ทำความรู้จัก “คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก” ประจำวันพุธที่ 31 พฤษภาคม 2567 ได้กําหนดคำขวัญในประเทศไทยเนื่องใน วันงดสูบบุหรี่โลก (WORLD NO TOBACCO DAY) คือ “ร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า” เพื่อใช้เป็นแนวทางการสื่อสารรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบในทิศทางเดียวกันตลอดปีตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดเอาไว้
ทั้งนี้ในทุกวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี นอกจากองค์การอนามัยโลก จะกำหนดให้ “วันงดสูบบุหรี่โลก” มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ภัยอันตรายต่อสุขภาพของการสูบบุหรี่ในแต่ละประเทศ ก็จะมีการคิดคำขวัญการรณรงค์ให้งดสูบบุหรี่ตามประเด็ดที่ประเทศนั้น ๆ ต้องการจะสื่อสารออกมานั่นเอง
ย้อนไทม์ไลน์ “คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก” ปีก่อนหน้านี้
ชวนย้อนดู คำขวัญ วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2567 – พ.ศ. 2531 รวม 37 ปี จะมีคำขวัญประโยคไหนน่าสนใจบ้าง เข้ามาอ่านกันได้เลยครับ
- คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2567 คือ ร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า
2. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2566 คือ บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย
3. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2565 คือ บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อม
4. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2564 คือ เลิกสูบ ลดเสี่ยง คุณทำได้
5. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2563 คือ ติดบุหรี่ ติดโควิด เสี่ยงตายสูง #เลิกสูบลดเสี่ยง
6. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2562 คือ บุหรี่เผาปอด (Tobacco burns your lungs)
7. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2561 คือ บุหรี่ตัวร้าย ทำลายหัวใจ (Tobacco Break Heart)
8. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2560 คือ บุหรี่ ภัยคุกคามต่อการพัฒนา (Tobacco-a threat to development)
9. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2559 คือ ซองบุหรี่แบบเรียบ ลดภัยเงียบ ลดโรค (Get ready for plain packaging)
10. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2558 คือ หนุนกฎหมายบุหรี่ใหม่ เพื่อคุณภาพชีวิตคนไทย (Stop illicit trade of tobacco products)
11. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2557 คือ บุหรี่ : ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด (Raise taxes on tobacco)
12. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2556 คือ ไม่ใช้ ไม่รับ ไม่สนับสนุนโฆษณายาสูบร้าย ทำลายชีวิต (Ban tobacco advertising, promotion and sponsorship)
13. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2555 คือ จับตา เฝ้าระวัง ยับยั้งอุตสาหกรรมยาสูบ (Tobacco Industry Interference)
14. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2554 คือพิทักษ์สิทธิตามกฎหมาย มุ่งสู่สังคมไทยปลอดบุหรี่ (The WHO Framework Convention on Tobacco Control)
15. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2553 คือ หญิงไทยฉลาด ไม่เป็นทาสตลาดบุหรี่ (Gender and Tobacco With an Emphasis on Marketing to women)
16. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2552 คือ บุหรี่มีพิษ ร่วมคิดเตือนภัย (Tobacco Health Warnings)
17. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2551 คือ เยาวชนรุ่นใหม่ ร่วมใจ ต้านภัยบุหรี่ (Tobacco-free Youth)
18. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2550 คือ ไร้ควันบุหรี่ สิ่งแวดล้อมดี ชีวีสดใส (100% Smoke-Free Environments : Create and Enjoy)
19. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2549 คือ บุหรี่ทุกชนิดนำชีวิตสู่ความตาย (Tobacco: Deadly in any form or disguise)
20. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2548 คือ ทีมสุขภาพร่วมใจ ขจัดภัยบุหรี่ (Health Professionals and Tobacco Control)
21. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2547 คือ บุหรี่ : ยิ่งสูบ…ยิ่งจน (ครอบครัวปลอดบุหรี่ จะมั่งมีและแข็งแรง) (Tobacco and Poverty (A Vicious Circle))
22. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2546 คือ ภาพยนตร์ปลอดบุหรี่ ส่งผลดีต่อเยาวชน (Tobacco-free films, tobacco-free fashion)
23. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2545 คือ กีฬาปลอดบุหรี่ ส่งผลดีต่อสุขภาพ (Tobacco-Free Sports – Play it clean)
24. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2544 คือ เห็นใจคนรอบข้าง ร่วมสร้างอากาศสดใส ปลอดจากภัยควันบุหรี่ (Second-Hand Smoke: Let’s Clear the Air)
25. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2543 คือ บุหรี่คร่าชีวิต อย่าหลงผิดตกเป็นเหยื่อ (Tobacco kills, don’t be duped)
26. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2542 คือ อนาคตมีคุณค่า เมื่อบอกลา…เลิกบุหรี่ (Leave the pack behind)
27. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2541 คือ คนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่ (Growing up without tobacco)
28. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2540 คือ ผนึกกำลังเพื่อสังคมปลอดบุหรี่ (United for a Tobacco-Free World)
29. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2539 คือ ศิลปะและกีฬาไม่พึ่งพาบุหรี่ (Sport and the arts: play it tobacco-free)
30. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2538 คือ บุหรี่ก่อความสูญเสีย ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ (Tobacco-Free Economies: A Win-Win Choice)
31. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2537 คือ ทุกสื่อร่วมใจต้านภัยบุหรี่ (The media against tobacco)
32. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2536 คือ บุคลากรสาธารณสุขร่วมสร้างสรรค์สังคมปลอดบุหรี่ (Health services, our window to a tobacco-free world)
33. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2535 คือ ที่ทำงานปลอดบุหรี่ สุขภาพดี ชีวีปลอดภัย (Tobacco free work places : Safer and healthier)
34. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2534 คือ สถานที่สาธารณะและยวดยานปลอดบุหรี่ (Public places and transport : Better be tobacco free)
35. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2533 คือ เติบโตอย่างสดใส ห่างไกลจากภัยบุหรี่ (Growing up without tobacco)
36. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2532 คือ พิษของบุหรี่ต่อสตรี ยิ่งมีมากกว่าบุรุษ (Women and Tobacco : Added risk)
37. คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก พ.ศ. 2531 คือ บุหรี่หรือสุขภาพ ต้องเลือกสุขภาพ (Between tobacco and the health, choose health)
บุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้า และบุหรี่พอตไฟฟ้า แบบไหนอันตรายกว่า?
แม้ว่าคำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกในประเทศไทย ประจำวันที 31 พฤษภาคม 2566 คือข้อความว่า “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย” แต่ในปัจจุบันมีประเภทบุหรี่แบ่งออกได้หลัก ๆ 3 แบบ ได้แก่ บุหรี่แบบมวนปกติ, บุหรี่ไฟฟ้า, และบุหรี่ไฟฟ้าพอตหรือพอตใช้แล้วทิ้ง (Disposable Vape) ซึ่งแต่ละแบบก็มีลักษณะการให้โทษต่อสุขภาพร่างกายแตกต่างกันออกไป
อย่างที่ทราบกันดีว่าการสูบบุหรี่แบบมวนปกติ (CIGARETTE) ที่มีการเผาไหม้นิโคลตินและสารเคมีอื่น ๆ แบบเข้มข้น ก็จะส่งผลต่อสุขภาพของระบบทางเดินหายใจและอวัยวะอื่น ๆ โดยตรง
ส่วนบุหรี่ไฟฟ้านั้น (ELECTRIC CIGARETTE) ต่างจากพอตบุหรี่ไฟฟ้า และบุหรี่มวน ตรงที่บุหรี่ไฟฟ้าแบบทั่วไป จะใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนและไอน้ำที่ประกอบไปด้วยสารเคมีต่าง ๆ โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ปกติทั่วไป นอกจากนี้ยังตรวจพบสารประกอบอีกมากมายในไอของบุหรี่ไฟฟ้า ที่มีข้อมูลว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายไม่ว่าจะเป็น โลหะหนัก สารหนู สารกลุ่ม Formaldehyde และกลุ่ม Benzene เป็นต้น
ต่อมาคือบุหรี่ประเภทที่เป็นประเด็นในสังคมไทยมากที่สุด คือ “บุหรี่ไฟฟ้าใช้แล้วทิ้ง” หรือ พอตใช้แล้วทิ้ง (Disposable Vape) เนื่องจากนิยามและขอบเขตของการใช้บุหรี่ชนิดดังกล่าวในประเทศไทยที่ยังคงมีความคลุมเคลือ และกระแสต่อต้านจากคนบางกลุ่มที่อ้างว่าบุหรี่แบบพอตอันตรายกว่าบุหรี่แบบมวนทั่วไป ทั้งที่มีผลงานวิจัยจากสถาบันต่างประเทศออกมามากมายจาก แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ได้สำรวจปัจจัยด้านสุขภาพ งานวิจัยใหม่เสนอหลักฐานที่สำคัญว่าบุหรี่ไฟฟ้าแบบ “พ็อด” นั้นทำลายสุขภาพน้อยกว่าบุหรี่แบบดั้งเดิมนั่นเอง
แนวทางการสื่อสารรณรงค์ คําขวัญวันงดสูบบุหรี่โลก 2566
อย่างไรก็ตาม สําหรับประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2566 ได้กําหนดประเด็นรณรงค์เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก ว่า “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย” เพื่อใช้เป็นแนวทางการสื่อสารรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบในทิศทางเดียวกันตลอดปี โดยมีวัตถุประสงค์ ทั้งหมด 4 ข้อดังนี้
- เพื่อมุ่งเน้นสร้างการรับรู้ถึงอันตรายของการเสพติดบุหรี่ไฟฟ้า
- เพื่อให้รู้ถึงอันตรายของสารพิษต่างๆ ที่อยู่ในบุหรี่ไฟฟ้า
- เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชนไม่ให้เริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้า
- เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงปัญหาและอันตรายของสารพิษในบุหรี่ไฟฟ้า
ด้วยเหตุนี้ การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ในประเด็น “บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษ เสพติด อันตราย” จึงเป็น ภารกิจที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชนรวมไปถึงองค์กรภาคประชาคมในการ เผยแพร่ข้อมูล เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเด็ก เยาวชน เกิดความ ตระหนักถึงภัยจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้า โดยมุ่งเป้าในการลดปัญหาการระบาดของบุหรี่ไฟฟ้า และปกป้องเด็ก เยาวชนไทยไม่ให้เข้าถึง เพื่อมิให้กลายเป็นนักสูบหน้าใหม่ต่อไป