ข่าวการเมือง

จดใส่ปฏิทิน วันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี หลังได้ประธานสภาแล้ว

กางไทม์ไลน์สภา หลังจาก วันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานสภาแล้ว ต่อจากนี้ทิศทางการเมืองไทยจะไปทางไหน โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อไหร่ เตรียมจดวันที่ใส่ปฏิทินกันได้เลย

ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 1 ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) โดยมีวาระสำคัญคือการโหวตเลือกประธานสภา และรองประธานฯ ซึ่งผลโหวตทั้งหมดปรากฏว่า นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ส.ส. บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคประชาชาติ โดยไม่มีการเสนอชื่อคนอื่นมาแข่งขันด้วย ถือว่าที่ประชุมลงมติให้นายวันนอร์ เป็นประธานสภาโดยไม่ต้องมีการลงคะแนนแข่ง

ในส่วนของตำแหน่งรองประธานสภาที่หลายคนต่างจับตามองนั้น ท้ายที่สุดแล้ว หมออ๋อง ปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.ก้าวไกล ได้เป็นรองประธาน คนที่หนึ่ง ด้วยคะแนนโหวต 311 ต่อ 105 เสียง งดออกเสียง 76 และนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน ส.ส.เชียงราย จากพรรคเพื่อไทย มีมติเลือกให้เป็นประธานสภาคนที่สอง

ส่องไทม์ไลน์สภา ได้ประธานสภาแล้ว เลือกนายกรัฐมนตรีวันไหน

หลังจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ 1 ทำให้การโหวตเลือกประธานสภา และรองประธานสภา สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และผลโหวตที่ออกมานั้นถือว่าประชาชนส่วนใหญ่ต่างประทับใจเป็นอย่างมาก แต่เชื่อว่าหลายท่านอาจจะยังไม่ชัวร์ว่าเราจะได้นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 เมื่อไหร่ และเส้นทางการเมืองหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง โดยสามารถสรุปไทม์ไลน์ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ ดังนี้

วันที่ 4 กรกฎาคม 2566 ประชุมผู้แทนสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก เพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร

จากการประชุมสภาราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 1 ครั้งที่ 1 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้เสนอชื่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชาติ โดยไม่มี ส.ส. คนใดเสนอชื่อบุคคลอื่นเลย ทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ ได้ที่นั่งตำแหน่งประธานสภาไปโดยปริยาย

วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี

เมื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ‘วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ ประธานสภา จะเรียกประชุมทั้งสองสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งแล้วแต่ประธานรัฐสภาว่าจะให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีช่วงไหน

โดยประธานสภานัดประชุมรัฐสภาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทย ซึ่ง ส.ส. 250 คน และ ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้ง 250 คน จะมาโหวตเลือกนายกฯ ตามกติกาที่ระบุว่า ต้องได้เสียงสนับสนุนไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง หรือก็คือไม่น้อยกว่า 376 เสียง จึงจะได้รับเลือกเป็นนายกฯ ก่อนจะโปรดเกล้าฯ ต่อไป

วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

หลังจากฝ่าด่านการโหวตจาก ส.ส. และ ส.ว. แล้ว นายกคนที่ 30 ของประเทศไทย จะต้องทำการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ตั้งฝ่ายบริการชุดใหม่

ปลายเดือนกรกฎาคม 2566 ครม. ถวายสัตย์ปฏิญาณ รัฐบาลรักษาการ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดการทำงาน

เมื่อทำการแต่งตั้งรัฐมนตรีแล้ว จะต้องนำชื่อคณะรัฐมนตรีทูลเกล้า ฯ และพา ครม. ชุดใหม่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายสัตว์ปฏิญาณก่อนรับตำแหน่ง มีการคาดการณ์ว่าเราอาจะได้รัฐบาลใหม่ในช่วงเดือนสิงหาคม 2566 หากทุกอย่างเรียบร้อย จะมีการแต่งตั้ง คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในวันที่ 21 กรกฎาคม แล้วจึงถวายสัตย์ฯ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2566

ทั้งนี้ ต่อให้ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่แล้ว แต่คณะรัฐมนตรีชุดเดิม จะยังต้องปฏิบัติงานจนกว่า ครม.ชุดใหม่ จะถวายสัตย์ปฏิญาณตนเสร็จเรียบร้อย จึงจะสิ้นสุดวาระการทำงาน ซึ่งจะเริ่มนับหนึ่งในการยื่นแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่งในวันนั้น

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่กรอบเวลาตามกฎหมายเท่านั้น ยังไม่มีการระบุวันที่แน่นอนอย่างเป็นทางการ เนื่องจากการกำหนดวันโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็นไปตามคำสั่งของประธานสภาอย่าง ‘วันนอร์ วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ ประธานรัฐสภาคนปัจจุบันของประเทศไทย

เลือกนายกรัฐมนตรี วันไหน
ภาพจาก : หอสมุดรัฐสภา

สรุปแล้ว จากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 1 ครั้งที่ 1 โดยมีวาระสำคัญคือการโหวตเลือกประธานสภา และรองประธานฯ ซึ่งผลโหวตทั้งหมดปรากฏว่า นายวันนอร์ วันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานสภา โดยหลังจากนี้จะมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีต่อไปในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ที่จะถึงนี้ เพื่อชี้ชะตาเส้นทางการเมืองไทยว่า ‘พิธา ลิ้มเจริญรัตน์’ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทยหรือไม่

ขอบคุณข้อมูลจาก1

Wilasinee

นักเขียนที่ Thaiger เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ จบการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงรู้ลึกรู้จริงทั้งเรื่องวิชาการและเทรนด์กระแสโซเชียลที่สำคัญ มีประสบการณ์เขียนบทความออนไลน์กว่า 2 ปี งานอดิเรกชอบติดตามข่าวเศรษฐกิจ การลงทุน ติดต่อได้ที่ wilasinee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button