผู้รับรองคนที่ 1 และผู้รับรองคนที่ 2

สถานที่ลงทะเบียน ‘เงินอุดหนุนบุตร’

  1. กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่สำนักงานเขต
  2. เมืองพัทยา ติดต่อได้ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
  3. ส่วนภูมิภาค ติดต่อได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล

ทั้งนี้ ‘เงินอุดหนุนบุตร’ ในแต่ละเดือน ทางธนาคารจะโอนเข้าบัญชีของผู้ปกครอบที่ได้ยื่นไว้ในวันลงทะเบียนรับสิทธิ์ สำหรับในเดือนกันยายนยน 2566 นี้ ครอบครัวที่ได้รับสิทธิ์ดังกล่าวจะได้รับเงินในวันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566 ซึ่งโดยปกติแล้วทุกครอบครัวที่ลงทะเบียนจะได้รับเงินอุดหนุนในทุก ๆ วันที่ 10 ของเดือน แต่เนื่องจากในวันที่ 10 ของเดือนกันยายน 2566 ตรงกับวันหยุด เช่นนั้นเงินดังกล่าวจึงถูกโอนเข้าบัญชีก่อนหน้าเดือนอื่น ๆ

Danita S.

นักเขียนบทความไลฟ์สไตล์ บันเทิง ประจำ Thaiger ติดตามทุกกระแส K-Pop และเท่าทันทุกเรื่องราวความบันเทิง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 3 ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ช่องทางติดต่อ bell@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button