ข่าวข่าวการเมืองเลือกตั้ง 66

ตัวอย่าง ‘บัตรเลือกตั้ง’ 2 ใบ 2566 ส.ส.แบบแบ่งเขต และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ : เลือกตั้ง 2566

แนะนำตัวอย่าง พร้อมวิธีใช้ “บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ประจำปี 2566” ทั้งของ ส.ส.แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ หลังเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยรายละเอียดบัตรเลือกตั้ง 66 แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง มีแต่ตัวเลข ไม่มีรายชื่อสภาผู้แทนราษฎร หรือพรรคการเมือง รีบเช็กตัวอย่างพร้อมวิธีการใช้ก่อนเผลอกาผิดเสียคะแนนเลือกตั้งฟรี

วิธีใช้ “บัตรเลือกตั้ง 2566” ส.ส.แบบแบ่งเขต และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ประกาศอย่างเป็นทางการ กำหนดให้วันที่ 14 พฤษภาคม 2566 เป็นวันเลือกตั้งทั่วไป และกำหนด วันเลือกตั้งล่วงหน้า เป็นวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00-17.00 น. ณ หน่วยเลือกตั้งที่ท่านลงทะเบียนขอใช้สิทธิ

Advertisements

ทั้งนี้ ทีมงาน Thaiger จะพาผู้อ่านมาทำความรู้จักกับ บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ สำหรับใช้เพื่อการเลือกตั้งทั่วไป ประจำปี 2566 โดยแบ่งเป็น บัตร ส.ส.แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ตามรายละเอียดวิธีใช้ดังต่อไปนี้ครับ

1. บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขต

สำหรับ เป็นบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.แบบแบ่งเขต บัตรเลือกตั้งประเภทนี้จะมีเพียงมีหมายเลขผู้สมัคร (เบอร์) และช่องสำหรับกากบาทเลือกตั้ง โดยไม่มีชื่อผู้สมัครและตราสัญลักษณ์ของพรรคการเมืองนั้น ๆ (ทำให้กายากเข้าไปอีก!)

ตัวอย่างบัตรเลือกตั้ง 2566 สส แบบแบ่งเขต

2. บัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ

ในส่วนของบัตรเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จะง่ายขึ้นมาหน่อย เพราะมีหมายเลขผู้สมัคร(เบอร์) ตราสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายโลโก้ของพรรคการเมือง และมีชื่อพรรคในบัตรเลือกตั้งอีกด้วย

ตัวอย่างบัตรเลือกตั้ง สส แบบบัญชีรายชื่อ

Advertisements

รูปแบบบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภท

หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า แท้จริงแล้วประเทศไทยนั้นมีข้อกำหนดการออกแบบบัตรเลือกตั้งระบุไว้ใน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 84 กำหนดรูปแบบบัตรเลือกตั้งเอาไว้ว่า

มาตรา 84 การออกเสียงลงคะแนนให้กระทําได้โดยวิธีการลงคะแนนด้วยบัตรเลือกตั้ง คณะกรรมการอาจกําหนดให้มีการออกเสียงลงคะแนนโดยวิธีอื่นก็ได้ หากการออกเสียงลงคะแนน โดยวิธีนั้นสามารถป้องกันการทุจริตในการเลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกกว่าการออกเสียง ลงคะแนนด้วยบัตรเลือกตั้งและมีค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่า และวิธีการนั้นเป็นการออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ การออกเสียงลงคะแนนตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด

ในกรณีที่คณะกรรมการกําหนดให้มีการออกเสียงลงคะแนนโดยวิธีอื่นที่มิใช่การลงคะแนน ด้วยบัตรเลือกตั้ง มิให้นําความในมาตรา 91 มาตรา 93 มาตรา 95 มาตรา 96 มาตรา 98 และมาตรา 99 มาใช้บังคับ

อ้างอิง : 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button