ไลฟ์สไตล์

วันพระเดือนเมษายน 2566 เช็กปฏิทินเตรียมทำบุญ รับวันสงกรานต์

ก่อนเริ่มเทศกาลปีใหม่ไทย ชวนคุณมาเช็ก วันพระเดือนเมษายน 2566 เปิดปฏิทินเตรียมเข้าวัดทำบุญ ไหว้พระ วันพระและวันโกนในเดือนนี้ตรงกับวันใดบ้าง ดูไว้ไม่มีพลาด จะได้เตรียมตั้งนาฬิกาปลุก ลุกขึ้นมาจัดของใส่บาตร ทำจิตใจให้ผ่องใสกันตั้งแต่ก่อนพระอาทิตย์ ถ้าหากพร้อมแล้ว มาร่วมติดตามวันพระประจำเดือนเมษายนไปพร้อมกับทีมงานไทยเกอร์กันได้เลยค่ะ

เปิดปฏิทิน วันพระเดือนเมษายน 2566 เดินสายทำบุญรับปีใหม่ไทย

วันพระเดือนเมษายน 2566

Advertisements
  • วันพุธที่ 5 เมษายน 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ
  • วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน 2566 แรม 8 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ
  • วันพุธที่ 19 เมษายน 2566 แรม 14 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ
  • วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ

ปฏิทินวันพระเดือนเมษายน 66

วันโกนเดือนเมษายน 2566

วันโกนจะตรงกับวันก่อนวันพระ 1 วัน ดังนั้นในเดือนเมษายนที่มีวันพระทั้งหมด 4 วัน จึงเท่ากับว่ามีวันโกน 4 วันเช่นเดียวกัน ดังนี้

  • วันอังคารที่ 4 เมษายน 2566 ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ
  • วันพุธที่ 12 เมษายน 2566 แรม 7 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ
  • วันอังคารที่ 18 เมษายน 2566 แรม 13 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ
  • วันพุธที่ 26 เมษายน 2566 ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ

ปฏิทินวันพระเดือนเมษายน 66

ขั้นตอนทำบุญวันพระ

Advertisements

หลังจากทราบกันไปแล้วว่า วันพระและวันโกนในเดือนเมษายนหน้าร้อนนี้ตรงกับวันใดบ้าง คราวนี้มาเตรียมตัวทำบุญวันพระแบบเต็มรูปแบบตั้งแต่เช้าจรดเย็น เสริมบุญบารมีตามวิถีชาวพุทธด้วยข้อปฏิบัติและบทสวดสำหรับแต่ละกิจกรรม ดังนี้

1. สวดมนต์ ทำวัตรเช้า อาราธนาถือศีล 8

เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนด้วยบทสวดมนต์ทำวัตรเช้า สมาทาน ถือศีล ซึ่งชาวพุทธจะนิยมถือศีล 8 ในวันพระ ตรงกับวันขึ้นและแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำ กล่าวคือ เว้นจากการทำลายชีวิต, เว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้, เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์, เว้นจากการพูดเท็จ, เว้นจากการดื่มสุราเมรัย, เว้นจากการบริโภคอาหารยามวิกาล, เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง และเว้นจากการนอนที่นอนสูงใหญ่

คำอาราธนาศีล 8

มะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิมะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิมะยังภันเต ติสะระเณ นะสะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
(สมาทานคนเดียว เปลี่ยนคำว่า “มะยัง” เป็น “อะหัง” และ “ยาจามะ” เป็น “ยาจามิ”)

วันพระเดือนเมษายน 2566

2. ใส่บาตร

ต่อมาคือการใส่บาตร ซึ่งสามารถรอใส่บาตรได้ด้วยการกล่าวนิมนต์พระสงฆ์ที่สัญจรผ่านมา ปกติแล้วจะนิยมใส่บาตรด้วยข้าวสวย 1 ถ้วย กับข้าว 1-2 อย่าง ขนมหวาน 1 อย่าง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดเตรียมของแต่ละท่าย

วัตถุประสงค์ของการใส่บาตรคือการทำบุญที่ไม่เจาะจงแก่พระรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ โดยก่อนใส่บาตรให้ตั้งจิตอธิษฐานกับข้าวปลาอาหารที่เตรียมถวายพระ พร้อมตั้งจิตดังนี้

สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ
ทานของเราให้ดีแล้วหนอ ขอจงเป็นเครื่องนํามาซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสฯ

วันพระเดือนเมษายน 2566

3. กรดน้ำอุทิศส่วนกุศล

จากนั้นเมื่อรับพรจากพระสงฆ์เรียบร้อยแล้ว ให้เตรียมกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร บรรพบุรุษ สรรพสัตว์ทั้งหลายบนโลกใบนี้ โดยกล่าวคำกรวดน้ำว่า

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุขฯ

วันพระเดือนเมษายน 2566

4. ทำบุญ ฟังเทศน์ที่วัด

การทำบุญฟังเทศน์ที่วัด ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ชาวพุทธนิยมปฏิบัติเช่นเดียวกัน หากสะดวกก็สามารถนุ่งขาวห่มขาวเพื่อถือโอกาสไปปฏิบัติธรรมฟังเทศน์ที่วัดใกล้บ้านได้

วันพระเดือนเมษายน 2566

5. ถวายภัตตาหารเพล

สำหรับการถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ นิยมถวายในช่วงเวลาประมาณ 10.30 – 11.00 น. ส่วนใหญ่มักจะเตรียมอาหารทั้งคาวและหวาน รวมถึงน้ำ เพื่อเป็นบุญหนุนนำให้ชีวิตราบรื่น อุุดมสมบูรณ์ เหมือนดั่งมื้ออาหารที่เราได้ตระเตรียมให้แด่พระภิกษุนั่นเอง

โดยการเลือกอาหารเพื่อถวายภัตตาหารเพลนั้น ควรเลือกของที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ เนื่องจากพระสงฆ์ไม่สามารถเลือกฉันตามความต้องการของตนเองได้ ดังนั้นญาติโยมจึงควรถวายอาหารโดยคำนึงถึงสุขภาพเป็นสำคัญ

ปฏิทินวันพระเดือนเมษายน 66

6. ทำวัตรเย็น

ก่อนทำวัตรเย็นควรชำระล้างร่างกายให้สะอาดเสียก่อน เพราะเมื่อกายเราสะอาด ใจก็ย่อมสะอาดตามมาด้วย โดยสามารถติดตามบทสวดทำวัตรเย็นได้ที่ บทสวดมนต์ก่อนนอน สั้น ๆ สวดได้ทุกคืน พร้อมคำแปล

ปฏิทินวันพระเดือนเมษายน 66

7. นั่งสมาธิ แผ่เมตตา

การนั่งสมาธิจะช่วยทำให้จิตเราสงบ เยือกเย็น ไม่ประมาท สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีสติและรู้คิดรอบคอบ และการแผ่เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็จะช่วยให้ใจเราเป็นสุข ทั้งยามหลับและยามตื่น โดยบทสวดแผ่เมตตาที่สามารถนำไปสวดตามกันได้ คือ

สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพพะยาปัชฌา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ
(กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 3 ครั้ง)

ปฏิทินวันพระเดือนเมษายน 66

ขอให้บุญกุศลที่ทุกท่านตั้งใจกระทำ ส่งผลให้ชีวิตมีแต่ความราบรื่น มีแต่ความสุขสมหวังทุกประการ และขอร่วมอวยพรล่วงหน้าก่อนถึงวันสงกรานต์ปีใหม่ไทย ให้ทุกท่านเบิกบานสำราญทั้งกายใจตลอดปีใหม่ไทยนี้ค่ะ.

Wilasinee

นักเขียนที่ Thaiger เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ จบการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงรู้ลึกรู้จริงทั้งเรื่องวิชาการและเทรนด์กระแสโซเชียลที่สำคัญ มีประสบการณ์เขียนบทความออนไลน์กว่า 2 ปี งานอดิเรกชอบติดตามข่าวเศรษฐกิจ การลงทุน ติดต่อได้ที่ wilasinee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button