ข่าวไลฟ์สไตล์

‘วันวิสาขบูชา’ 2566 ขายเหล้าได้ไหม เช็กให้ชัวร์ก่อนซื้อ

เปิดคำถามยอดฮิต วันที่ 3 มิถุนายน 2566 “วันวิสาขบูชา” ขายเหล้าได้ไหม? สายตี้ สายเที่ยว อย่าพลาด เช็กให้ชัวร์ตามข้อกฎหมาย ก่อนฉลองหนักวันหยุดยาวเดือนมิถุนายนนี้ ทีมงาน Thaiger ไม่รอช้า ขอพาทุกคนไปค้นหาคำตอบร่วมกันว่า ตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เราสามารถซื้อและขายเหล้าเบียร์ในวันวิสาขบูชาได้หรือไม่ ไปติดตามอ่านกันได้เลยครับ

ไขสงสัย ‘วันวิสาขบูชา 2566’ ขายเหล้าได้หรือไม่?

สายตี้ สายแดนซ์ คนขาย คนซื้อ ก็เกรงใจกล้า ๆ กลัว ๆ ว่าแท้จริงแล้ว “วันวิสาขบูชา” 2566 ขายเหล้าได้ไหม สรุปแล้วว่า วันวิสาขบูชา เสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 ปีนี้ ห้ามจำหน่ายเครื่องดืมแอลกอฮอล์

อ้างอิงมาจากข้อบังคับเรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 โดยระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา ยกเว้นการขายได้ 2 กรณีเท่านั้น

  • ร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ
  • ผู้ผลิต นำเข้า หรือตัวแทนของผู้ลิตหรือผู้นำเข้าไปยังผู้ขายซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสุรา

หากผู้ใดฝ่าฝืน มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 39 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังนั้น ข้อสรุปคือ “วันวิสาขบูชา เสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 ไม่มีการอนุญาตให้จำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” ครับผม

ดังนั้นอดทนอดกลั้นใจกันซักนิดกับนักดื่มทั้งหลาย ที่อยากจะแดนซ์กระจาย หรือสายชิล วันวิสาขบูชา 2566 นี้ จิบน้ำหวาน เปิดเพลงตึ้ด ๆ คลอ ๆ กันไปก่อนค่อยไปจัดหนักวันหลังก็ยังไม่สาย เดี๋ยวจะผิดกฏหมายแบบไม่รู้ตัวกันครับผม

เหล้า วันวิสาขบูชา

ประวัติโดยย่อ “วันวิสาขบูชา”

วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย ซึ่งมักจะตรงกับเดือนพฤษภาคม หรือมิถุนายน แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 7 หรือราวเดือนมิถุนายน โดยที่วันวิสาขบูชา ประจำปี 2566 จะตรงกับวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายนครับ

เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเหตุการณ์ต่างๆ นี้ได้เกิดขึ้นในวันเดียวกันคือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 (ต่างปีกัน)

วิสาขบูชา ย่อมาจาก “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ โดยมีพุทธประวัติเหตุการณ์ที่เกิดในวันวิสาขบูชา คือ พระนางสิริมหามายาพระมเหสีของพระเจ้าพระเจ้าสุทโธทนะศากยราชา ทรงพระครรภ์ได้ 10 เดือน มีความประสงค์อยากจะกลับไปประสูติพระราชบุตรที่บ้านเกิดของพระองค์ยังเมืองเทวทหะ

วันวิสาขบูชา

อ้างอิง : 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button