‘แอนนี่ บรู๊ค’ ซัดแหลก ดราม่าแม่น้องมาร์แตล ทำคอนเทนต์จุ๊บปากลูก
ยังคงเป็นประเด็นดราม่าต่อเนื่องสำหรับกรณีของ “แม่น้องมาร์แตล” หรือ “ม๊าหมวยมาร์แตล” คุณแม่ที่มีลูกชายออทิสติกวัย 25 ปี ซึ่งมักจะลงคลิปวิดีโอคอนเทนต์เกี่ยวกับลูกชายใน TikTok อยู่เป็นประจำ โดยบางเนื้อหาชาวเน็ตก็มองว่าควรเก็บไว้เป็นเรื่องส่วนตัว ไม่ควรทำคลิปมาลงแบบนี้ อย่างกรณีล่าสุดที่คุณแม่น้องมาร์แตลแสดงความรักต่อลูกด้วยการจุ๊บปากก็กลายเป็นดราม่าด้วยเช่นกัน
งานนี้ทำเอาคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวอย่าง “แอนนี่ บรู๊ค” ไม่อยู่เฉย ออกมาโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กวิพากษ์วิจารณ์ต่อการกระทำของแม่มาร์แตลด้วยเช่นกัน โดยแอนนี่มองว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง กับการที่ลูกออทิสติกซึ่งทางด้านผู้ปกครองก็ควรปกป้องบุตรหลานของตัวเอง ไม่ควรนำเรื่องราวของเขามาทำเป็นคอนเทนต์ลงในโซเชียล ความว่า
“ยังไงก็ไม่ได้ค่ะ มันไม่ได้…
บอกว่าน้องเป็นเด็กพิเศษแต่ไปถามน้องว่าเอาคลิปลงได้ไหม?หื้ม วิจารณญาณ ควรอยู่ที่ใคร?
ติดตามในต. มาเป็นปีแล้วเข้าไปคอมเม้นเสมอว่าไม่ควรทำไม่ควรเอาน้องมาลงแบบนั้นได้แล้ว ไม่ใช่วิทยาทานกับใคร ใครว่าก็ไม่ฟัง
ดิฉันและลูกเพจประสงค์ดีไม่มีประสงค์ร้ายโดยคนที่ควรปกป้องคุ้มครองดูแลรักษาลูกมากที่สุดคือผู้เป็นผู้ปกครอง
ไม่จำเป็นเวลาให้คำแนะนำอะไรใคร ต้องเอาพฤติกรรมลูกมาถ่ายออกคลิปแต่จะใช้หน้าตัวเองในการเล่าแทน….
หรือใช้ภาพจากอินเตอร์เน็ตที่เป็นภาพฟรีเกี่ยวกับพฤติกรรมเหล่านั้นในการประกอบเรื่องเล่า
เป็นการคุ้มครองเด็กคุ้มครองบุตร หากเราเป็นพ่อแม่และผู้ปกครองแล้วไม่สามารถคุ้มครองบุตรตัวเองได้ ในเรื่องของพรบคุ้มครองเด็กทุกมาตราลองนั่งอ่านทบทวนดู
ยิ่งเด็กพิเศษที่ไม่สามารถมีความตัดสินใจได้เลยท่านควรทำกับเขาหรือไม่? ต่อให้เป็นคนอื่นหากพบเห็นการปกครองคุ้มครองที่ไม่สมเหตุสมผลสามารถร้องเรียนพม. ได้หรือไม่?
ดิฉันขอวิพากษ์วิจารณ์อย่างเหมาะสมโดยไม่ได้ต้องการเรียกร้องสิ่งใดเพียงแค่มันเป็นสิทธิของเด็กที่ควรที่จะได้รับหรือไม่?
หากเป็นบุตรหลานของท่านท่านจะรู้สึกอย่างไร กับเรื่องนี้?
ในฐานะวิญญูชนที่ดีสามารถวิพากษ์วิจารณ์สิ่งที่ไม่เหมาะสมได้ตามสมควร”
ท่ามกลางกระแสตำหนิติเตียนของชาวเน็ตที่มองว่าคนเป็นแม่ตั้งใจหากินกับความป่วยของลูก ทำให้เห็นว่าว่าคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กที่มีอาการออทิสติก หรือที่เรา ๆ เรียกกันว่าเด็กพิเศษ ผู้ปกครองยิ่งต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความเป็นส่วนตัว และการเลี้ยงดูให้ลูกมีพัฒนาการตามความเหมาะสม
หวังว่าประเด็นดราม่าที่เกิดขึ้นในครั้งนี้จะเป็นเครื่องเตือนใจชาวเน็ต โดยเฉพาะแม่ ๆ ทั้งหลายที่กำลังคิดจะทำคอนเทนต์เกี่ยวกับลูกตัวเองลงในโซเชียล ให้ระมัดระวังเกี่ยวกับเรื่อง พ.ร.บ. คุ้มครองเด็กให้ดี บางทีเจตนาดีของเราอาจเป็นความหวังร้ายต่อตัวลูกเอง