ข่าว

เฉลยแล้ว ปลูกทุเรียน 4 ปี ทำไมมีแต่ผล-ไม่มีเนื้อ พร้อมแนะวิธีปลูกยังไงให้รอด

หายสงสัย ทุเรียนไม่มีเนื้อ ปลูก 4 ปี มีแต่ผล อุปนายกฝ่ายวิชาการสมาคมทุเรียนไทย พาเปิดคำตอบชี้แจงที่มาต้นตอปัญหา พร้อมแนะวิธี ปลูกทุเรียนให้รอด ทำยังไง

เรียกว่าอาจเป็นช่วงที่ ชาวสวนทุเรียนกำลังเผชิญกับมรสุมปัญหาต่อเนื่อง โดยหลังจากข่าวจีนปลูกทุเรียนได้แล้ว จนชาวสวนบ้านเราเริ่มเกิดความกังวลเป็นทิวแถวแล้ว ล่าสุดยังเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับการเพราะปลูกทุเรียนตามมาให้เกษตกรราชาผลไม้บ้านเราได้ขบคิดกันอีกด้วย โดยเมื่อวันที่ 30 มี.ค.2566 ที่ผ่านมา เกษตรกรชาวสวนทุเรียนท่านหนึ่งในจังหวัดตราด ได้ลงคลิปเผยแพร่ประสบการณ์การทำสวนปลูกทุเรียนของตัวเอง ซึ่งต้องพบกับเรื่องราวที่ทำให้เกิดความประหลาดใจไม่น้อย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องของผลผลิตเจ้าราชาผลไม้ที่ลงทุนลงแรงตั้งใจ รดน้ำพรวนดินใส่ปุ๋ยและทำแบบนี้วนไปมานานกว่า 4 ปี เพื่อหวังจะได้เห็นวันที่ผลผลิตงอกเงย แต่ปรากฏว่า “ทุเรียนสายพันธุ์กระดุม” ซึ่งหากใครที่รับชมคลิปปลูกทุเรียนนานสี่ปีนี้จนจบก็จะพบว่า

ผลผลิตที่ออกมากลายเป็น ทุเรียนที่มีผลแต่ไม่มีเนื้อ สร้างความคลางแคลงใจเป็นอย่างมากจนเจ้าของสวนทุเรียนรายดังกล่าวต้องออกมาอัดคลิปเพื่อเป็นการสอบถาม หมอยา-หมอทุเรียน ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่ามาจากสาเหตุอะไร

@pakorn.tee

ขอคำแนะนำหน่อยครับ กระดุม4ปี เอาลูกเร้วไปไหม แล้วทำไมถึงเปนทั้งแปลง #ทุเรียนตราด#วัยรุ่นจันรี#สวนทุเรียน

♬ เสียงต้นฉบับ – user10852502523434 – ตี๋ ทุเรียนจันท์

หลังข้อสงสัยซึ่งถูกอัดเป็นคลิปคำถามเผยแพร่ไปบนโซเชียลไม่นาน ล่าสุด เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ดร.ยศพล พลาพล อุปนายกฝ่ายวิชาการสมาคมทุเรียนไทย ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลแถลงไขผ่านรายการเรื่องเล่าเช้านี้ โดยชี้แจงว่ากรณีแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ถึงขั้นจะเป็นทุกต้นหรือทั้งแปลงขนาดนี้

โดยอุปนายกฝ่ายวิชาการสมาคมทุเรียนไทยคาดว่า ลักษณะของผลผลิตเช่นนี้น่าจะเป็นแค่ 1-2% ของแปลง หรือแค่บางต้น บางกิ่ง บางผลเท่านั้น เพราะเมื่อได้ดูคลิปความจริงแล้วถ้าปลูก 4 ปี น่าจะได้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 2 ถ้ามีการดูแลดี ปีที่ 2 น่าจะให้ลูกทุเรียน 5-10 ลูกต่อต้น

ส่วนจากคลิปที่ดูซึ่งมีการพัฒนาผลแล้ว แต่ไม่มีเนื้อ เหตุการณ์ลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ โดยจากข้อสันนิษฐานเบื้องต้นสามรถระบุได้ 3 สาเหตุ ดังนี้

  1. เรื่องการจัดการธาตุอาหาร โดยตามปกติปีแรก สามารถเกิดตามคลิปได้ เกิดระดับไนโตรเจนสูงเกินไป
  2. อากาศ มีผลต่อการผสมเกสร บางปีอากาศต่ำกว่า 15 องศา การปฏิสนธิมันไม่ดี ส่งผลต่อเนื้อได้
  3. เรื่องปุ๋ย เรื่องแมลง ถ้าเกสรตัวเมียถูกทำลายอาจทำให้ไม่มีผลได้

ด้วยเหตุนี้ ดร.ยศพล อุปนายกฝ่ายวิชาการสมาคมทุเรียนฯ จึงแนะนำว่า หากเจอปัญหานี้ให้ลดปุ๋ยไนโตรเจน เพิ่มปุ๋ยฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เพิ่มแคลเซียมโบรอน เพื่อให้เกสรทั้งตัวผู้และตัวเมียมีความแข็งแรง จะได้ผสมเกสรได้ง่าย ดูแลโรคและแมลง ยืนยันว่าเป็นเคสที่พบได้น้อยมากในไทย.

ขอบคุณคลิป : รายการเรื่องเล่าเช้านี้ @MorningNewsTV3

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button