เล่าประวัติ ‘จันตรี ศิริบุญรอด’ บิดาแห่งนิยายวิทยาศาสตร์ไทย ครบรอบ 109 ปี
วันที่ 31 มีนาคม 2566 วันเกิด จันตรี ศิริบุญรอด ครบรอบ 106 ปี บิดาแห่งนิยายวิทยาศาสตร์ไทย จากเส้นทางอาชีครู สู่นักเขียนระดับตำนาน ผลงานขึ้นหิ้ง
เมื่อพูดถึงนิยายไซไฟในยุคหลังมานี้ หลายคนก็อาจยกให้นิยายจากต่างประเทศเป็นอันดับ 1 ในใจไม่ว่าจะเป็น The Maze Runner ของนักเขียน เจมส์ แดชเนอร์ หรือจะเป็น Divergent ของนักเขียน เวอโรนิก้า รอธ แต่ถ้าถามถึงคนไทยในยุคก่อน นิยายแนววิทยาศาสตร์ ไซไฟ ของไทยก็ต้องยกให้ คุณจันตรี ศิริบุญรอด คนนี้เลยล่ะ
ซึ่งในวันที่ 31 มีนาคม 2566 นี้ตรงกับวันเกิดของ จันตรี ศิริบุญรอด อายุครบรอบ 109 ปี แม้ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนไป แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเขาผู้นี้นั้น บิดาแห่งนิยายวิทยาศาสตร์ไทย อย่างแท้จริง และวันนี้ Thaiger จะพาทุกคนเล่าประวัติ ย้อนผลงานดัง ที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบของคุณจันตรีผู้นี้กัน
ประวัติ จันตรี ศิริบุญรอด บิดาแห่งนิยายวิทยาศาสตร์ไทย
จันตรี ศิริบุญรอด เกิดที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2460 (สุชาติ สวัสดิ์ศรี ระบุว่าจันตรีเป็นคนจังหวัดสงขลา) สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 แผนกวิทยาศาสตร์ ทำงานครั้งแรกที่กรมเชื้อเพลิง หลังลาออกจากงานได้สมัครเป็นครูในโรงเรียนหลายแห่ง
พ.ศ. 2493 – 2496 จันตรี ศิริบุญรอด เริ่มเขียนนิยายและบทความทางวิทยาศาสตร์เผยแพร่ในวงแคบ ๆ ขณะเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมปลาย ที่โรงเรียนเคนเน็ตแม็คเคนซี จังหวัดลำปาง
ในปี พ.ศ. 2498 จันตรีจัดทำนิตยสาร “วิทยาศาสตร์-มหัศจรรย์” ในนามของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยร่วมกับ ดร.ปรีชา อมาตยกุล ผู้ช่วยเลขาธิการสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในขณะนั้น ตีพิมพ์เรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เช่น นิยายวิทยาศาสตร์ บทความวิทยาศาสตร์ ประวัตินักวิทยาศาสตร์ และจัดพิมพ์เรื่อยมาจนเลิกพิมพ์ใน พ.ศ. 2502
การหันมาทำหนังสือทำให้จันตรีจำเป็นต้องเลิกอาชีพครู และตั้งสำนักพิมพ์ของตนเพื่อจัดทำหนังสือและนิตยสาร วิทยาศาสตร์-อัศจรรย์ จนปิดกิจการในปี พ.ศ. 2505 แต่ก็ยังคงเขียนหนังสือส่งไปพิมพ์ตามสำนักพิมพ์ต่าง ๆ และออกหนังสือของตัวเองบ้าง จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคไตเมื่อปีวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2511 สิริอายุรวม 51 ปี
ผลงานของ จันตรี ศิริบุญรอด
ทายาทของจันตรี ประมาณว่าผลงานทั้งหมดของเขามีประมาณ 300 ชิ้น โดยแบ่งเป็นบทความ สารคดี และเรื่องสั้น อย่างละไม่ต่ำกว่า 100 ชิ้น อาทิเช่น
- โลกถล่ม
- ผู้ดับดวงอาทิตย์
- ผู้พบแผ่นดิน
- มนุษย์คู่
- วิทยาศาสตร์วิทยากล
- วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์
- วิทยาศาสตร์อัศจรรย์
- จันทรมนุษย์
- ผู้สร้างอนาคต
- วิทยาศาสตร์บันทึก
- หุ่นล้างโลก
- ดาวเทียม
- สู่อวกาศ
- ภายใต้รังสีอินฟาเรด
- จานบิน! สิ่งที่มาจากโลกอื่น
- สงครามระหว่างโลก
- มนุษย์มหัศจรรย์
- ปัญหาวิทยาศาสตร์
- ชีวิตบนพื้นพิภพ
- ประวัติวิทยาศาสตร์ งานและชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์สำคัญ
รางวัลจันตรี ศิริบุญรอด
ในปี พ.ศ. 2548 นานมีบุ๊คส์ ร่วมกับ ชมรมนักเขียนและผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ (นวจท.) สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (JSTP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ได้ร่วมกันจัดโครงการประกวดนิยายวิทยาศาสตร์ “รางวัลจันตรี ศิริบุญรอด” ขึ้นเป็นครั้งแรก จุดประสงค์เพื่อช่วยกระตุ้นให้ประชาชนของชาติที่มีจิตสำนึกทางด้านวิทยาศาสตร์ งเสริมให้มีนิยายวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นในวงการตลาดหนังสือของไทย , สนับสนุนให้มีนักเขียนใหม่ ๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะนักเขียนไทย และให้เกียรติและยกย่องนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์
ขอบคุณข้อมูล wikipedia