สำรวจด่วน! 3 กลุ่ม โรคผิวหนังหน้าร้อน ที่พบบ่อย พร้อมวิธีการป้องกัน
กรมการแพทย์ ออกโรงเตือน 3 กลุ่มโรคผิวหนัง ที่พบบ่อยในหน้าร้อน พร้อมแนะนำการดูแลและการป้องกัน รีบสำรวจตัวเองด่วนก่อนสาย
เมษายน หน้าร้อนของปรเทศไทยที่อุณหภูมิขึ้นสูงไปถึง 40 องศาในบางจังหวัด นอกจากจะเสี่ยงต่อ โรคลมแดด หรือฮีทสโตรก แล้วนั้น ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคผิวหนังด้วยเช่นกันกัน โดยล่าสุด กรมการแพทย์ ได้ออกมาเตือนประชาชนถึง 3 กลุ่มโรคผิวหนัง ที่พบได้บ่อยในฤดูร้อน จะมีโรคอะไรบ้าง ตามไปเช็กตัวเอง วิธีป้องกัน และรักษาเบื้องต้นกันได้เลย
โรคผิวหนัง ที่พบบ่อยในหน้าร้อน
นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึง โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าร้อน พร้อมแนะนำการดูแลและการป้องกัน หากมีอาการไม่ดีขึ้น ให้รีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
1. ผดร้อน
ผดร้อน เป็นโรคผิวหนังที่มีลักษณะเป็นตุ่มแดงเล็ก ๆ และคันบนผิวหนัง เกิดจากการอุดตันของต่อมเหงื่อ ทำให้มีเหงื่อสะสมอยู่ใต้ผิวหนัง โดยผดร้อนสามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่มักพบในบริเวณที่มีเสื้อผ้าที่ไม่ระบายอากาศ หรือบริเวณที่มีการเสียดสีกับผิวหนัง เช่น คอ หน้าอก หลัง ขาหนีบ และรักแร้ มักพบในช่วงอากาศร้อน ที่มนุษย์จะผลิตเหงื่อออกมามากกว่าปกติ
การรักษาผดร้อน คือ การทำให้ผิวหนังเย็นลงและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับความร้อนที่เป็นสาเหตุของโรค เมื่อผิวเย็นลง ผดร้อนเล็ก ๆ มักจะหายไปอย่างรวดเร็ว แต่ในกรณีที่มีอาการคันรุนแรง อาการแสบจากการเกา แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป
2. ฝ้า / กระ
ฝ้า และ กระ เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เป็นปัญหาอย่างมากสำหรับสาว ๆ หลายคน โดยฝ้า เป็นภาวะทางผิวหนังที่ทำให้เกิดรอยคล้ำบนใบหน้า โดยมากมักเกิดที่หน้าผาก แก้ม และริมฝีปากบน พบได้บ่อยในผู้หญิงและผู้ที่มีสีผิวคล้ำ เกิดจากการสัมผัวแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานาน ส่วน กระ คือจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ ที่ปรากฏบนผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า แขน และไหล่ มีสาเหตุมาจากการผลิตเมลานินที่เพิ่มขึ้นในผิวหนัง ซึ่งมักเป็นผลจากแสงแดด
สำหรับการป้องกันและรักษา ฝ้า/กระ สามารถเริ่มได้จากการทาครีมกันแดดเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการเกิดฝ้ากระ การปกป้องผิวจากรังสียูวีที่เป็นอันตรายของดวงอาทิตย์ ครีมกันแดดสามารถช่วยลดการผลิตเมลานินในผิวหนังได้ ประมาณสองข้อนิ้ว และหมั่นทาซ้ำบ่อย ๆ ทุกสองชั่วโมง และใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หมวก ร่ม เป็นต้น
3. กลุ่มติดเชื้อราต่าง ๆ
อากาศร้อน ส่งผลให้เหงื่อออกเยอะ ทำให้ผิวหนังมีความอับชื้น เกิดการติดเชื้อราซ้ำซ้อน ทำให้เกิดโรคผิวหนังตามมา บริเวณที่พบบ่อย เช่น บริเวณรักแร้ ซอกพับ หรือง่ามมือง่ามเท้าซึ่งพบได้บ่อยและเกิดได้ในทุกช่วงวัย โดยมีวิธีการป้องกันคือการรักษาความสะอาด ส่วมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศถ่ายเท ไม่อับชื่้น ส่วมเสื้อผ้าไม่ซ้ำ เพราะเป็นแหล่งหมักหมมของแบคทีเรีย ต้นกำเนอดของเชื้อราผิวหนัง