การเงินเศรษฐกิจ

เกษตรกรไทย ยื่นขอเงินสนับสนุนค่าอาหารสัตว์ได้ สูงสุด 10,000 บาท

ร้องเฮ! รัฐบาลช่วยเกษตรกรไทย สามารถยื่นขอรับเงินอุดหนุนค่าอาหารสัตว์ สูงสุด 10,000 บาทได้ ขยายเวลาให้ยื่นถึง 31 ส.ค. นี้

นับเป็นข่าวดีสำหรับเกษตรกรไทย เมื่อกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ขยายเวลาในการขอเงินสนับสนุนค่าอาหารสัตว์ งบสูงสุด 10,000 บาทต่อราย โดยจะให้ยื่นเรื่องได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 สิงหาคม 2566 ซึ่งจากเดิมจะหมดเขตตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยมีเกณฑ์ให้กับผู้เลี้ยงสุกรไม่เกิน 5,000 ตัว ผู้เลี้ยงไก่ไข่หรือไก่เนื้อไม่เกิน 100,000 ตัว

Advertisements

เว็บไซต์ thaigov.go.th ได้ออกมาแจ้งข่าวดีแก่เกษตรกร ผู้ต้องการยื่นขอรับเงินสนับสนุนค่าอาหารสัตว์ ดังนี้

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ขยายเวลาโครงการขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์ สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ (สุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ) ซึ่งเป็นโครงการเพื่อดูแลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ และอาหารสัตว์ผสมสำเร็จรูปที่ปรับตัวสูงขึ้น จากเดิมที่สิ้นสุด 12 ส.ค. 66 ที่ผ่านมา เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ส.ค. 66 นี้

ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในสินค้ากลุ่มเป้าหมายรายย่อย รายเล็ก และรายกลาง ที่ขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงสัตว์กับกรมปศุสัตว์ และได้รับมาตรฐานระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (Good Farming Management : GFM)

ซึ่งโครงการจะสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถซื้ออาหารสัตว์ได้ในราคากิโลกรัมละ 1 บาท รายละไม่เกิน 10 ตัน หรือไม่เกิน 10,000 บาทต่อ 1 ราย โดยกำหนดจำนวนการเลี้ยงตามเกณฑ์ คือ ผู้เลี้ยงสุกรไม่เกิน 5,000 ตัว ผู้เลี้ยงไก่ไข่หรือไก่เนื้อไม่เกิน 100,000 ตัว

สามารถยื่นคำขอผ่านระบบขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการอาหารสัตว์ได้ที่ (http://feed.dit.go.th) หรือติดต่อยื่นเอกสารได้ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ หรือสำนักงานสหกรณ์จังหวัด.

Advertisements

Eye Chanoknun

นักเขียนประจำ Thaiger จบจากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประสบการณ์เขียนงานผ่านเว็บไซต์ด้านความงามและแฟชั่นชื่อดังของไทยมากกว่า 3 ปี ปัจจุบันชื่นชอบการเขียนข่าวบันเทิง ภาพยนตร์ ซีรีส์ k-pop และไลฟ์สไตล์ เพื่อนำมาบอกเล่าผ่านตัวอักษร ด้วยมุมมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตาม ช่องทางติดต่อ eye@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button