เปิดขั้นตอน เลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ชี้ชะตาการเมืองไทย 2566
สรุปมาให้ วิธีเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิด 4 ขั้นตอน วันที่ 4 กรกฎาคม 2566 นี้ชี้ชะตาประเทศไทย ลงคะแนนลับ เลือกกันอย่างไร ?
ยังคงดุเดือดไม่หยุด สำหรับการแย่งชิงตำแหน่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎร ของฝั่งผู้ชนะเลือกตั้ง 2566 ที่ทั้ง 2 พรรคร่วมรัฐบาลทั้งพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย ต่างก็ต้องการเก้าอี้ใหญ่สุดครอบครองตำแหน่งประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ แต่รู้หรือไม่ วิธีเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ต้องผ่านอะไรบ้าง วันนี้ Thaiger ได้เอาข้อมูลมาฝากทุกท่านแล้ว
เปิด 4 ขั้นตอน วิธีเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร 2566
สำหรับขั้นตอนการเลือก ประธานสภา และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร จะยึกข้อมูลตามตามข้อบังคับ การประชุมสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2562 กำหนดขั้นตอน ดังนี้
1. การเลือกประธานสภาและรองประธานสภาครั้งแรก
การเลือกประธานสภาและรองประธานสภาครั้งแรก ให้เลขาธิการเชิญสมาชิกผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม เพื่อให้ที่ประชุมดำเนินการ จากนั้นจึงเริ่มเลือกประธานสภาและรองประธานสภา และเพื่อให้ที่ประชุมดำเนินการในเรื่องอื่นที่จำเป็นจะต้องประชุมปรึกษาในการประชุมครั้งนั้นด้วย
(ถ้าผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมได้รับการเสนอชื่อ เป็นประธานสภาหรือรองประธานสภา ให้สมาชิกผู้มีอายุสูงสุดในลำดับถัดไปซึ่งอยู่ในที่ประชุมเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม)
2. การเลือกประธานสภา
การเลือกประธานสภา สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ การเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน ให้ผู้ถูกเสนอชื่อตามวรรคหนึ่ง กล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการที่จะดำรงตำแหน่งต่อที่ประชุม ภายในระยะเวลาที่ประธานกำหนด โดยไม่มีการอภิปราย
หากมีการเสนอชื่อเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรทันที แต่ถ้าหากมีการเสนอชื่อหลายชื่อ ให้ออกเสียงในรูปแบบ *ลงคะแนนลับ ให้ประธานประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกต่อที่ประชุม
3. การเลือกรองประธานสภา
วิธีเลือกรองประธานสภาผุ้แทนราษฎร ให้ทำลักษณะเดียวกันกับการเลือกประธานสภา ในกรณีที่สภามีมติให้มีรองประธานสภาสองคน ให้เลือกรองประธานสภาคนที่ 1 ก่อน แล้วจึงเลือกรองประธานสภาคนที่ 2
4. กราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ขึ้นแต่งตั้ง
หลังจากจบบ วิธีการเลือกปรธานสภาผุ้แทนราษฎร แล้วให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งไปยังนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งต่อไป เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งประธานสภาและรองประธานสภา ให้เลขาธิการ ส่งสำเนาประกาศพระบรมราชโองการไปยังวุฒิสภาเพื่อทราบ
ขั้นตอนการลงคะแนนลับ
การลงคะแนนลับ จะเกิดขึ้นในกรณีที่มีการเสนอชื่อหลายชื่อ เพื่อเป็นแคนดิเดตประธานสภาผู้แทนราษฎร จะให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ (อ้างอิงจากการเลือกตั้ง 2562) โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ขานชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเรียงคน ตามลำดับตัวอักษร ก.-ฮ.
- ให้แต่ละคน เขียนชื่อบุคคลที่ตนเลือกลงบนกระดาษที่เตรียมไว้
- ใส่ซองปิดผนึก หย่อนลงหีบลงคะแนน
- เมื่อลงรายชื่อเสร็จครบ กรรมการจากการจัดตั้ง 5 คนจากพรรคการเมืองหลัก จะเป็นผู้นับคะแนน
- ผู้ที่ได้รับคะแนนโหวตสูงสุด คือผู้ที่ได้ตำแหน่งประธานสภา
ทั้งนี้ ตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ถือเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญยิ่งอันเนื่องจากเป็นประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติที่จะต้องควบคุมกระบวนการในการออกกฎหมาย ตลอดจน การตรวจสอบและถ่วงดุลฝ่ายบริหาร เช่น การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล การตั้งกระทู้ถามคณะรัฐมนตรี เป็นต้น ซึ่งจะมีการตัดสินใจแล้วเสร็จในวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 นี้.
ข้อมูล สถาบันประปกเกล้า