ข่าวข่าวการเมืองเลือกตั้ง 66

บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ต่างกันยังไง ? คนมีสิทธิเลือกตั้ง 2566 ต้องรู้ ก่อนเข้าคูหา 14 พ.ค.นี้

ทำความรู้จักบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ต่างกันยังไง ใบไหนเป็น บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต บัตรไหน คือ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งทั่วไป 2566 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคมที่จะถึงนี้

เหลือเวลาอีกเพียง 12 วัน เท่านั้น การเลือกตั้งทั่วไป การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566​ เป็นการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทยครั้งที่ 27 จะจัดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ที่จะถึงนี้ โดยภายหลังที่ประชุมร่วมรัฐสภา มีมติเห็นชอบผ่าน 3 วาระรวดในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นการ ใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และกำหนดจำนวน ส.ส. ทั้งหมด 500 คน แบ่งเป็น ส.ส.เขต 400 คน และ ส.ส. บัญชีรายชื่อ 100 คน ซึ่งการแก้ไขดังกล่าว จะทำให้ประชาชน มีสิทธิในการเลือกพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตแยกออกจากกันและทำให้ตรงกับความประสงค์ของผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

Advertisements

สำหรับรูปแบบเลือกตั้ง โดยใช้บัตร 2 ใบ ระบบการเลือกตั้งดังกล่าวจะเรียกว่าการเลือกตั้ง แบบผสมเสียงข้างมาก Mixed Member Majoritarian หรือ MMM มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมีเสถียรภาพในการทำงานของรัฐบาล

บัตรเลือกตั้ง 2566 มี 2 ใบ จะประกอบด้วย : บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ

1. บัตรเลือก ส.ส.เขต

ใบที่ 1 เป็นบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.แบบแบ่งเขต ซึ่งมีเพียงมีหมายเลขผู้สมัคร(เบอร์) และช่องสำหรับกากบาท โดยไม่มีชื่อผู้สมัครและโลโก้พรรค

บัตรเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต
ภาพ Facebook @สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

2. บัตรเลือกพรรค (ส.ส.บัญชีรายชื่อ)

Advertisements

ใบที่ 2 เป็นบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งมีหมายเลขผู้สมัคร(เบอร์) มีสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายของพรรคการเมือง และมีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้ง

บัตรเลือกตั้ง 2566

สำหรับศึกเลือกตั้ง 2566 ได้กำหนดให้มี ส.ส.เขต จำนวน 400 คน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน โดยในส่วนของการเลือกจะเป็นลักษณะ “เลือกคนที่ชอบ กาเบอร์ที่ใช่” ซึ่งก็จะทำให้ได้ ส.ส.เขต ตามที่ประชาชนเลือก และยังแยกเลือกพรรคการเมืองที่จะมาบริหารประเทศต่างหากอีกด้วย

ส่วนวิธีการหาจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ก็จะนำเอาบัตรเลือกตั้ง ที่ให้ลงคะแนนสำหรับพรรคการเมือง มาคิดหาสัดส่วนของ ส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรค.

รู้ก่อนเลือก รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้ก่อนเลือกตั้ง ส.ส. รู้แล้วคุณจะอยากออกไปใช้สิทธิ ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ส.ส. ได้ที่ https://www.thaivote.info

14 พ.ค.2566 วันเลือกตั้งทั่วไป

ขอบคุณภาพและข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button