ข่าว

หาดูยาก NARIT ประมวลภาพ “ดาวเสาร์ใกล้โลก” ที่สุดในรอบปี 2566

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT เผยภาพหาดูยาก ดาวเสาร์เข้าใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2566 พร้อมบรรยากาศสดคนแห่เข้ารับชมตาม 4 จุดสังเกตการณ์ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 3 จังหวัด ฉะเชิงเทรา โคาราช สงขลา และอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เชียงใหม่

วานนี้ (27 ส.ค.66) เฟซบุ๊กแฟนเพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (@NARITpage.) ได้มีการเผยแพร่ภาพสัญญาณ ถ่าบทอดสด ปรากฏการณ์ดาวเสาร์เคลื่อนที่เข้าใกล้ “โลก” ที่สุดในรอบปี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2566 โดยหน่วยงานดังกล่าวได้จัดจุดสังเกตการณ์หลักไว้ 4 แห่ง ประกอบด้วย

Advertisements
  • จ. เชียงใหม่ อุทยานดาราศาสตร์ สิรินธร อ. แม่ริม และที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ฉะเชิงเทรา , นครราชสีมา และสงขลา โดยปรากฏการณ์ทางดาราศาศตร์ครั้งนี้นับเป็นการที่ดาวเสาร์เคลื่อนที่เข้ามาใกล้กับโลกมากที่สุดในรอบปี 2566
ไลฟ์สด ดาวเสาร์ใลก้โลก narit
ภาพ Facebook @NARITpage
ดาวเสาร์
ภาพ Facebook @NARITpage
ดาวเสาร์ใกล้โลก ซูม
ภาพ Facebook @NARITpage

ต่อมาเฟซบุ๊กแฟนเพจของหน่วยงานยังได้มีการเผยแยพร่ภาพถ่ายดาวเสาร์จากหอดูดาวฯ จังหวัดสงขลาด้วย.

สำหรับ “ดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุดในรอบปี” เป็นปรากฏการณ์ที่ดาวเสาร์โคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (Saturn Opposition) หมายถึง ดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ เรียงตัวอยู่ในแนวเดียวกัน โดยมี “โลก” อยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวเสาร์มีระยะใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ห่างประมาณ 1,310 ล้านกิโลเมตร ในวันดังกล่าว เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ดาวเสาร์จะปรากฏสว่างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สังเกตได้ด้วยตาเปล่ายาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า

ขณะเดียวกันรายงานบรรยากาศประชาชนพากันเดินทางไปรับชมปรากฏการณ์หาดูยากครั้งนี้ รายงานจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุ คืนดังกล่าวหลายพื้นที่ทั่วไทยสามารถสังเกตการณ์ได้ แม้จะอยู่ในช่วงมรสุม มีเมฆมาก แต่ก็มีจังหวะที่ดาวเสาร์โผล่พ้นเมฆออกมาให้ชมกัน

Advertisements

ขอบคุณคลิป : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ.

สำหรับจุดสังเกตการณ์หลักของ NARIT ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หอดูดาว เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา มีประชาชนให้ความสนใจร่วมชมวงแหวนดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์เป็นจำนวนมาก สามารถสังเกตเห็นช่องว่างแคสสินีระหว่างวงแหวนของดาวเสาร์ และดวงจันทร์บริวาร ได้แก่ ไททัน และเอนเซลาดัส ได้อย่างชัดเจน

โดยหลังจากนี้ ดาวเสาร์จะยังคงปรากฏบนท้องฟ้าไปจนถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ หากคืนไหนสภาพอากาศดีจะสามารถสังเกตดาวเสาร์ได้

สำหรับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ต่อไปที่จะเกิดขึ้นคือ #ซูเปอร์บลูมูน ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี และยังเป็นดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือนซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออก ตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 30 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าของวันที่ 31 สิงหาคม 2566

ทั้งนี้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เตรียมจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ซูเปอร์บลูมูน สามารถเข้าร่วมได้ที่จุดสังเกตการณ์หลัก 4 แห่ง ได้แก่

  1. อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เชียงใหม่
  2. หอดูดาวภูมิภาค โคราช
  3. หอดูดาวภูมิภาคฉะเชิงเทรา
  4. หอดูดาวฯ สงขลา – NARIT

รวมถึงโรงเรียนในเครือข่ายกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ทั่วประเทศ ตั้งแต่เวลา 18:00-22:00 น. เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือรับชม LIVE ปรากฏการณ์ได้ทางเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ.

ดูดาวเสาร์ใกล้โลก ภาพ
ภาพ Facebook @NARITpage
ข่าว narit
ภาพ Facebook @NARITpage
ดาวเสาร์ใกล้โลก
ภาพ Facebook @NARITpage
ดูดาวเสาร์ใกล้โลกที่สุด
ภาพ Facebook @NARITpage
ดูดาวเสาร์ใกล้โลก ข่าว
ภาพ Facebook @NARITpage

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button