#saveศาลเจ้าแม่ทับทิม ชาวเน็ต-สังคมสายมู ปั่นแท็กเดือด ช่วยเจ้าแม่สู้ทุนนิยม หลังส่อแววเจอโดนทุบเร็ว ๆ นี้
ชาวเน็ตและกลุ่มสายมูเตลูลุกฮือติดแท็ก #saveศาลเจ้าแม่ทับทิม ช่วยเจ้าแม่สู้ทุนนิยม หลัง โบสถ์จีน สามย่าน อายุไม่ต่ำกว่า 50 ปีแล้วถูกทุบแล้ว เหตุแบกรับค่าเช่าที่จุฬาฯ ไม่ไหว
จากกรณีกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่งออกมาเคลื่อนไหวติดแฮชแท็ก #saveศาลเจ้าแม่ทับทิม เรีกยร้องเกี่ยวกับประเด็น “รื้อถอน” ที่นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) มีแผนการปรับปรุงพื้นที่ ศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง เพื่อเตรียมการก่อสร้างที่พักอาศัยและพื้นที่พาณิชย์ตามโครงการพัฒนาหมอน 33 ประธาน
ถึงตอนนี้ วันที่ 17 ก.ค.2566 แท็กศาลเจ้าเทวดาจีนดังกล่าว พยายามจะสื่อสารว่าการทุบทิ้งไปจนถึงการรื้อถอนครั้งนี้ ไม่ได้จบแค่การย้าย รื้อ สร้างศาลเจ้าแห่งใหม่ แต่ #saveศาลเจ้าแม่ทับทิม ยังต้องคำนึงไปถึงการที่จะรักษาวัฒนธรรมศาลเจ้า ที่ย้อนไปไกลถึงชาวจีนโพ้นทะเลสมัยที่เข้ามาตั้งรกรากในเมืองไทย ก่อนจะประกอบร่างเป็นชุมชนจีนเล็ก ๆ ขึ้นมา ด้วยการตั้งศาลเจ้าเป็นศูนย์กลางความศรัทธา และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางที่คอยขับเคลื่อน วิถีวัฒนธรรมของลูกหลานจีนบนแผ่นดินไทยมาถึงปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้าน-ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลุ่มหนึ่ง จึงได้ออกมาประท้วงการรื้อถอนและย้ายศาลเจ้าแห่งนี้มาอย่างต่อเนื่องและยาวนานตั้งแต่เริ่มมีคดีความ ด้วยเหตุผลว่าศาลเจ้าแม่ทับทิม “เป็นมากกว่าสิ่งปลูกสร้าง” มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของในชุมชน นิสิตและประชาชนที่ศรัทธา
โดยจากการสำรวจกระแสล่าสุด บนเทรนด์ทวิตเตอร์ที่พากันติดแฮชแท็กแสดงจุยืนครั้งนี้กันแพร่หลาย พบมีรายงานว่า ก่อนวันชี้ชะตาที่ศาลเตรียทนัดฟังคำพิพากษาที่ สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ จะฟ้องวันที่ 30 ส.ค. นี้ ทางศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลือง ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมงานเทศกาลทิ้งกระจาด (ซิโกว) ประจำปี 2566 ในวันที่ 26 ส.ค.66 นี้ ตั้งแต่เวลา 9.00-15.00 น.
ทั้งนี้ ใครที่ต้องการไปเป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลประจำปีที่ทางศาลเก่าแก่ อายุกว่า 150 ปี นี้เตรียมจะจัดขึ้นก็สามารถเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจอย่างเป็นทางการได้ โดยคลิกที่นี่
ส่วนประเด็นที่หลาย ๆ คน พยายามลงโพสต์ภาพพร้อมข้อความต่าง ๆ เพื่อสื่อถึงความรู้สึกผูกพันและคุณค่าทางจิตใจที่ไม่อยากเห็น อาคารเก่าแก่ที่มีคุณค่ามากมายเช่นนี้ถูกทำลายไปจนไม่เหลือเค้าโครงหรือร่องรอยแห่งอารยะธรรมเดิม เราได้รวมรวบคอมมเมนต์บางส่วนไว้ที่นี่แล้ว ด้านล่างนี้.