ปิดสวิตช์ ส.ว. คืออะไร ทำไมประชาชนถึงเรียกร้องให้เกิดขึ้น
ตอบคำถามคาใจ “ปิดสวิตช์ ส.ว. คืออะไร” ทำไมประชาชนถึงเรียกร้องให้เกิดขึ้น กรณีการปิดประตูเลือกนายกจากอำนาจของสมาชิกวุฒิสภา หลังจากผลการเลือกตั้ง 66 ที่พรรคก้าวไกลได้คะแนนเสียงอันดับหนึ่งในการจัดตั้งรัฐบาล ก็มีข้อถกเถียงกันว่าสุดท้ายแล้ว ส.ว. ควรจะมีท่าทีอย่างไรกับผลครั้งนี้ พวกเรา Thaiger ได้สืบค้นข้อมูลถึงความหมายของการปิดสวิตช์ ส.ว. ที่หลาย ๆ พรรคการเมืองได้พูดถึง มาให้ได้อ่านกันครับ
ปิดสวิตช์ ส.ว. 250 เสียง มีความหมายว่าอะไร?
การปิดสวิตช์ ส.ว. คือการที่พรรคการเมืองไหนที่รวบรวมเสียงได้ถึง 376 เสียงจะเป็นการปิดประตูการโหวตคะแนนในการคัดเลือกนายกรัฐมนตรีจาก ส.ว. หรือสมาชิกวุฒิสภา ให้เข้ามามีผลกับการนับคะแนนจัดตั้ง ที่ต่อให้มีถึง 250 คนก็จะไร้ผลไปเพราะเกินเสียงกึ่งหนึ่ง
เชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามที่ว่า แล้วหาก ส.ว. มีการงดออกเสียงล่ะ จะนับเป็นการปิดสวิตช์หรือไม่ คำตอบคือทั้งใช่และไม่ใช่ในเวลาเดียวกันครับ เพราะตามรัฐธรรมนูญแล้ว การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ต้องได้รับเสียงเห็นชอบจากที่ประชุมร่วม ส.ส. และ ส.ว. มากกว่ากึ่งหนึ่ง หรือก็คือ 376 เสียง การงดออกเสียงไม่ใช่คือการตัดคะแนนเสียงออกไปในการคำนวนคะแนนแต่อย่างใด
ส.ว. 250 คนมาจากไหน?
จากกรณีในกระแสโซเชียลที่มีการโต้เถียงเผ็ดร้อนถึงกรณีการมีสิทธิ์โหวตคัดเลือกนายกรัฐมนตรีจาก สมาชิกวุฒิสภา 250 คน เพราะหลาย ๆ ภาคส่วนคิดว่า ส.ว. ไม่ควรมีสิทธิ์ส่วนร่วมในการคัดเลือก เพราะที่มาของ ส.ว. นั้นค่อนข้างแปลก ๆ เพราะตามรัฐธรรมนูญฉบับ 60 นั้น การคัดเลือก สมาชิก 250 ส.ว. จาก 3 ช่องทางหลักดังนี้
- เป็น ส.ว. โดยตำแหน่ง จากทั้งผู้บัญชาการทหารและตำรวจ ในตำแหน่งดังนี้ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ทั้งหมด 6 คน
2. เป็น ส.ว. ที่มาจากการคัดเลือกของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. จำนวน 194 คน
3. เป็น ส.ว. จากการสรรหาตามกลุ่มอาชีพ 10 อาชีพ โดยมีการคัดเลือกจาก คสช.ทั้งหมด 50 คน
อ้างอิง : 1