ข่าวข่าวการเมือง

10 เกร็ดเรื่องลับ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ที่คนไทยอาจไม่เคยรู้มาก่อน

รวม 10 เกร็ดเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของประเทศไทย ผู้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นนายกในดวงใจของใครหลายคน ที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน

เนื่องในวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย ได้ออกมาประกาศข่าวดีว่า ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ถูกพูดถึงว่ามีผลงานมากที่สุด ได้ตัดสินใจเดินทางกลับเมืองไทยในวันที่ 10 สิงหาคม ที่สนามบินดอนเมือง ซึ่งถือว่าเป็นข่าวดีของพี่น้องชาวไทยหลายท่าน ทำให้มีประชาชนชาวไทยบางกลุ่มได้ออกมาแสดงความดีใจพร้อมกับขบวนรถแห่กันเลยทีเดียว

วันนี้ทีมงาน Thaiger จะพาทุกคนไปรู้กับ 10 เกร็ดเรื่องลับน่ารู้ของ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ นายกรัฐมนตรีที่ทำให้ชาวไทยสามารถลืมตาอ้าปากได้ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาทำความรู้จักกับนายกใจดวงใจของคนไทยไปพร้อม ๆ กันได้เลย

10 เกร็ดเรื่องน่ารู้ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน

1. ทักษิณ ไม่ได้มีชื่อเล่นว่า ‘แม้ว’

เชื่อว่าทุกคนต้องเคยคิดมาก่อนว่าชื่อเล่นของทักษิณ ชินวัตร ต้องชื่อว่า ‘แม้ว’ ตามที่คนไทยส่วนใหญ่เรียกไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยกับฝ่ายไหน แต่ความเป็นจริงแล้วชื่อเล่นของทักษิณ ชื่อเล่นว่า ‘น้อย’ ส่วนชื่อแม้ว เป็นฉายาที่เพื่อนร่วมรุ่น โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (ตท.10) เป็นคนตั้งให้นั่นเอง

2. อันดับ 1 ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 26 คือ ทักษิณ

หากพูดถึงทักษิณ ชินวัตร เชื่อว่าหลายคนอาจคุ้นหน้าคุณตาในฐานะนักการเมืองและนักธุรกิจ แต่รู้หรือไม่ว่า อันที่จริงแล้วทักษิณเคยศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 มาก่อน นอกจากนี้ยังเรียนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 โดยสอบได้คะแนนเป็นอันดับที่หนึ่งของรุ่นอีกด้วย

ทักษิณ ชินวัตร ประวัติ
ภาพจาก : Thaksin Official

3. ทักษิณ เคยล้มเหลวในการทำธุรกิจมาก่อน

หากพูดถึงนักธุรกิจ ส่วนใหญ่เรามักจะได้ยินเรื่องราวนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ แต่รู้หรือไม่ ทักษิณ ชินวัตร เคยล้มเหลวในการทำธุรกิจมาก่อน เนื่องจากในปี พ.ศ. 2523 ทักษิณ ได้เริ่มต้นทำธุรกิจส่วนตัว ควบคู่ไปกับการรับราชการตำรวจ แต่กลับล้มเหลวและเป็นหนี้กว่า 50 ล้านบาท ทักษิณจึงตัดสินใจลาออกจากราชการ และได้ก่อตั้งบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด ในปี 2526 จนกลายเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จและสั่งสมประสบการณ์ในการบริหารเรื่อยมา

4. ก้าวสู่เวทีการเมืองในตำแหน่งเลขานุการ

ทักษิณ เริ่มเข้าสู่วงการการเมืองไทย ด้วยการดำรงตำแหน่งเลขานุการของปรีดา พัฒนถาบุตร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2518 ก่อนที่จะเข้ามาดำรงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย นอกจากนี้ยังเคยได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรม และดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอีกด้วย

เรื่องน่ารู้ของทักษิณ ชินวัตร นายกในดวงใจคนไทย
ภาพจาก : Thaksin Official

5. ทักษิณ ชินวัตร ติด 1 ใน 5 นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดของไทย

ทักษิณ ชินวัตร ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวาระแรกเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 เมื่อสิ้นสุดวาระแรกของการบริหารบ้านเมือง ทักษิณได้รับความไว้วางใจจากพี่น้องประชาชนชาวไทย ให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2548

จากการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 สมัย ทักษิณได้พัฒนาบ้านเมืองมากมาย ทั้งในด้านสังคม และเศรษฐกิจ ทำให้ทักษิณ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 5 ปี 222 วัน ถือเป็นนายกที่ดำรงตำแหน่งยาวนานเป็นอันดับที่ 5 จาก 29 อันดับของนายกของประเทศไทยเลยทีเดียว

6. ทักษิณ ชินวัตร ชาวเอเชียคนแรกที่เป็นเจ้าของทีมสโมสรฟุตบอล

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าทักษิณ ชินวัตร สามารถซื้อทีมแมนเชสเตอร์ซิตี้ได้สำเร็จด้วยเงินประมาณ 7 พันล้านบาท โดยซื้อหุ้นจากผู้บริหารเดิม 55.9 เปอร์เซนต์ และกลายเป็นนักธุรกิจไทยคนแรกและคนเอเชียคนแรกที่เป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลในพรีเมียร์ลีก ท่ามกลางความชื่นชมและร่วมแสดงความยินดีจากคนไทย

7. โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค โครงการเด่นของรัฐบาลยุคทักษิณ

หากพูดถึงทักษิณ ชินวัตร หากไม่เอ่ยถึงเรื่องโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค คงจะเหมือนรับประทานกุ้งที่ขาดน้ำจิ้มซีฟู้ด ในยุครัฐบาลทักษิณได้เกิดโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค หรือโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งเกิดจากการที่รัฐเล็งเห็นว่า โครงการดังกล่าว จะสามารถลดรายจ่ายด้านสุขภาพ และกระตุ้นให้ประชาชนออกมาหาหมอมากยิ่งขึ้น

โดยโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค จะเสียค่าใช้จ่ายเพียง 30 บาท/ครั้งเท่านั้น แน่นอนว่าโครงการดังกล่าวทำให้ประชาชนออกมาใช้บริการโรงพยาบาลมากยิ่งขึ้น และสามารถทำลายค่านิยมเก่า ๆ ว่าการเข้าถึงการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องของคนรวย ถือได้ว่าเป็นนโยบายที่ขับเคลื่อนวงการสาธารณะสุขและคุณภาพชีวิตของประชาชนได้เป็นอย่างดี

รวมเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับทักษิณ ชินวัตร
ภาพจาก : Thaksin Official

8. ยกระดับสินค้าไทยสู่สากล ผ่านโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

อีกหนึ่งนโยบายที่โดดเด่นในยุครัฐบาลทักษิณ คงหนีไม่พ้นโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) โครงการสร้างงานให้กับผู้ที่ยังไม่มีงานทำ ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้สินค้าภูมิปัญหาท้องถิ่น ทำให้ประชาชนสามารถลืมตาอ้าปากได้ และยังเป็นโครงการที่ยกระดับสินค้าท้องถิ่นภูมิปัญญาไทย ให้ไปไกลสู่สากลอีกด้วย

9. โครงการบ้านเอื้ออาทร เอื้อให้ประชาชนเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัย

สำหรับโครงการบ้านเอื้ออาทร ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย หรือประสงค์อยากจะมีบ้าน สามารถมีบ้านเป็นของตนเองได้ง่าย ๆ และยังสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

10. กินไก่ กินไข่ ต้านภัยไข้หวัดนก สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน

เมื่อช่วงปลาย พ.ศ. 2546 ประเทศไทยได้พบกับวิกฤติการแพร่ระบาดไข้หวัดนกสายพันธุ์ เอช 5 เอ็น 1 (H5N1) ทำให้สัตว์ปีกที่ติดเชื้อมีอาการรุนแรงและตายอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พี่น้องประชาชนชาวไทยไม่กล้าที่จะรับประทานไก่ ทำให้พ่อค้าแม่ขาย รวมถึงกิจการร้านค้าต่าง ๆ มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับรายได้ที่ลดลง

ท่ามกลางการแพร่ระบาดไข้หวัดนก รัฐบาลทักษิณ ได้กระตุ้นเศรษฐกิจในนาม “มหกรรมกินไก่ไทยปลอดภัย 100%” เพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นและหันกลับมาบริโภคไก่ ซึ่งภายในงานทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ทำการรับประทานไก่โชว์ พร้อมกับให้สื่อมวลชนนำภาพไปเผยแพร่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน

ทักษิณ กินไก่ สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน
ภาพจาก : พรรคเพื่อไทย

ทั้งหมดนี้คือ 10 เกร็ดเรื่องลับของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของไทย ที่ต้องบอกเลยว่าเต็มเปี่ยมไปด้วยภาวะความเป็นผู้นำ ไม่ว่าประเทศไทยจะประสบพบเจอกับปัญหาเรื่องอะไร รัฐบาลทักษิณ จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้ตลอด พร้อมทั้งนโยบายที่คอยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ตลอดวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

Wilasinee

นักเขียนที่ Thaiger เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ จบการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงรู้ลึกรู้จริงทั้งเรื่องวิชาการและเทรนด์กระแสโซเชียลที่สำคัญ มีประสบการณ์เขียนบทความออนไลน์กว่า 2 ปี งานอดิเรกชอบติดตามข่าวเศรษฐกิจ การลงทุน ติดต่อได้ที่ wilasinee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button