“พลังธรรมใหม่” จับตาประวัติพรรคม้ามืด ตัวแปรจัดตั้งรัฐบาล 2566
พรรคพลังธรรมใหม่ จับตาขั้วการเมืองตัวแปรแก้เกมสูตรจัดตั้งรัฐบาลในฝัน 309 เสียง เปิดประวัติพรรคที่อาสามาแก้จน พร้อมมทำความรู้จัก ระวี มาศฉมาดล คุณหมออดีตเลขาธิการพรรคพลังธรรมในอดีต
“พลังธรรมใหม่” กลายเป็นชื่อพรรคการเมืองที่ถูกพูดถึงหนาหู ชนิดที่อาจจะกล่าวได้เลยว่า ถ้าคุณไม่ใช่คอการเมืองอาจจะเพิ่งเคยได้ยินว่ามีชื่อกลุ่มก้อนการเมืองนี้ดำพิงอิยู่ กระทั่ง เมื่อช่วงเที่ยงที่ผ่านมา วันนี้ (14 พ.ค.) ที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและว่าที่นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทย
โดยวันนี้ นายพิธา ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางจัดตั้งรัฐบาล 2566 ซึ่งจะมีอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิมรวมกับก้าวไกลเป็น 5 พรรค ส่วนอีกหนึ่งชื่อ คือ พลังธรรมใหม่ ซึ่งพอหลุดชื่อนี้ออกมาไม่นาน บรรดาผู้สื่อข่าวสายการเมืองและนักวิชารการหลายท่านก็ยกให้รายชื่อพรรคม้ามือด นอกสายตาก่อนลงคะแนนเลือกตั้ง 66 นี้ จะเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาลชุดนี้ ที่มีโอกาสจัดตั้งโดย พรรคก้าวไกล ในฐานะพรรคที่มีคะดนนเสียงมาเป็นอันดับ 1
“ผมโทรศัพท์ถึงคุณแพทองธาร เพื่อเชิญร่วมจัดตั้งรัฐบาล ก้าวไกล-เพื่อไทย รวมถึงพรรคฝ่ายค้านเดิม ประกอบด้วย ก้าวไกล เพื่อไทย ประชาชาติ ไทยสร้างไทย และเสรีรวมไทย ตอนนี้ กำลังติดต่อกับพรรคพลังธรรม รวมเป็นทั้งหมด 309 เสียง เพียงพอแล้วในการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมาก” ประโยคเปิดเผยถึงแนวทางสูตการจัดตั้งรัฐบาลล่าสุด ในวันนี้ ณ ที่ทำการพรรคก้าวไกล
รู้จัก “พรรคพลังธรรมใหม่” อยู่ขั้วไหน ฝ่ายอะไร ใครเป็นหัวหน้าพรรค
สำหรับประวัติของพรรคพลังธรรมใหม่ อ้างอิงข้อมูล โดย สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ได้เปิดเผยข้อมูลไว้ในเว็บไซต์ party.ect.go.th ระบุ รหัสพรรค 175 พรรคพลังธรรมใหม่ (พธม.) NEW PALANGDHARMA PARTY (NPD)
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ : 293 ซ.มิตรอนันต์ ถ.เทอดดำริ ต.ถนนนครไชยศรี อ.ดุสิต จ.กรุงเทพมหานคร
- หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ : นายแพทย์ ระวี มาศฉมาดล
- ส่ง ส.ส.แบบแบ่งเขต 3 คน
- ส่ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ทั้งหมด 11 คน
รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบ่งเขตพรรคพลังธรรมใหม่
- นายคมเพชร ไชยสุริย์ จ.มุกดาหาร เขต 2
- นายอลงกรณ์ คงฉาง จ.ตรัง เขต 3
- นายณรงค์ อุดมศรี จ.กระบี่ เขต 2
รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคพลังธรรมใหม่ มีดังนี้
- ลำดับที่ 1 นพ.ระวี มาศฉมาดล
- ลำดับที่ 2 นายกฤษฎีกา มณีมัย
- ลำดับที่ 3 นายสุทิน ช่วยธานี
- ลำดับที่ 4 พ.ต.ท.หญิง ฐิชาลักษณ์ ณรงค์วิทย์
- ลำดับที่ 5 นายสําเร็จ รุ่งเรือง
- ลำดับที่ 6 นางกรรธิมา สันติสุข
- ลำดับที่ 7 นายสมชาย อินทรกําแหง
- ลำดับที่ 8 นายกฤษณ์ธพงศ์ สุพัฒนกาญจน์
- ลำดับที่ 9 นางศิริกาญจน์ เตชอภิโชค
- ลำดับที่ 10 นายอาริยะ รุ่งเรือง
- ลำดับที่ 11 นายปุญญภัคธ จินปญญาเมธ
ประวัติ ระวี มาศฉมาดล หมอหัวใจนักการเมืองอดีตเลขาธิการพรรคพลังธรรม
ประวัตินายแพทย์ ระวี มาศฉมาดล อ้างอิงข้อมูลจากวิกิพีเดีย เป็นนักการเมืองชาวไทยและเป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และเป็นอดีตเลขาธิการพรรคพลังธรรม เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2496 ที่อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปริญญาตรีแพทยศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในระหว่างกำลังศึกษาอยู่เขาได้มีส่วนร่วมในการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2519 ด้านการทำงาน
นายแพทย์ระวี เข้ารับราชการเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลพระแสง ก่อนจะย้ายมาอยู่ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช อำเภอเวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
ตจ่อมาเจ้าตัวได้ตัดสินใจลาออกจากราชการ เพื่อเปิดโรงพยาบาลเอกชนของตนเอง ภายใต้ชื่อ “โรงพยาบาลเวียงเวช” ที่อำเภอเวียงสระ
ส่วนงานทางการเมือง หมอระวี เริ่มต้นโดยการสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังธรรม และได้รับเลือกเป็นประธานสาขาพรรคพลังธรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังธรรม 3 สมัย
นอกจากนี้ยังเป็นประธานกรรมการประสานงานพรรคพลังธรรม ภาคใต้ และได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคพลังธรรม จนกระทั่งพรรคพลังธรรมยุติการดำเนินการ ในปี 2550
นายแพทย์ ระวี ได้เข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเข้าร่วมงานกับพรรคการเมืองใหม่ ในตำแหน่งประธานสาขาพรรคการเมืองใหม่ ของสุราษฎร์ธานี
ต่อมาในปี 2561 ได้ยื่นขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น ชื่อว่า “พรรคพลังธรรมใหม่ และรับตำแหน่งหัวหน้าพรรค
ปี 2562 นายแพทย์ ระวี ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก รวมทั้งมีบทบาทในการเข้าร่วมสนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และเข้าร่วมรัฐบาล แม้ภายหลังจะเกิดกระแสการแยกตัวของกลุ่มร้อยเอก ธรรมนัส
ทั้งนี้ นายระวี เป็นผู้มีบทบาทในการร้องว่าถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และให้ศาลวินิจฉัยว่าการแก้ไขขัดและแย้งต่อรัฐธรรมนูญด้วย.
- โหนกระแส สูตรจัดตั้งรัฐบาลในฝัน ตกลงต้องกี่เสียงแน่ ?
- พรรคเป็นธรรม ตอบรับคำชวน พิธา ร่วมจัดตั้งรัฐบาล 309 เสียง
- สูตรจัดตั้งรัฐบาล 2566 เปิดสมการก้าวไกล จับขั้วไหน