เปิดคุณสมบัติ ‘ประธานสภา’ มีหน้าที่สำคัญอะไรบ้าง : เลือกตั้ง 2566
เลือกตั้ง 2566 ชวนทำความรู้จัก “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” คือ หนึ่งในตำแหน่งที่มีบทบาท และอำนาจ หน้าที่ ต่อการกำหนดทิศทางทางการเมืองประเทศไทย หลังกรณีเกิดประเด็นเกี่ยวกับศึกแย่งชิงตำแหน่งแบ่งเค้กเก้าอี้ในสภาฯ ว่าต้องมีตัวแทนจากพรรคการเมืองใด ที่สามารถเข้าร่วมได้บ้าง ส่งผลให้ตำแหน่งของ “ประธานสภาฯ” ที่เปรียบได้กับกรรมการควบคุมเกมให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญอย่างเหมาะสม จึงถูกจับตามองบทบาทหน้าที่อย่างใกล้ชิด
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ดำรงตำแหน่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนปัจจุบัน (รักษาการ) คือ “พรเพชร วิชิตชลชัย” ถูกแต่งตั้งเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 ตามวาระของสภาผู้แทนราษฎร
ทั้งนี้ ทีมงาน Thaiger จะขอพาผู้อ่านทุกท่านไปสำรวจความสำคัญ คุณสมบัติ อำนาจ บทบาทหน้าที่ ความหมาย รวมไปถึงไทม์ไลน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ไม่ได้มาจากพรรคอันดับหนึ่งปีไหนบ้าง พร้อมเกร็ดสาระความรู้ใดน่าสนใจต่าง ๆ สามารถเข้ามาอ่านในนี้กันได้เลยครับ
ประธานสภาคือใคร มีหน้าที่ อะไรบ้าง
ประทานสภา หรือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร (ภาษาอังกฤษ : Speaker) คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามมติของสภาผู้แทนราษฎร หรือกล่าวได้ว่าประทานสภาฯ คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ถูกเสนอชื่อแล้วพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งขึ้นมา
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจ บทบาท หน้าที่ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบังคับ จัดว่าเป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อควบคุมกิจการหรือการประชุมรัฐสภาให้เป็นไปตามขั้นตอน รวมไปถึงการเป็นผู้นำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่มักเห็นบทบาทหน้าที่ของประธานสภาฯ ชัดเจนที่สุดในช่วงวาระการประชุมสภา ที่ต้องควบคุมพรรคการเมืองฝั่งรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้าน ในการหารือโต้เถียงในประเด็นต่าง ๆ
เป็นผู้วินิจฉัยอนุญาต หรือสั่งจำกัดการอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในสภาให้เป็นไปตามระเบียบของรัฐธรรมนูญ โดยประธานสภาจะต้อง วางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ เปรียบได้กับหัวหน้าห้อง หรือกรรมการควบคุมเกมให้เป็นไปตามกติกา
หน้าที่สำคัญของ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
นอกจากนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ยังมีบทบาทสำคัญอื่น ๆ ทั้งหมด 8 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. เป็นประธานของที่ประชุม และต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่
2. กำกับดูแลการดำเนินกิจการของสภา
3. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกฯ
4. ควบคุมการรักษาความสงบเรียบร้อยในที่ประชุม ตลอดถึงบริเวณสภา เช่น การยุติการอภิปรายของสมาชิก ส.ส. ไม่ว่าจะ
5. เป็นการกล่าวด้วยวาจา ปิดไมค์ ใช้ค้อนทุบ หรือยืนขึ้น เป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอก
6. แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใด ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภา
7. เป็นผู้นำชื่อนายกรัฐมนตรี ขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์ เพื่อให้โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกฯ หลังสภาฯ มีมติเลือก
8. หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ เช่น การบรรจุญัตติเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุม กำหนดวิธีการตรวจสอบองค์ประชุม สั่งพักการประชุม เลื่อนการประชุมหรือเลิกการประชุมได้ตามที่เห็นสมควร
ประธานสภาฯ มาจากไหน เลือกยังไง
อ้างอิงตาม ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประจำพุทธศักราช 2562 หมวดที่ 1 ได้กำหนดเงื่อนไขการเลือกประธานสภาฯ และเงื่อนไขตามวิธีการดังต่อไปนี้
ข้อ ๕ การเลือกประธานสภาและรองประธานสภาครั้งแรก ให้เลขาธิการเชิญสมาชิก ผู้มีอายุสูงสุดซึ่งอยู่ในที่ประชุมเป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม เพื่อให้ที่ประชุมดำเนินการ เลือกประธานสภาและรองประธานสภา และเพื่อให้ที่ประชุมดำเนินการในเรื่องอื่นที่จำเป็นจะต้อง ประชุมปรึกษาในการประชุมครั้งนั้นด้วย ในการดำเนินการเลือกตามวรรคหนึ่ง ถ้าผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมได้รับการเสนอชื่อ เป็นประธานสภาหรือรองประธานสภา ให้สมาชิกผู้มีอายุสูงสุดในลำดับถัดไปซึ่งอยู่ในที่ประชุม เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุม
ข้อ ๖ การเลือกประธานสภา สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ การเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน ให้ผู้ถูกเสนอชื่อตามวรรคหนึ่ง กล่าวแสดงวิสัยทัศน์ในการที่จะดำรงตำแหน่งต่อที่ประชุม ภายในระยะเวลาที่ประธานกำหนด โดยไม่มีการอภิปราย ถ้ามีการเสนอชื่อผู้ใดเพียงชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้ถูกเสนอชื่อนั้นเป็นผู้ได้รับเลือก ถ้ามีการเสนอชื่อ หลายชื่อ ให้ออกเสียงลงคะแนนเป็นการลับ ให้ประธานประกาศชื่อผู้ได้รับเลือกต่อที่ประชุม
ข้อ ๗ การเลือกรองประธานสภา ให้นำความในข้อ 6 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่สภามีมติให้มีรองประธานสภาสองคน ให้เลือกรองประธานสภาคนที่หนึ่งก่อน แล้วจึงเลือกรองประธานสภาคนที่สอง
ข้อ ๘ เมื่อเลือกประธานสภาและรองประธานสภาได้แล้ว ให้เลขาธิการมีหนังสือแจ้งไปยัง นายกรัฐมนตรีโดยเร็ว เพื่อน าความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งต่อไป เมื่อพระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งประธานสภาและรองประธานสภาแล้ว ให้เลขาธิการ ส่งสำเนาประกาศพระบรมราชโองการไปยังวุฒิสภาเพื่อทราบด้วย
สรุปได้ว่าผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎร อ้างอิงตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประจำพุทธศักราช 2562 หมวดที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ที่จะสามารถชี้นิ้วเลือกหรือเกิดจากการโหวตได้เลยทันที หากแต่ต้องผ่านกระบวนการตามข้อกำหนดรัฐธรรมนูญ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างที่กล่าวไปข้างต้นนั่นเอง
คุณสมบัติของ “ประธานสภาผู้แทนราษฎร”
จากกระแสการเมือง ควันหลงหลังเลือกตั้ง 2566 และศึกชิงเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำให้มีหลายคนสงสัยว่า ตำแหน่งประธานสภาฯ ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ทีมงาน Thaiger ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว มีรายละเอียดดังนี้
1. ตำแหน่ง ประธานสภาฯ ส่วนมากจะต้องมาจาก พรรคที่มีคะแนนเสียงอันดับหนึ่ง แม้ว่าจะไม่ได้มีข้อกำหนดชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นนี้ แต่ก็เป็นที่ปฏิบัติกันมาก่อนหน้านี้ในแวดวงการเมืองไทย อย่างไรก็ตามการแต่งตั้งประธานสภาฯ อาจเกิดได้จากการหารือตกลงกันระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลเสียงข้างมาก
2. ต้องเป็นผู้ที่ผ่านขั้นตอนการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ประจำพุทธศักราช 2562 หมวดที่ 1 ข้อที่ 5-8
ย้อนไทม์ไลน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร์ ที่ไม่ได้มาจากพรรคอันดับหนึ่ง
ทั้งนี้ตลอดช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา คือระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2535-2562 ได้มีประธานสภาฯ ที่ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองเสียงข้างมากอันดับหนึ่งด้วยเช่นกัน
ประธานสภาฯ ที่ไม่ได้มาจากพรรคการเมืองเสียงข้างมากครั้งแรกในรอบ 20 ปี เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2562 สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 ของประเทศไทย คือ ประธานสภาฯ นายชวน หลีกภัย ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ มีที่นั่งในสภา 52 เสียง เท่านั้น