ข่าว

เปิด “ลำดับยศตำรวจ” 2566 มีอะไรบ้าง พร้อมหน้าที่รับผิดชอบในตำแหน่ง

สรุป “ลำดับยศตำรวจ” อัปเดต 2566 ชื่อเรียกภาษาไทย ภาษาอังกฤษ พร้อมตัวย่อ เข้าใจอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งข้าราชการตำรวจ ตั้งแต่ ตำรวจยศสิบตรี ไปจนถึงยศ พลตำรวจเอก

ไขข้อสงสัย ลำดับยศข้าราชการตำรวจ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ข้อมูลยศตำรวจไทยแบบตัวย่อ ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ในชุดสีกากี แต่ละตำแหน่งมีหน้าที่อย่างไรบ้าง พาย้อนดูตั้งแต่ตำรวจชั้นเริ่มต้น (ชั้นประทวน) ไปจนถึงลำดับชั้นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ขั้นสัญญาบัตร) เปิดระดับขั้นบันไดสู่ความก้าวหน้าในตำแหน่งของอาชีพ

Advertisements

ทั้งนี้ ทีมบทความ Thaiger ได้สืบค้นข้อมูลเอาไว้ที่นี่แล้วเกี่ยวกับข้อมูลของ ลำดับขั้นของตำรวจนั้นมีอะไรบ้าง แนะนำ 2 ลำดับชั้นใหญ่ และหน้าที่ตามตำแหน่งข้าราชการตำรวจ เช็กรายละเอียดได้ที่นี่เลย

14 ลำดับยศข้าราชการตำรวจไทย มีอะไรบ้าง?

การแบ่งลำดับชั้นของตำรวจนั้น หลัก ๆ จะแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ ชั้นประทวน และชั้นสัญญาบัตร ทั้งสองลำดับนี้จะมีผลทั้งของฐานเงินเดือนและตำแหน่งหน้าที่ความรับชอบครับ ซึ่งจะมีรายละเอียดตามดังนี้ครับ

ยศตำรวจชั้นประทวน

ตำรวจชั้นประทวน คือตำรวจที่มียศสิบตำรวจตรี – ดาบตำรวจ โดยผ่านการคัดเลือกจากอธิบดีกรมตำรวจเพื่อบรรจุให้เป็นตรวจชั้นประทวน เป็นชั้นตำรวจที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุุด มีทั้งหมด 5 ยศ ดังนี้

1. สิบตำรวจตรี หรือ ส.ต.ต. (Police Lance Corporal)

2. สิบตำรวจโท หรือ ส.ต.ท. (Police Corporal)

Advertisements

3. สิบตำรวจเอก หรือ ส.ต.อ. (Police Sergeant)

4. จ่าสิบตำรวจ หรือ จ.ส.ต. (Police Sergeant Major)

5. ดาบตำรวจ หรือ ด.ต. (Police Senior Sergeant Major)

ยศตำรวจไทย 2566 (3)

ยศตำรวจชั้นสัญญาบัตร

ตำรวจชั้นสัญญาบัตร คือ ตำรวจที่ได้มียศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป โดยผ่านการคัดเลือกจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สามารถก้าวได้สู่ยศนายพลตำรวจ ตำรวจชั้นสัญญาบัตร โดยมากจะได้รับการยกย่อง ความน่าเชื่อถือและการให้เกียติค่อนข้างมาก มีทั้งหมด 9 ยศ ดังนี้

1. ร้อยตำรวจตรี หรือ ร.ต.ต. (Police Sub-Lieutenant)

2. ร้อยตำรวจโท หรือ ร.ต.ท. (Police Lieutenat)

3. ร้อยตำรวจเอก หรือ ร.ต.อ. (Police Captain)

4. พันตำรวจตรี หรือ พ.ต.ต. (Police Major)

5. พันตำรวจโท หรือ พ.ต.ท. (Police Lieutenant Colonel)

6. พันตำรวจเอก หรือ พ.ต.อ (Police Colonel)

7. พลตำรวจตรี หรือ พล.ต.ต. (Police Major General)

8. พลตำรวจโท หรือ พล.ต.ท. (Police Lieutenant General)

9. พลตำรวจเอก หรือ พล.ต.อ. (Police General)

ตำแหน่ง ข้าราชการตำรวจ

ในแต่ละตำแหน่งของข้าราชการตำรวจนั้นจะถูกบรรจุและแต่งตั้งให้ดูแลในส่วนงานต่าง ๆ อันมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่างกันออกไปในแต่ละสังกัดหน่วยงาน หน้าที่เหล่านี้ก็จะสมดุลใกล้เคียงกับยศที่ตำรวจนั้นมีอยุ่ตามลำดับขั้น ซึ่งจะมีทั้งหมด 13 ตำแหน่ง ดังนี้

1. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)

2. จเรตำรวจแห่งชาติและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.)

3. ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วย ผบ.ตร.)

4. ผู้บัญชาการ (ผบช.)

5. รองผู้บัญชาการ

6. ผู้บังคับการและพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญพิเศษ

7. รองผู้บังคับการและพนักงานสอบสวนผู้เชี่ยวชาญ

8. ผู้กำกับการและพนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ

9. รองผู้กำกับการและพนักงานสอบสวนผู้ชาญการพิเศษ

10. สารวัตรและพนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ

11. รองสารวัตรและพนักงานสอบสวน

12. ผู้บังคับหมู่

13. รองผู้บังคับหมู่

บทบาทอำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ

อำนาจหน้าที่โดยหลักของราชการตำรวจนั้น โดยหลักแล้วก็จะมีหน้าที่ดูรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนและพระมหากษัตริย์ ดูแลควบคุมกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการ ป้องกันปราบปรามมความผด รักษาความสงบเรียบร้อย ต่าง ๆ ที่จะแบ่งแยกกันออกไปตำแหน่งข้าราชการตำรวจครับ

อ้างอิง : 1

ยศตำรวจไทย 2566

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button