ไลฟ์สไตล์

เวียนเทียนวันไหนบ้าง 2566 ทำเพื่ออะไร พร้อมบทสวดที่ได้รับบุญเต็ม ๆ

เวียนเทียน 2566 วันไหนบ้าง วันสำคัญพระพุทธศาสนา วันใดบ้างที่มีพิธีเวียนเทียน เวียนเทียนเพื่ออะไร พร้อมบอกวิธีการเวียนเทียนที่ถูกต้อง เช็กเลยที่นี่

หนึ่งในสิ่งที่พุทธศาสนิกชนปฏิบัติเป็นประจำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือการเวียนเทียน แต่หลายคนก็อาจจะยังสับสนกันได้ว่าพิธีเวียนเทียนมีวันไหนบ้าง ทำไมถึงต้องมีพิธีเวียนเทียน ในวันนี้ Thaiger จะพาทุกคนไปไขข้อข้องใจ เวียนเทียน 2566 วันไหนบ้าง พร้อมบอกวิธีเวียนเทียนที่ถูกต้อง ถ้าพร้อมแล้วมาอ่านไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

Advertisements

การเวียนเทียนคืออะไร ทำไมต้องเวียนเทียน

การเวียนเทียน คือการเดินเวียนรอบปูชนียสถานสำคัญ เช่น อุโบสถ วิหาร หรือพระพุทธรูปเพื่อระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ซึ่งประเทศไทยรับคตินิยมนี้มา และนำมาปรับประยุกต์ให้เข้ากับพื้นฐานทางวัฒนธรรมของไทย โดยนำมาใช้เป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อพระรัตนตรัยมาตั้งแต่โบราณ

นอกจากนี้ การเวียนเทียนยังเป็นการแสดงความเคารพและระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในวันสำคัญต่าง ๆ โดยใช้ธูป เทียนและดอกไม้ เป็นเครื่องสักการะบูชา เดินเวียนรอบอุโบสถ 3 รอบ ทำการเวียนขวา เป็นการแสดงออกและแสดงความเคารพอย่างสูงสุด

เวียนเทียน วันไหนบ้าง

พิธีเวียนเทียน 2566 จัดวันไหนบ้าง

การเวียนเทียนถือเป็นพิธีกรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม วันสำคัญทางศาสนาทุกคนก็ไม่ได้มีการเวียนเทียน แต่เดิมกำหนดให้มีการเวียนเทียน 3 วัน ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา ซึ่งในภายหลังได้เพิ่มวันอาสฬหบูชาขึ้นมาอีก 1 วัน รวมมีวันที่กำหนดเทียนเทียนเป็น 4 วัน ดังนี้

1. วันมาฆบูชา

Advertisements

วันมาฆบูชา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางพุทธศาสนาหลายอย่าง เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือมีเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ นอกจากนี้ยังเป็นวันที่มีความสำคัญคือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก ซึ่งกลายมาเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาอีกด้วย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือวันที่ 6 มีนาคม 2566

2. วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา ได้ถูกรับรองให้เป็นวันสำคัญสากล ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ซึ่งเกิดขึ้นในวันและเดือนเดียวกัน ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หากปีใดมีอธิกมาส จะเลื่อนไปเป็นเดือน 7 ซึ่งในปีนี้วันวิสาขบูชาจะตรงกับวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2555

3. วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา มีความสำคัญคือเป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพาน 8 วัน ในครั้งนั้น มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วย พระมหากัสสปะเถระ พระภิกษุสงฆ์ และชาวพุทธ ได้ร่วมกันถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์แห่งกรุงกุสินารา ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งในปี 2566 วันอัฏฐมีบูชาจะตรงกับวันที่ 11 มิถุนายน 2566

4. วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนา หรือเทศน์กัณฑ์แรก ที่มีชื่อว่า “ธัมจักรกัปปวัตตนสูตร” เป็นครั้งแรก โปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมือง พาราณสี หลังตรัสรู้ได้ 2 เดือน ผลของพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้ เป็นเหตุให้ พระอัญญา โกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขอบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุองค์แรกของพระพุทธศาสนา สำหรับวันอาสาฬหบูชาจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 สำหรับปี 2566 ตรงกับวันที่ 1 สิงหาคม 2566

นอกเหนือจากวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวไปข้างต้น ในบางวัด บางจังหวัด อาจมีการจัดพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญอื่น ๆ ตามขนมธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น เช่น บางวัดใดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมจัดพิธีเวียนเทียนในวันออกพรรษา

พิธีเวียนเทียน จัดวันไหนบ้างในปี 2566

วิธีการเวียนเทียน 2566

ก่อนที่จะเข้าสู่พิธีเวียนเทียนสิ่งที่ต้องเตรียมไปด้วยก็คือ จิตใจที่บริสุทธิ์ นึกถึงพระรัตนตรัย หากรู้สึกจิตฟุ้งซ่านให้กำหนดลมหายใจ ภาวนาพุทโธ รวมถึงเตรียมดอกไม้ธูปเทียนตามระเบียบประเพณี จากนั้นให้เดินไปสักการะพระพุทธรูปที่เป็นประธานในโบสถ์แล้วจึงออกมาเริ่มต้นเวียนเทียนนับจากด้านหน้าโบสถ์ จากนั้นให้เดินวนรอบโบสถ์ไปทางด้านขวามือ 3 รอบ พร้อมสวดมนต์ไปด้วย ดังนี้

รอบที่ 1 ให้ระลึกถึงพระคุณ โดยสวดบทอิติปิโส

อิติปิโส ภะคะว่า อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุขโต โลกะวิทู อนุตตะโร ปุริสสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

รอบที่ 2 ให้ระลึกถึงพระธรรมคุณ โดยสวดบทสวากขาโต

สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ

รอบที่ 3 ให้ระลึกถึงพระสังฆคุณ โดยสวดบทสุปะฏิปันโน

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวกะสังโฆ

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐปุริสปุคคะลา เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อนุตตะรัง ปัญญักเขตตัง โลกัสสาติ

หลังจากเวียนเทียนครบ 3 รอบหยุดที่พระพุทธรูปปางประธาน ณ จุดเริ่มต้นอีกครั้ง ให้นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปวางและปักบูชาในที่ที่จัดเตรียมไว้ และขอพรอธิษฐาน เป็นอันเสร็จสิ้นการเวียนเทียน

เวียนเทียน 2566 มีวันอะไรบ้าง

ขอบคุณข้อมูลจาก1

Wilasinee

นักเขียนที่ Thaiger เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ จบการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงรู้ลึกรู้จริงทั้งเรื่องวิชาการและเทรนด์กระแสโซเชียลที่สำคัญ มีประสบการณ์เขียนบทความออนไลน์กว่า 2 ปี งานอดิเรกชอบติดตามข่าวเศรษฐกิจ การลงทุน ติดต่อได้ที่ wilasinee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button