ขั้นตอนช่วย ‘เรือดำน้ำไททัน’ หลังสูญหายกลาง มหาสุทรแอตแลนติก
เผยขั้นตอน วิธีช่วย เรือดำน้ำไททัน (Titan Submerible) หลังพานักท่องเที่ยว ดำน้ำดูซาก เรือไททานิค แล้วสูญหายอย่างปริศนา
ทีมกู้ภัยต้องทำงานแข่งกับเวลา หลังจากนักท่องเที่ยว 5 ชีวิต กำลังจมอยู่ใต้มหาสมุทรแอตแลนติก หลัง เรือดำน้ำไททัน (Titan Submerible) หายไประหว่างดำลงไปที่ ซากเรือไททานิค หน่วยกู้ภัยจะมีวิธีช่วยค้นหาเรือที่หายไปเกือบสามวันกลางมหาสมุทรได้อย่างไร ตามมาดูกระบวนการช่วยเหลือ ที่มีเวลาอีกไม่มากนี้กัน
วิธีช่วย เรือดำน้ำไททัน หลังสูญหายเพราะไปชม เรือไททานิค
เจาะจงพื้นที่ค้นหา
ลูกเรือของเรือดำน้ำไททันขาดการติดต่อกับเรือผิวน้ำ 1.45 ชั่วโมง หลังเรือดำน้ำไททัน ลงสู่น้ำ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 มิ.ย.66 และคาดว่าอากาศภายในเรือดำน้ำ กำลังจะหมดภายในวันพฤหัสบดี ที่ 22 มิ.ย.66 เวลาประมาณ 5 ทุ่ม
วิเคราะห์จากจุดหมายที่ เรือดำน้ำไททัน ต้องการจะเข้าไปชม นั่นคือ ซากเรือไททานิค ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเซนต์จอห์น รัฐนิวฟันด์แลนด์ไปทางใต้ประมาณ 700 กิโลเมตร และปัญหาหลักคือสภาพอากาศ และความลึกของท้องทะเล ที่นักประดาน้ำ ไม่สามารถดำลงไปสู่จุดนั้นได้
เรือที่ใช้ในปฏิบัติการค้นหา เรือดำน้ำไททัน
หน่วยงานของสหรัฐฯ และแคนาดา กองทัพเรือ และบริษัทพาณิชย์ใต้ทะเลลึก ต่างช่วยเหลือปฏิบัติการกู้ภัย ซึ่งกำลังดำเนินการจากเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ รวมถึง The Polar Prince เรือแม่ที่ปล่อย ไททันลงสู่มหาสมุทร ก็เข้าร่วมโดยใช้เรือ 7 ลำเพื่อค้นหา ในพื้นที่มากกว่า 25,000 ตร.กม. ด้วยความช่วยเหลือจากเครื่องบินทหารและทุ่นโซนาร์
- Polar Prince – เรือวิจัยที่เปิดตัวเรือดำน้ำไททัน
- Deep Energy – เรือวางสายเคเบิลเชิงพาณิชย์ ที่สามารถทำงานได้ลึกถึง 3,000 เมตร
- Atlantic Merlin – เรือขนส่งนอกชายฝั่งของแคนาดาพร้อมระบบกว้านยาว 4,000 เมตร ยังไม่ทราบว่าสามารถปฏิบัติการได้ลึกเพียงใด
- Skandi Vinland – เรือสนับสนุนใต้ทะเลสองลำ
- L’Atalante – เรือโดยฝรั่งเศสมุ่งหน้าสู่ที่เกิดเหตุ สามารถปฏิบัติการในระดับน้ำที่ความลึก เท่ากับซากเรือไททานิค
- Horizon Arctic – เรือพาณิชย์บรรทุกอุปกรณ์สนับสนุน
- Glace Bay (รอสแตนด์บาย) – เรือของกองทัพเรือแคนาดา ใช้บรรทุกและให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์
- John Cabot – เรือวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พร้อมความสามารถในการค้นหาโซนาร์ ดำเนินการโดยหน่วยยามฝั่งแคนาดา
- Ann Harvey – เรือตัดน้ำแข็งขนาดเล็ก ดำเนินการโดยหน่วยยามฝั่งแคนาดา
- Terry Fox (อยู่ระหว่างทาง) – เรือตัดน้ำแข็งขนาดใหญ่ ดำเนินการโดยหน่วยยามฝั่งแคนาดา
ปฏิบัติการค้นหา เรือดำน้ำไททัน
หน่วยกู้ภัยต้องสำรวจความลึกที่สามารถเข้าถึงได้เกือบ 4 กิโลเมตร สำหรับเรือดำน้ำยาว 6.7 เมตร เนื่องจากสัญญาณวิทยุและ GPS ไม่สามารถเดินทางผ่านน้ำได้ ในขณะที่เครื่องบิน P-3 Aurora ของแคนาดา ได้ทำการค้นหาด้วยโซนาร์ และทุ่นโซนาร์ เอาไว้สำหรับตรวจจับ และระบุวัตถุที่เคลื่อนไหวในน้ำ
หลังจากใช้วิธีการค้นหาด้วยทุ่นโซนาร์ หน่วยกู้ภัย จะฟังเสียงที่เกิดจากใบพัดและเครื่องจักร รวมถึงการที่ลูกเรือส่งเสียงรบกวนกับตัวเรือ หรือโดยการส่งโซนาร์ “ping” ออกจากพื้นผิวของเรือ เพื่อใช้หลักการสะท้อนเสียงของน้ำ
ยิ่งมีทุ่นที่รับสัญญาณได้มากเท่าใดก็ยิ่งสามารถหาตำแหน่งของแหล่งที่มาได้แม่นยำมากขึ้นเท่านั้น โดยการจับเวลาว่าสัญญาณจะใช้เวลานานเท่าใดในการไปถึงทุ่นแต่ละอัน จากนั้นพิจารณาว่าทุ่นแต่ละอันอยู่ไกลแค่ไหน
หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ระบุว่า เครื่องบินของแคนาดาตรวจพบ “เสียงใต้น้ำ” หลายครั้งในคืนวันอังคารและเช้าวันพุธ แต่ไม่สามารถยืนยันรายงานของสื่อสหรัฐฯ ที่ระบุว่าตรวจพบเสียงกระแทก ใต้น้ำในช่วงเวลา 30 นาที
หน่วยกู้ภัยจะทำอย่างไรหากเรือดำน้ำอยู่ก้นทะเล ?
ความพยายามในการค้นหาพื้นมหาสมุทรในบริเวณนั้นอาจดำเนินการโดย ยานควบคุมระยะไกลไร้คนขับ (ROV) ดดยในตอนนี้มี ROV สองเครื่องกำลังค้นหาเรือดำน้ำไททัน โดยมุ่งเน้นไปที่บริเวณที่ตรวจพบเสียง ซึ่งมีรายงานว่าสามารถไปถึงความลึกได้ถึง 4,000 เมตร ซึ่งใกล้เคียงกับจุดของ ซากเรือไททานิค
หากเรือดำน้ำไททัน อยู่ก้นทะเลและไม่สามารถกลับขึ้นมาได้ด้วยเครื่องยนต์ตัวเอง อาจทางเลือกในการช่วยเหลือไม่มาก โดยนักวิทยาศาตร์กล่าวว่า
“ถ้ามันลึกกว่า 200 เมตร มีเรือไม่กี่ลำที่สามารถลงไปได้ลึกขนาดนั้น และแน่นอนว่านักประดาน้ำ ก็ไม่สามารถดำน้ำได้ ยานที่ออกแบบมาสำหรับกู้ภัยเรือดำน้ำของกองทัพเรือไม่สามารถลงไปใกล้ระดับความลึกของเรือไททานิคได้อย่างแน่นอน”
ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ เคยใช้ ROV และ US Navy Flyaway Deep Ocean Salvage System ระบบเครื่องกว้านแบบพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อให้ความสามารถในการยก วัตถุที่จมลงใต้มหาสมุทรลึกสำหรับการกู้คืนวัตถุใต้ทะเลขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก รวมถึงวัตถุประสงค์ในปฏิบัติการกู้เรือที่ระดับความลึกของเรือไททานิค ค้นหาและกู้เครื่องบินขับไล่ที่ตกจากความลึก 3,780 เมตร ในทะเลจีนใต้เมื่อปีที่แล้ว
ขอบคุณข้อมูล BBC